Innovation Engineer ที่ KBTG มีชีวิตการทำงานเป็นยังไง?

Nitipat Wuttisasiwat (Ken)
KBTG Life
Published in
4 min readFeb 9, 2021

Innovation Engineer ที่ KBTG คืออะไร? ทำอะไร? มีชีวิตการทำงานและสวัสดิการเป็นไงบ้างที่ KBTG? บล็อกนี้มีคำตอบ

ชั้น 11 ของตึก KBTG

สารบัญ

  • Innovation Engineer ใน KBTG คืออะไร ต่างจาก Software Engineer ยังไง
  • Innovation Engineer ทำงานยังไงบ้างในแต่ละวัน
  • สวัสดิการต่างๆ

Innovation Engineer เหมือนกับ Software Engineer มั้ยนะ

ที่ KBTG คนที่ได้ชื่อว่าเป็น Innovation Engineer จะต้องทำซอฟต์แวร์เหมือนกันแหละ แต่จะมุ่งเน้นไปทาง R&D (Research & Development) รวมถึงมีการทำ Ideation* เพื่อที่จะสร้าง Solutions ใหม่ๆ ออกมาให้กับ KBTG โดยอาจจะต่อยอดหรือไม่ต่อยอดจากสิ่งที่แบงก์มีอยู่แล้วก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น นวัตกรรมต่างๆ ที่ทางบริษัทปล่อยออกมาในปี 2563

  • Eatable ระบบจัดการร้านค้า/ร้านอาหารครบวงจร
  • ขุนทอง เหรัญญิกที่จะช่วยคุณเก็บเงินอย่างมีประสิทธิภาพ
  • MAKE by KBank แอป Mobile Banking สำหรับคนรุ่นใหม่

*Ideation เป็นขั้นตอนที่คนในทีมจะใช้เวลา 10% ของการทำงาน ร่วมกันระดมความคิด (Brainstorm) และทดสอบความถูกต้องของแนวคิดทางธุรกิจ (Validate Business) เพื่อที่จะคิดค้นเทคโนโลยีและ Solutions ใหม่ๆ ออกมา เหมือนกับการทำสตาร์ทอัพเลย

นอกจากการทำ R&D และ Ideation แล้ว ก็จะมีหน้าที่ทำ POC (Proof of Concept) แต่ละอย่างจนกระทั่งออกสู่ตลาดจริงในช่วงเริ่มต้น หรือเรียกได้ว่า Incubate ขึ้นมาตั้งแต่เป็นไข่จนฟักออกมาเป็นตัวกันเลยทีเดียว

อย่างตัวผู้เขียนเองเป็น Innovation Engineer ของทีม Eatable นอกจากการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาดในช่วงต้น ก็จะมีการแบ่งเวลาไปคิดค้นหา Solution ใหม่ๆ เช่นกัน

Innovation Engineer ทำงานอย่างไรบ้างในวันปกติแต่ละวัน?

เวลาในการเข้าออฟฟิศ

ปกติแล้วเราจะทำงานกันแบบ Flexible Hours แบบ Flexible จริงๆ เลยล่ะ แต่เรามี Stand-up Meeting หรือ ประชุมอัพเดตความคืบหน้าประจำวันกันทุก 10 โมง ดังนั้นจะมากี่โมงก็ได้ ถ้าวันไหนไม่สะดวก รถติดมาสายก็สามารถเข้าประชุมออนไลน์ผ่าน MS Teams ได้

เวลาในการกลับบ้าน

เวลากลับบ้านก็จะแล้วแต่เหมือนกัน วันไหนไม่สะดวกต้องกลับไวก็กลับได้ เราจะมุ่งเน้นไปที่ผลงานมากกว่า แต่ส่วนใหญ่ก็จะกลับกันช่วง 4 โมงเป็นต้นไปจนถึงทุ่มนึง

การเข้าออฟฟิศ

ที่ทีมตอนนี้จะเป็น WFH (Work from Home) 2 วันต่อสัปดาห์ และเข้ามาที่ทำงาน 3 วันต่อสัปดาห์ แต่อย่างที่บอกว่าทีม Management เราเชื่อในผลงานมากกว่า เพราะฉะนั้นถ้าใครไม่สะดวกวันไหน พวกเราก็สามารถบอกทีมและขอ WFH ได้ตามความสะดวกเลย

ถ้าจะให้ลองลิสท์คร่าวๆ ว่าแต่ละวันทำงานยังไงบ้างก็คงจะเป็น…

9:00–10:00 เช็คอีเมล ตรวจสอบความเรียบร้อยของงาน และวางแผนว่าวันนี้จะทำอะไร พร้อมกับตรวจดูว่าเมื่อวานเราทำถึงไหน (จะได้ใช้ข้อมูลนี้ในการประชุมประจำวันด้วย)

10:00–10:30 Stand-up Meeting ประชุมประจำวัน อัพเดตให้ทีมรู้ว่าเราทำอะไรไปบ้าง และวันนี้จะทำอะไร ทุกคนจะได้เห็นภาพความคืบหน้าร่วมกันทุกวัน

10:30–12:00 Coding Time!! นอกจากการทำงานส่วนตัวแล้ว บางครั้งเพื่อนร่วมทีมหรือเราเองอาจจะประสบปัญหาบางอย่างจากการทำงาน ดังนั้นช่วงเช้าหลังจาก Stand-up Meeting เราก็จะใช้เวลาช่วยกันแก้ปัญหา

12:00–13:00 Lunch time ~ วิศวกรต้องเดินด้วยท้องอย่างแน่นอน

13:00–18:00 Coding Along with Coffee or Tea แน่นอนว่างานพัฒนาซอฟต์แวร์มีหลากหลายรูปแบบ บาง Task หรือฟีเจอร์อาจจะไม่ซับซ้อนมาก ตรงไปตรงมาในการทำ ก็จะไม่ค่อยล้า ลากยาวได้สบายๆ แต่ก็เลี่ยงไม่ได้ว่าบางวันเราอาจจะเจอ Logic ที่ค่อนข้างซับซ้อนและทำให้เหนื่อยเป็นพิเศษได้เช่นกัน ระหว่างวันเราจึงสามารถไปงีบได้ (ที่ KBTG มีเตียงให้ด้วยนะ) หรือจะเดินไปชงกาแฟ ชา บางคนดริปกาแฟเองเลย จากนั้นหยิบคอมฯ ออกไปนั่งทำที่อื่น ตามโซนพักผ่อนต่างๆ ก็ยังได้ เพื่อที่จะให้วิศวกรที่นี่มีความสุขกับการทำงาน มี Work-Life Balance ยังไงล่ะ

Development Cycle และการประชุมของทีม

ในทีมมีการทำงานแบบ Agile + SCRUM อาจจะไม่ถือว่าเป็น Agile สะทีเดียวแต่ว่าเราพยายาม utilized ให้เข้าใกล้ Agile มากที่สุด

โดยเราจะแบ่งการทำงานเป็น Sprint ละ 2 สัปดาห์

ในแต่ละ สัปดาห์จะประกอบไปด้วย session ดังต่อไปนี้
- Brainstorm: เป็น session ที่คนในทีมจะได้คุยกับ PO (Project Owner) เพื่อถกเถียงแนวคิด ความเป็นไปได้และความเหมาะสม้ของ feature ที่จะต้องพัฒนาในอนาคต
- Planning: เป็น session ที่เราจะนำ Story หรืองานที่ PO ทำการ define แล้วมา prioritize ความสำคัญในการทำก่อนหรือหลังด้วย Jira รวมถึงประเมิน effort หรือ manday ที่จะใช้ในการทำงาน และระบุว่าใครจะทำงานไหนบ้าง
- Retrospective: เป็น session ที่คนในทีมจะมาคุยกันว่า sprint ที่ผ่านมา มีข้อดี ข้อเสีย และจะปรับปรุงอะไรกันบ้างใน sprint ถัดไป

นอกจากการประชุมเกี่ยวกับงาน ที่ทำให้งานคืบหน้าแล้ว
ก็ยังมีประชุมที่มุ่งเน้นไปกับคนในทีมด้วย

- 1:1 Meeting: เป็น session ที่แต่ละคนในทีมจะคุยกับหัวหน้าทีม (Direct Manager) Bi-weekly (2 สัปดาห์ครั้ง) หรือ monthly (เดือนครั้ง) ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
- Bi-weekly with MD (Managing Director): เป็น session ที่ทั้งทีมจะได้พูดคุยกับหัวหน้าของหัวหน้าอีกทีนึง เราจะได้รู้ว่าตอนนี้บริษัทและทิศทางภาพรวมของทีมกำลังเป็นยังไง

ที่ทำงานและประชุมเป็นยังไงกัน?

บรรยากาศการทำงานของ Innovation Engineer ทีม Eatable

โต๊ะที่นี่เป็นแบบ Hot Seat เพราะฉะนั้นในแต่ละวันก็อาจจะมีทีมอื่นๆ เข้ามาจอยนั่งห้องนี้ด้วยกัน

บรรยากาศการประชุมของ Innovation Engineer ทีม Eatable

ส่วนวิธีการทำงาน เราจะทำกันแบบ Agile มีหลาย Session ไม่ว่าจะเป็น Retrospective, Grooming, Planning, Demo รวมถึงมี Ideation เพิ่มเข้ามา เราประชุมกันตรงนี้ได้เลย

บางวันถ้ามีทีมอื่นใช้ห้องด้วย เราก็จะไปจองห้องประชุมแยกต่างห่าง เพื่อไม่เป็นการรบกวนเพื่อนต่างทีม

สวัสดิการ

คนที่อ่านถึงจุดนี้คงอยากทราบกันแล้วว่า สวัสดิการเป็นยังไงกันบ้าง?! บอกได้เลยว่าเยอะชนิดที่ว่าเขียนจนเมื่อยเลยล่ะ (อาจจะไม่ครบทั้งหมด ผู้เขียนเองก็จำไม่ได้ ฮ่าๆ)

  1. ประกันสุขภาพที่ให้เลือกระหว่าง (OPD 2,500 / ทำฟัน 5,000 ต่อปี) / (OPD 1,800 / ทำฟัน 2,000) (หรือเลือกแพคเก็จที่ดีกว่านี้ก็ได้ แต่จะมีผลกับ Spending Account) ครอบคลุมถึงภรรยาและบุตร
  2. มีอีก Account แยกให้ เรียกว่า Spending Account (SA) สำหรับใช้จ่ายอื่นๆ ส่วนตัว เช่น อุปกรณ์ทำงาน WFH ยา ตรวจสุขภาพเพิ่มเติม เป็นต้น หูฟังแอร์พอตนี่ก็นับเป็นอุปกรณ์ทำงานนะ
  3. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) 13% จากเงินเดือน
  4. วันหยุดส่วนตัว 10 (อายุงาน < 5 ปี), 15 (อายุงาน < 10 ปี), 20 วัน (อายุงาน < 15 ปี) ตามเงื่อนไขอายุงาน และมีวันลาป่วย (30 วัน) /ลากิจ (3 วัน) ตามปกติ
  5. มีคอมพิวเตอร์ให้ จะเป็น Windows หรือ MacOS ก็แล้วแต่ทีม รวมถึงอุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น อแดปเตอร์, จอ, อื่นๆ
  6. จำนวนวัน WFH ตามที่แต่ละทีมตกลงกัน
  7. มีจัด Workshop และคอร์สออนไลน์ให้เรียนกันฟรีๆ อย่างบนแพลตฟอร์ม Udemy
  8. ชั่วโมงทำงาน Flexible
  9. ค่าเดินทางนอกสถานที่ต่างๆ เบิกได้ 100% มีแท็กซี่บริการให้จอง มารับได้ไม่ต้องสำรองออกไปก่อน
  10. มี Outing / กิจกรรมเลี้ยงทุกปี งบขึ้นอยู่กับขนาดของทีม
  11. มีระบบ KBTG Reward Points เก็บสะสมแต้มแลกของรางวัลได้ เช่น บัตรกำนัลสตาร์บัค อาฟเตอร์ยู ร่ม กระติกน้ำ โดยแต้มนี้จะได้จากการร่วมกิจกรรมภายในต่างๆ
  12. มีดอกเบี้ย กู้บ้าน กู้รถ อัตราพิเศษร่วมกับธนาคารออมสิน
  13. มีระบบ Referral ชวนคนเข้ามา รับเงินไป 5,000 หรืออาจจะมากกว่านั้นตามระดับของคนที่พาเข้ามา
  14. จัดตรวจสุขภาพประจำปี
  15. โบนัสคงที่ 1 เดือน และโบนัสเพิ่มเติมตามประสิทธิภาพงาน

นอกจากการทำงานทั่วไป ภายใน KBTG เองก็จะมีทีม People Experience ที่คอยรังสรรกิจกรรมต่างๆ ให้กับคนในบริษัทเข้าร่วมเต็มไปหมด ขอปิดท้ายบทความนี้ด้วยรูปกิจกรรมที่ KBTG จัดกันภายในนะครับ

ติดตามเรื่องราวดีๆ แบบนี้ รวมไปถึงอัพเดตข่าวสารเทคโนโลยีและผลงานใหม่ๆ ของชาว KBTG ได้ที่ www.kbtg.tech

--

--

Nitipat Wuttisasiwat (Ken)
KBTG Life

Innovation Engineer @KBTG, Doing full-stack development both web and Flutter