Proxy คืออะไร มาลองทำความรู้จักบทบาทการทำงาน และข้อดีข้อเสียกัน

Krungsri Nimble
Krungsri Nimble
Published in
2 min readMay 6, 2024

Photo by Taylor Vick on Unsplash

Proxy(พร็อกซี่) มีบทบาทสำคัญในสื่อสารระหว่าง Client (ผู้ใช้)กับ Internet หรือจะให้พูดอีกอย่างก็คือเป็นตัวขั้นกลางระหว่าง Client และ Internet นั้นเอง แม้จะเคยได้ยินชื่อมาบ้างแต่เชื่อว่าหลาย ๆ คนอาจยังไม่ค่อยเข้าใจการทำงานของ proxy และประเภทของ proxy ในบทความนี้เราจะลองมาทำความเข้าใจไปด้วยกัน

Proxy คืออะไร?

ใจความสำคัญ Proxy หรือ Proxy server ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่าง Client (ผู้ใช้งาน) เช่น Web browser และ Internet (e.g. ผู้ใช้ request URL เพื่อ open website) ซึ่งแทนที่ Client จะสื่อสารโดยตรงกับ Internet แต่ Client จะส่งคำขอไปยัง Proxy server จากนั้น Proxy server จะส่งคำขอออกไปยัง Internet ในทำนองเดียวกัน การ Response จาก Internet จะถูกส่งกลับผ่าน Proxy server ไปยัง Client (ดังรูปภาพข้างล่าง)

Client -> Proxy -> Internet(Server)

**ในที่นี้จะขอใช้คำว่า Server แทน Internet คิดว่าน่าจะเข้าใจง่ายกว่าครับผม

Proxy ทำงานอย่างไร?

Proxy server ทำงานโดยการเป็นตัวกลางกั้นการสื่อสารระหว่าง Client และ Server เมื่อ Client เริ่มต้นคำขอ Client จะระบุที่อยู่(IP Address)ของ Proxy server แทนที่อยู่ของ Server โดย Proxy จะประเมินคำขอและตัดสินใจว่าจะดำเนินการตามคำขอนั้นเองหรือส่งต่อไปยัง Server ต่อไปหรือไม่

ข้อดี-ข้อเสีย ของการใช้ Proxy server

ข้อดี:

  1. Anonymity (การไม่เปิดเผยตัวตนของผู้ใช้)
    Proxy server สามารถซ่อนที่อยู่ IP ของผู้ใช้ได้ ทำให้กิจกรรมออนไลน์ของผู้ใช้งานเป็นความลับมากขึ้น โดยสิ่งนี้เป็นประโยชน์ต่อความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย เพราะมันป้องกันการติดตามที่อยู่จริงของผู้ใช้จาก website
  2. Content Filtering (การกรองเนื้อหา)
    Proxy server สามารถกำหนด config เพื่อกรองเนื้อหาตาม Rule ที่กำหนดไว้ สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์โดยเฉพาะในองค์กรและโรงเรียนที่ผู้ดูแลระบบอาจต้องการจำกัดการเข้าถึง Website หรือประเภทของเนื้อหาบางประเภท
  3. Improved Performance (ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น)
    โดยการเก็บข้อมูล Website ที่เข้าถึงบ่อย ๆ ซึ่ง Proxy server สามารถลดการใช้ Bandwidth(ปริมาณการรับ-ส่งข้อมูล) และเร่งความเร็วในการเข้าถึง Website สิ่งนี้เป็นประโยชน์โดยเฉพาะในเครือข่ายที่มี Bandwidth จำกัดหรือการเชื่อมต่อที่มีความล่าช้า
  4. Security (ความปลอดภัย)
    Proxy server สามารถเสริมชั้นความปลอดภัยโดยการตรวจสอบการใช้ Internet ของผู้ใช้งาน ซึ่งบาง website อาจมีการจัดเก็บเนื้อหาที่เป็นอันตรายหรือส่งข้อมูลที่เป็นอันตรายกลับมาให้ผู้ใช้ โดย Proxy server จะทำการบล็อกข้อมูลที่อันตรายก่อนที่จะมาถึงผู้ใช้
  5. Access Control (ควบคุมการเข้าถึง)
    Proxy server สามารถใช้นโยบายควบคุมการเข้าถึง ทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถจำกัดการเข้าถึง Website หรือบริการบางประเภทได้ตาม rule ที่ผู้ดูแลระบบได้กำหนดไว้

ข้อเสีย:

  1. Single Point of Failure (จุดเดียวของความล้มเหลว)
    หาก Proxy server ล่ม จะทำให้ผู้ใช้ทั้งหมดที่ connect มายัง proxy server นี้จะไม่สามารถเข้าถึง Internet ได้
  2. Performance Overhead (ค่าใช้จ่ายด้านประสิทธิภาพ)
    แม้ว่า Proxy server สามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้โดยการ cache เนื้อหา แต่ Proxy server ก็สามารถช้าได้โดยอาจเกิดจากการ overload หรือ config ค่าไม่ถูกต้อง (misconfigured on proxy server settings)
  3. Security Risks (ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย)
    Proxt server อาจมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยหากไม่ได้ settings server อย่างเหมาะสม หรือถ้า Proxy server โดนบุกรุก (อาจเรียกว่าโดน hack ก็ได้นะ) หรือ Proxy server ที่อันตรายอาจดักจับข้อมูลที่เป็น sensitive data ก็ได้ เช่น ข้อมูลการเข้าสู่ระบบหรือข้อมูลการเงินของผู้ใช้
  4. Privacy Concerns (ปัญหาความเป็นส่วนตัว)
    แม้ว่า Proxy server จะสามารถปกปิดตัวตนได้โดยการซ่อนที่อยู่ IP ของผู้ใช้ แต่ Proxy server เหล่านี้ยังสามารถบันทึกและติดตามกิจกรรมออนไลน์ของผู้ใช้ได้อีกด้วย สิ่งนี้ทำให้ Proxy server มีปัญหาเรื่องความเป็นส่วนตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากดำเนินการโดยบุคคลที่สามหรืออยู่ภายใต้การสอดแนมของรัฐบาล
  5. Complexity (ความซับซ้อน)
    การจัดการและกำหนดค่า Proxy server อาจซับซ้อน โดยเฉพาะในเครือข่ายที่มีความต้องการหลากหลาย ความซับซ้อนนี้อาจทำให้เสี่ยงต่อความผิดพลาดในการกำหนดค่าและช่องโหว่ด้านความปลอดภัยเพิ่มขึ้น

โดยรวมแล้ว แม้ว่า Proxy server จะมีประโยชน์หลายอย่าง แต่ก็มีข้อเสียที่ต้องพิจารณาและแก้ไขอย่างรอบคอบ สำหรับผู้ใช้ที่ใช้ Proxy อยู่ ทางผู้เขียนแนะนำว่าควรใช้ Proxy server ที่มีความน่าเชื่อถือและปลอดภัย ไม่ควรใช้ Proxy server ที่เปิด public ให้คนใช้ทั่วไปเนื่องจากข้อมูลของผู้ใช้ หรือ sensitive data ต่างๆ อาจถูกดึงระหว่างผู้ใช้กำลังใช้งาน และอาจถูก hack ได้ในที่สุด

Written by RookieDev

--

--

Krungsri Nimble
Krungsri Nimble

"กรุงศรี นิมเบิล" บริษัทในเครือธนาคารกรุงศรีฯ เป็นฮับในการสร้าง ดูแล และพัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรมทางด้านการเงินดิจิทัลที่ช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้น