วิธีออกแบบคำให้เหมาะสม ด้วยการใช้ข้อมูล

Wittawat Patcharinsak
Konoe
Published in
2 min readJan 24, 2017

การเขียนเป็นถือเป็นศาสตร์อย่างหนึ่ง สามารถทำให้เราหัวเราะ ร้องไห้ หรือสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนได้ จากถ้อยคำที่ถูกร้อยเรียงเขียนออกมา

ในวงการนักพัฒนาก็เช่นเดียวกัน หากเราใช้คำผิดประเภทหรือดูกำกวม อาจส่งผลกับประสบการณ์ของผู้ใช้งาน ทำให้ผู้ใช้งานเกิดความเข้าใจผิด หรือหากเราใช้คำที่ผู้ใช้งานไม่คุ้นเคย อาจทำให้ผู้ใช้งานเลิกสนใจแอพพลิเคชันของเราเลยก็ได้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เกิดแค่ในวงการนักพัฒนาเท่านั้น ในวงการอื่นๆเช่น นิยาย วรรณกรรม หรือแม้แต่การเขียนรายงาน ก็ต้องระวังเรื่องการใช้คำ ที่ต้องใช้อย่างเหมาะสมเช่นเดียวกัน

แล้วจะรู้ได้อย่างไร แบบไหนถูก แบบไหนผิด?

ในปัจจุบันก็มีหลายเครื่องมือ หลายวิธี ที่จะช่วยให้เราสามารถตรวจสอบรูปแบบของคำ เพื่อให้เรามั่นใจว่า สามารถนำคำเหล่านั้นไปใช้งานได้อย่างถูกต้องมากขึ้น ซึ่งเราสามารถทำได้หลายๆวิธี ดังนี้

1. เทรนด์ข้อมูล

สมมติว่าคุณเป็นนักพัฒนา และคุณต้องการจะสร้างปุ่มๆนึง เพื่อให้ผู้ใช้กดเข้าไปใช้งานแอพพลิเคชันของคุณ แต่คุณไม่มั่นใจว่า คุณจะใช้คำอะไรในปุ่มนั้นดีนะ? ระหว่าง…

  • Sign in
  • Sign on
  • Log in
  • Log on

ซึ่งคำเหล่านี้คุณก็เห็นได้ทั่วไปตามเว็บไซต์ และ แอพพลิเคชันต่างๆ… แล้วเราควรเลือกใช้คำไหนดีล่ะ?

วิธีง่ายๆคือดูตาม Trend หรือ ความนิยม ของคำที่เราจะใช้ โดยเราสามารถใช้บริการของ Google Trends ได้เลย แค่เราใส่คำที่ต้องการตรวจสอบและคั่นแต่ละคำด้วย comma

Google Trends จะเปรียบเทียบคำเหล่านั้นที่ผู้ใช้มักค้นหาใน Google โดยจะรวมถึงวลีๆต่างที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น “Log in ไม่ได้” หรือ “Sign in ยังไงนะ”

เราลองมาดูกันดีกว่า ผลลัพธ์จะออกมาเป็นยังไงนะ…

การเปรียบเทียบคำบน Google Trends

แล้วผลลัพธ์ของ Google Trends ก็บอกเราว่า “ช่วง 1 ปีที่ผ่านมานี้ คนมักค้นหาคำว่า sign in บ่อยที่สุดนะ” หมายความว่า ถ้าคุณต้องการใช้คำสำหรับบริบทนี้ การใช้คำว่า “sign in” ก็ดูจะคุ้นเคยกับผู้ใช้งานมากที่สุด

สำหรับคนที่เขียนหนังสือ วรรณกรรม หรือ นิยายก็มีเครื่องมือเฉพาะของกลุ่มนี้อยู่ เช่น Google Ngram Viewer ที่ไว้ใช้ดูความนิยมของประโยคหรือถ้อยคำที่ถูกใช้ในหน้าสือต่างๆที่ถูก Google ตรวจสอบไว้

ตัวอย่างการใช้งาน Google Ngram Viewer

ลองใช้งานกันดูนะ

2. ทดสอบความอ่านง่าย

หลายปีที่ผ่านมา มีนักพัฒนามากมายได้พัฒนาเครื่องมือที่ช่วยในการทดสอบคำหรือบทความ เพื่อเป็นการวัดว่า มันยากหรือง่ายแค่ไหนในการทำความเข้าใจคำหรือบทความของเรา

หากคุณคือ คนที่ต้องการเขียนบทความ เขียนหนังสือ หรือ แม้แต่การเขียนรายงานให้กับลูกค้าต่างชาติ เครื่องมือเหล่านี้จะช่วยให้คุณสามารถเขียนบทความได้อย่างมั่นใจมากขึ้น

มาดูตัวอย่างการใช้งานกันเลย…

ผลลัพธ์การใช้งาน Hemingway App

จากบทความในภาพ การทดสอบจะให้ข้อมูลคุณหลายๆอย่างเช่น

  • เกรด 6 หมายความว่า เด็กที่อยู่เกรด 6 ในสหรัฐฯ จะสามารถเข้าใจบทความของคุณได้
  • ใช้เวลาในการอ่าน ประมาณ 31 วินาที
  • มีการใช้ passive voice แต่ควรใช้เป็น active voice
  • มี 1 วลี ที่สามารถใช้คำอื่นมาทดแทนได้
  • มี 1 ประโยคที่อ่านได้ยาก
  • มีอีก 1 ประโยคที่อ่านได้ยากมาก

นี่เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งในการทดสอบความอ่านง่าย หากคุณต้องการทดสอบกับเครื่องมือตัวอื่นๆด้วย คุณสามารถทดลองใช้งานเครื่องมือเหล่านี้ได้ตามนี้เลย

3. แบบสอบถาม

วิธีดั้งเดิมที่ใช้กันทั่วโลกคือ การสร้างแบบสอบถามประเด็นปัญหาที่เราสนใจ เพื่อสำรวจความคิดเห็นผู้อื่นและนำมาปรับปรุงกับผลงานของเรา

สมมติว่า คุณต้องการพัฒนา feature ใหม่ขึ้นมา แต่คุณไม่รู้ว่าจะตั้งชื่อมันว่าอะไรดี?

มีวิธีที่ง่ายๆที่คุณสามารถทำได้เลย คือ สร้างแบบสอบถามไปยังลูกค้าของคุณว่า

“หลังจากคุณได้ใช้งานในส่วนนี้แล้ว คุณคิดว่าอะไรที่ดูเป็นประโยชน์กับคุณมากที่สุด”

อ้างอิงจากผู้เขียนบทความของ Dropbox แล้ว เขาได้ส่งแบบสอบถามในลักษณะนี้ให้กับลูกค้า และพบว่าคำตอบของลูกค้าส่วนใหญ่ มีคำว่า “access” เกี่ยวข้องอยู่ด้วย ซึ่งหมายถึงความสามารถในการเข้าถึงไฟล์ข้อมูลจากอุปกรณ์ใดก็ได้ เข้าจึงเลือกใช้ feature “Take your docs anywhere” เป็น feature หลักของผลิตภัณฑ์นั้น

ตัวอย่าง หนึ่งใน feature ของ Dropbox

เครื่องมือที่ช่วยในการสร้างแบบสอบถามนั้น ก็มีมากมายให้เลือกใช้ เช่น

4. ศึกษาผู้ใช้งาน

การศึกษาจากผู้ใช้งาน เป็นวิธีที่ดีที่คุณจะได้รับ feedback ที่ดีเกี่ยวกับบทความของคุณ

วิธีง่ายๆที่คุณสามารถทำได้เลย คือ ให้ผู้ใช้ลองใช้ผลิตภัณฑ์ของคุณและถามผู้ใช้งานว่า “คุณพอทราบไหมว่า มันใช้งานยังไง”

ยกตัวอย่างเช่น คุณได้สร้างแอพพลิเคชันเกี่ยวกับการจัดการเอกสาร และคุณมีปุ่มสำหรับบันทึกเอกสารเหล่านั้นลงฐานข้อมูล และคุณได้เขียนข้อความไว้ในแอพฯว่า

“กดปุ่ม Save” เพื่อบันทึกลงฐานข้อมูล

แต่ปรากฏว่า มันทำให้ผู้ใช้งานต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจมากขึ้น เพียงเพื่อที่จะบันทึกเอกสารลงฐานข้อมูล… แต่หากเราลองสลับตำแหน่งของคำดู อาจทำให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น

“บันทึกลงฐานข้อมูล” ด้วยการ กดปุ่ม Save

นี่เป็นเพียงตัวอย่างการศึกษาจากผู้ใช้งาน คุณสามารถนำวิธีนี้ไปประยุกต์กับการออกแบบอื่นๆของคุณได้เช่นกัน

“เขียนด้วยใจ เพิ่มเติมด้วยข้อมูล”

ข้อมูล สามารถนำไปใช้งานได้อย่างดีเยี่ยม หากคุณต้องการเขียนบทความให้มีความน่าเชื่อถือและถูกต้องเหมาะสม… แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องเขียนแบบเดิมๆเป็นหุ่นยนต์หรอกนะ…

วิธีที่ดีในการเขียน คือ ตอนแรกให้คุณเขียนมันออกมาด้วยใจของคุณเองว่า คุณอยากจะสื่ออะไร เมื่อคุณเขียนตามหัวใจและความคิดของคุณแล้ว ค่อยนำข้อมูลต่างๆมาปรับปรุงหรือเพิ่มเติมบทความของคุณให้มีความถูกต้องและเหมาะสมมากขึ้น

หวังว่าวิธีการเหล่านี้จะช่วยให้เพื่อนๆสามารถออกแบบคำและบทความ ได้อย่างเหมาะสมและมั่นใจมากขึ้นนะครับ…

ขอขอบคุณ
บทความ จาก
https://medium.com/dropbox-design/design-words-with-data-fe3c525994e7

--

--