Right Quantitative Research

Panupong Matangkarat
Krungsri Consumer-Innovation
2 min readApr 2, 2020

อะไรคือ Quantitative Research

เวลาที่เรากล่าวถึง Quantitative Research คนส่วนมากมักนึกถึงการนำ Data มาวิเคราะห์ หรือ การทำ Survey แบบสอบถามเพื่อนำข้อมูลมาพิจารณา แต่รู้หรือไม่ว่าที่แท้จริงแล้วการทำ Quantitative Research นั้นมีอะไรมากกว่าที่คุณคิด

Quantitative Research?

หากแปลเป็นภาษาไทย Quantitative Research คงจะแปลได้ว่า การวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งต้องบอกว่าความหมายนั้นค่อนข้างจะตรงตัวอยู่แล้ว ดังนั้นการวิจัยเชิงปริมาณจะหมายถึง การใช้ข้อมูลทางสถิติที่มีหลักเกณฑ์ สามารถนับและจับต้องได้ มาวิเคราะห์

ตัวอย่างเช่น ปริมาณคนที่ใช้รถไฟฟ้า BTS , อายุของผู้ใช้รถไฟฟ้า BTS, เพศของผู้ใช้รถไฟฟ้า BTS ซึ่งจะเห็นได้ว่าหากนำข้อมูลสามส่วนนี้มาวิเคราะห์รวมกัน เราจะได้กลุ่มก้อนของผู้ใช้รถไฟฟ้า BTS ที่แตกต่างกัน

เราจะใช้ Quantitative Research บอกอะไร?

UX Designer มักจะใช้ข้อมูลประเภทสถิตินี้ ในการจำกัด Scope ในการวิจัย หรือทำนาย Trend พฤติกรรมของผู้ใช้งาน

ตัวอย่างเช่น หากโจทย์คือการพัฒนารูปแบบบริการของรถไฟฟ้า BTS สิ่งสำคัญที่ต้องเข้าใจคือ ณ ปัจจุบัน รถไฟฟ้า BTS มีปัญหาลักษณะใดบ้าง และเวลาไหนบ้าง ซึ่งข้อมูลตรงนี้จะเป็นข้อมูลในเชิงตัวเลข และลักษณะอาการ เช่น รถเสียเวลา 15.00–15.05 เสียเพราะระบบสับราง ที่ สถานีสะพานตากสิน และยังมีข้อมูลอื่นๆอีกมากมายที่ต้องนำมาวิเคราะห์เพื่อจำกัด Scope ของการวิจัย

อะไรที่ Quantitative Research บอกไม่ได้

อย่าคิดว่าการทำแค่ Quantitative Research แล้วจะสามารถแก้ปัญหาได้เลย!

มีหลายคนที่เข้าใจผิดว่าเพียงการนำข้อมูลในเชิงปริมาณมาทำความเข้าใจ จะสามารถทำให้เราหาหนทางการแก้ปัญหาหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นได้เลย

เหตุผลสำคัญนั้นคือ ข้อมูลเชิงปริมาณไม่สามารถบอกได้ว่าทำไมสิ่งนี้ถึงเกิดขึ้นอะไรอยู่เบื้องหลังความคิดที่ทำให้ผู้ใช้ทำสิ่งนั้น และไม่ได้บอกข้อมูลในมุมมองอื่นที่เราไม่ได้สร้างตัวคำถามหรือตัววัดไว้ ดังนั้นเราควรมองว่า Quantitative Research นั้นเป็นเพียงจุดที่ใช้เปรียบเทียบ หรือ ใช้จำกัด Scope สำหรับการทำ Qualitative Reserch ต่อไปเท่านั้น

3 Focus of Quantitative Research

Cr. O’Reilly UX research

Insight-Driven คือการสำรวจจากข้อมูล ซึ่งเรามักจะใช้ในตอนที่เราเริ่มทำโปรเจคใหม่ๆ เพราะฉะนั้นการทำ Insight-driven จะเป็นการทำ Quantitative Research ที่เรามักทำกันบ่อยที่สุด คือการนำข้อมูลปัจจุบันที่มี เช่น จำนวนเคสที่ถูกแก้ปัญหาผ่าน Call Center สำเร็จ โดยเราจะนำข้อมูลเหล่านี้มาสำรวจ และสร้าง Benchmarks ต่อไป

Evaluative คือการวัดผลผ่านผลิตภัณฑ์นั้นๆ ผ่าน Benchmark ที่ได้สร้างไว้ ซึ่งเราจะดูในมุมมองที่ว่า ผลตอบรับของการใช้งานนั้นเป็นไปอย่างที่คาดหวังหรือไม่ เช่น ตัวเลขบ่งบอกว่าพนักงาน Call Center กรอกข้อมูลได้เร็วขึ้นผ่านหน้าเว็ปใหม่ทำให้รับสายลูกค้าได้ไวยิ่งขึ้น

Generative เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เรารู้โอกาสที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ดียิ่งขึ้นหรือที่หลายๆคนมักได้ยินในชื่อว่า Data-Driven Design วิธีการนี้จะวิเคราะห์ Attitude ผ่านการวัดผลที่ถูกเซตมาแล้ว เช่นการทำ Card Sorting

Suggestion step to do a quantitative research

สิ่งสำคัญในการทำ Research คือควรมี Research Objective ที่ชัดเจนเพราะจะทำให้เราสามารถรู้จุดมุ่งหมายของการทำ Research ได้โดยไม่หลุดออกนอกประเด็น ดังนั้นจึงต้องการนำเสนอวิธีคร่าวๆสำหรับการทำ Quatitative Research ที่มีประสิทธิภาพ

  1. Think about a project
    คิดว่าทำโปรเจคนี้เราทำเพื่ออะไร และภาพของโปรเจคนี้ที่ประสบความสำเร็จเป็นยังไง
  2. Write down what question you want to answer with your project
    เขียนคำถามที่ได้คำตอบเป็นเชิงปริมาณ ซึ่งตอบได้ยาก เช่น ใครคือผู้ใช้หลักของรถไฟฟ้า BTS
  3. Write down why you want to ask those question
    เพื่อเป็นการ Recheckในข้อที่ 2 ว่าคำถามนั้นจำเป็นจริงๆไหม แนะนำให้ทำการทวนอีกครั้งว่าทำไมถึงต้องถามคำถามนี้
  4. Identify who can help
    ให้ลองพยายามระบุว่า การที่จะได้มาซึ่งคำตอบของคำถามนั้นจำเป็นต้องติดต่อใคร ใครมีข้อมูลอยู่แล้ว หรือใครสามารถช่วยให้ได้ข้อมูลนั้นมา
  5. Make a plan for research
    ในที่สุดก็ถึงเวลาของการปฎิบัติแล้ว แต่สิ่งอื่นใดสำคัญที่สุดคือการวางแผนในการทำ ซึ่งโครงของแผนหลักๆมักจะประกอบด้วย 1.การรวบรวมข้อมูล 2.วิเคราะห์ 3.เลือก Methodology 4.สรุปและประเมินผล

Lesson Learned

คงเห็นว่า Quantitative Research มีมากกว่าการทำแบบสอบถาม และที่สำคัญยังมีการแบ่งแยกลักษณะของข้อมูลเป็น 3 รูปแบบอีกด้วย ดังนั้นจุดสำคัญของการใช้ข้อมูล Quantitative ในการพัฒนา Experience นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องวิเคราะห์แหล่งที่มาและประเภทข้อมูลได้อย่างถูกต้อง

และสุดท้ายนี้สิ่งที่อยากจะเน้นย้ำคือ

อย่าคิดว่าการทำแค่ Quantitative Research แล้วจะสามารถแก้ปัญหาได้เลย!

--

--