เริ่มต้นการจดโน้ตแบบ Bullet Journal

Tupthai Ritthaprom
laptopismypillow
Published in
2 min readSep 29, 2018

--

By Tupthai Ritthaprom

หลังจากทรมานกับการจดงานแบบไม่เป็นระบบมาหลายปี วันนึงผมก็อ่านไปเจอบทความต่างประเทศเกี่ยวกับการจดบันทึกสิ่งต่างๆอย่างเป็นระบบ โดยระบบนี้ที่เมืองนอกใช้กันเยอะมาก ทำให้ผมสนใจวิธีการทำงานของมันและศึกษามากขึ้น

ระบบการจดบันทึกที่ผมพูดถึงนี้เรียกว่า Bullet Journal หรือ BuJo จากเว็บไซต์ https://bulletjournal.com/ โดยผู้คิดค้นระบบนี้ชื่อมีว่า Ryder Carroll โดยส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่าคนคิดระบบเค้าคิดไว้ดีมากๆ เหมาะกับการนำมาปรับใช้ในที่ทำงาน ผมเลยอยากมาแชร์วิธีการทำงานและการเริ่มต้นใช้งานระบบการจดบันทึกแบบ BuJo โดยเนื้อหาที่นำมาแชร์จะเป็นการอ่าน และแปลสรุปมาจากเว็บไซต์ข้างต้น

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับระบบ BuJo

Rapid Logging: เป็นคำที่เรียกลักษณะการจดของผู้ที่ใช้วิธีจดแบบ BuJo ซึ่งเป็นการจดแบบสั้นๆ กระทัดรัด แต่ยังเพียงพอต่อการจดจำ Rapig Logging เปรียบเสมือนเป็นภาษาของ BuJo โดยในตัวอย่างแสดงให้เห็นว่าสามารถลดคำที่ใช้ได้ถึง 60%

Photo: https://bulletjournal.com/

Bullets: ในการจดโน้ตแบบ BuJo จะเน้นการใช้ Bullet เป็นหลัก โดยสามารถกำหนดสัญลักษณ์ต่างๆเพื่อบอกความหมายของ Bullet นั้นๆ เช่น ใช้ “จุด” แทน Tasks เป็นต้น

Photo: https://bulletjournal.com/

Tasks: หากคุณต้องการจดบันทึกข้อความที่เป็นภาระงาน(Task) สามารถใช้จุด “•” แทนการใช้ Checkbox เพราะเขียนได้เร็วกว่า พร้อมทั้งสามารถขีดทับจุดเพื่อเปลี่ยนเป็นเครื่องหมายอื่นๆเช่น กากบาท(x) มากกว่า(>) น้อยกว่า(<) เพื่อบอกสถานะว่างานเสร็จแล้ว หรือถูกย้ายไปทำในอนาคต ดังเช่นตัวอย่างข้างล่าง

Photo: https://bulletjournal.com/

Events: เป็นข้อมูลเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับวันที่ เราสามารถใช้ Event เพื่อ Schedule (เช่น วันเกิด) หรือใช้ในการ Log เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วก็ได้(เช่น เซ็นสัญญาเช่า“ไปแล้ว”)ใช้สัญลักษณ์วงกลม “O”

Photo: https://bulletjournal.com/

Notes: คุณสามารถใช้ Notes ในกรณีที่ต้องการจดข้อมูลที่เป็นรายละเอียด หรือข้อมูลที่คุณไม่อยากลืมโดยใช้เครื่องหมายขีดกลาง “-” โดย Notes จะถูกใช้บ่อยมากในการจดการประชุม, Lecture หรือการเรียน

Photo: https://bulletjournal.com/

Tips: คุณสามารถจดข้อมูล Tasks, Events และ Notes ทันทีที่ข้อมูลนั้นเกิดขึ้นโดยไม่ต้องกังวลเรื่องลำดับ

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเอาข้อมูลออกจากหัวมาไว้ที่กระดาษก่อน

Nesting: คือการเขียน Sub-bullets โดยคุณสามารถจด Notes ใต้ Event เพื่อบอกรายละเอียดสำคัญของ Event นั้นๆ หรือจด Sub-tasks ใต้ Task เพื่อบอกขั้นตอนในการทำ Task นั้นๆ

Photo: https://bulletjournal.com/

Signifiers: เป็นสัญลักษณ์การเน้นย้ำ โดยจะเขียนไวทางด้านซ้ายของ Bullets เพื่อให้สะดุดตาโดดเด่นออกมาจาก Bullets อื่นๆ เช่นดอกจัน “*” เพื่อบอกว่า สำคัญ

Photo: https://bulletjournal.com/

อ่านต่อที่ : เริ่มต้นการจดโน้ตแบบ Bullet Journal (Part 2) โดยจะอธิบายเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลในแบบของ BuJo และเริ่มต้นใช้งานจริง

--

--