การเลือกเจ้าครองแคว้นฉิน ที่พลิกประวัติศาสตร์จีน

TonHor
KULAPofficial
Published in
Feb 26, 2019

ฉิน (จีน: 秦; พินอิน: Qín) เป็นรัฐจีนโบราณในช่วงราชวงศ์โจว

ในสมัยจ้านกว๋อ แผ่นดินจีนแตกแยกเป็น 7 แคว้นคือ ฉิน เว่ย เจ้า ฉู่ ฉี เอียน และ หาน ทั้งเจ็ดแคว้นทำศึกสงครามชิงอำนาจกันเป็นเวลาหลายร้อยปี แคว้นฉิน นับว่าเป็นแคว้นหนึ่งที่มีความเข้มแข็ง เจ้าครองแคว้นฉินในแต่ละสมัย ได้พัฒนาแคว้นฉิน และขยายดินแดนเรื่อยมา การเปลี่ยนแปลงพัฒนาที่สำคัญในแคว้นฉินนั้น เกิดขึ้นในสมัยของฉินเสี้ยวกง

สิ่งที่น่าสนใจคือ การเลือกบุคคลขึ้นเป็นเจ้าแคว้นในสมัยนั้น ต้องเลือกจากบุตรชายคนโตเท่านั้นแต่ ฉินเสี้ยวกง กลับไม่ใช่บุตรชายคนโต ผู้เป็นพระบิดาในเวลานั้นมีแนวคิดอย่างไรในการเลือกเจ้าแคว้นฉิน ผมจะเล่าให้ฟัง

ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ 362 ปีก่อนคริสต์ศักราช เจ้าแคว้นลำดับที่ 26 พระนามว่า ฉินเสวียนกง มีบุตรชาย 2 คน และธิดา 1 คน ตามหลักสายเลือดต้องเลือกบุตรชายคนโตเพื่อสืบราชบัลลังก์ต่อ แต่ในเวลานั้นแคว้นฉินอ่อนแอมาก ประชาชนยากจน ขาดแคลนอาหาร ความอดอยากแผ่ไปทั่วทุกหัวระแหง เนื่องจากการสู้รบติดต่อกันมายาวนานตลอด 4 สมัยของการปกครองแคว้น

เจ้าแคว้นฉินได้ถามความเห็นของพระมเหสี, ถามคนสนิทของพระองค์ รวมถึงดั้นด้นเดินทางหลายลี้ข้ามหิมะมาถามทหารแก่อาวุโสหลายท่านสมัยที่ยังเคยร่วมรบว่าท่านอยากเห็นใครขึ้นครองราชย์

เจ้าแคว้นฉินคิดไม่ตกเพราะกลัวเรื่องการแย่งชิงบัลลังก์เหมือนครั้งก่อนจึงได้เรียกบุตรชายทั้ง 2 มาพูดคุยทีละคน เพื่อถามความคิดเห็น และ 1 ในคำถามสำคัญนั่นก็คือ

บิดาได้ถามบุตรว่า “ระหว่าง ชาวนา เกษตรกร หรือ ทหาร ลูกคิดว่าใครควรขึ้นครองราชย์ “

ซึ่งบุตรที่ตอบได้ดีที่สุดคือ ฉินเสี้ยวกง เขาตอบว่า

ไม่ว่าจะเป็น ชาวนา, เกษตรกร หรือทหาร ก็ปกครองแคว้นได้แต่ต้องเป็นคนที่มี “คุณธรรม “ จึงจะคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมก่อน

สุดท้ายคนที่ขึ้นครองราชย์เป็นเจ้าแคว้นฉินสำดับที่ 27 คือ ฉินเสี้ยวกง บุตรชายคนน้อง เจ้าแคว้นนักปฏิรูป (ปกครองแคว้น 381–338 ปีก่อนคริสต์ศักราช) และเป็นสมัยแรกที่ยุคของฉินเข้มแข็งขึ้นอันเกิดจากการปฎิรูปการปกครองขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นรากฐานให้แคว้นฉินสามารถรวบรวมแผ่นดินจีนได้ในสมัยเจ้าแคว้นลำดับที่ 36 ซึ่งก็คือ สมัยจิ๋นซีฮ่องเต้

“ผู้ปกครองมีคุณธรรม ประชาชนก็เชื่อถือในผู้ปกครอง”

References

--

--