ทำไม “การเล่น” สำคัญกว่าตำราเรียน?

Amp Deekong
Published in
2 min readMar 26, 2020

--

วันนก่อนได้มีโอกาสอ่านบทความเกี่ยวกับความสำคัญของการเล่นที่ลดน้อยลงในเด็กสมัยนี้ ปัจจุบันทั้งโรงเรียนและครอบครัวต่างมีแนวทางหรือความคิดที่ว่า การเรียนผ่านตำราหรือ การอ่านหนังสือมากๆนั้นจะทำให้ลูกฉลาดและเก่ง ซึ่งปฎิเสธไม่ได้เลยว่าการเรียนรู้ในตำราทำให้เด็กมีความรู้ที่ลึกซึ้งและสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญกว่าคือการได้เล่นสนุกตามสัญชาตญาณ การเล่นสนุกของเด็กนั้นสำคัญไม่น้อยไปกว่าการอ่านหนังสือเลยด้วยซ้ำ

แล้วทำไมต้อง…เล่น? เล่นเเล้วได้อะไร?

จากข้อมูลเผยว่า “การเล่น” ช่วยพัฒนา “ทักษะชีวิต”และ “ทักษะทางอารมณ์และสังคม” ซึ่งจำเป็นต่อการใช้ชีวิตและการประกอบอาชีพในอนาคต

https://unsplash.com/photos/FtZL0r4DZYk

ทักษะชีวิต (Life Skills) คือความสามารถของบุคคลที่จัดการกับปัญหาต่างๆ รอบตัวในสภาพสังคมปัจจุบันและเตรียมพร้อมสำหรับการปรับตัวเปลี่ยนแปลงในอนาคต (นิยามโดย สพฐ.) โดยการพัฒนาทักษะชีวิตนั้นจะสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมของเด็ก ซึ่งทักษะชีวิต มี 4 ด้านหลักๆ ดังนี้

- การจัดการกับอารมณ์และความเครียด (Emotional Control)
- การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น (Positive Relationship)
- การเห็นคุณค่าตนเอง (Self -Esteem)
- การคิดวิเคราะห์ตัดสินใจและแก้ปัญหา (Analytical and Problem Solving skill)

ทักษะทางอารมณ์และสังคม (Social-Emotional skills) คือทักษะที่คนคนหนึ่งจำเป็นต้องมีเพื่อที่จะอยู่รอดในสังคมปัจจุบันและอนาคตได้ รวมทั้งยังเป็นส่วนเติมเต็มจากทักษะทางวิชาการที่ได้รับจากการเรียนในห้องเรียนทั่วไปอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น

1. การรู้จักตนเองและผู้อื่น (Self-Awareness)
คือ ความสามารถในการตระหนักถึงความรู้สึก ความรับผิดชอบและข้อดีของตัวเองและผู้อื่น
2. การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจ (Decision-Making)
คือ การเข้าใจสถานการณ์ ตั้งเป้าหมาย วางแผนและ สามารถลงมือตัดสินใจทำสิ่งนั้นๆได้อย่างถูกต้อง
3. การเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น (Empathy)
คือ การเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่น เข้าใจความแตกต่างของกันและกัน
4. การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (Communication)
คือ การพูด สื่อสาร แลกเปลี่ยนสิ่งต่างๆกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการรักษามิตรภาพความสัมพันธ์กับผู้อื่นอีกด้วย

การเล่นก็ทำให้เกิด “Growth Mindset” ได้นะ

เห็นแบบนี้แล้ว พ่อแม่ควรจะพาลูกออกไปเล่นและพบเจอกับเพื่อนวัยเดียวกันให้มากขึ้น เพราะการเล่นทำให้ลูกพัฒนามีทักษะชีวิตและทักษะทางอารมณ์และสังคม ที่บางทีการเรียนในตำราไม่สามารถให้ได้

https://unsplash.com/photos/0aeG4tfATXI

4 สิ่งที่พ่อเเม่ทำให้ลูกๆเรียนรู้ผ่านการเล่นได้

1. พ่อแม่ควรรู้ว่าพื้นฐานของลูกแต่ละคนเป็นแบบไหน

ก่อนที่จะเริ่มพาลูกออกไปเล่นหรือทำกิจกรรมต่างๆ พ่อแม่ควรรู้และเข้าใจก่อนว่าพื้นฐาน ลักษณะนิสัยของลูกเรานั้นเป็นอย่างไร เพราะเด็กเเต่ละคนนั้นเรียนรู้หรือตอบสนองต่อสิ่งต่างๆต่างกันไป ดังนั้นพ่อเเม่ควรที่จะคอยสังเกตลูกของตัวเองเพื่อให้เห็นว่าลูกเราชอบอะไร เก่งอะไร สนใจอะไร เพื่อที่จะสนับสนุนหรือพาลูกออกไปเล่น ทำในสิ่งที่ก่อประโยชน์สูงสุด

2. ตั้งกฎระเบียบที่ยืดหยุ่นได้

เเน่นอนว่าในขณะที่ลูกๆกำลังสนุกและเรียนรู้ผ่านการเล่น พ่อเเม่ต้องอย่าลืมว่าการตั้งกฎระเบียบเป็นสิ่งที่จำเป็น เเต่ต้องมีความยืดหนุ่นตามสถานการณ์ เพราะการให้อิสระลูกในการพบเจออุปสรรค ปัญหา ทำให้ลูกๆเรียนรู้ที่จะเเก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหรือเรียนรู้ถึงความผิดพลาดต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการเพิ่มทักษะชิวิตและทักษะทางอารมณ์และสังคมเป็นอย่างมาก

3. สร้างสภาวะของการเล่น ที่ไม่ขัดจังหวะการเรียนรู้

อย่างที่ทราบกันว่าการเล่นอย่างอิสระ (Free play) เป็นการเล่นที่เด็กได้มีโอกาสลองสิ่งใหม่ๆ ไม่ปิดกั้นตัวเอง และฝึกจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ดังนั้นบทบาทหน้าที่ของพ่อเเม่จึงไม่ใช่ผู้สอนหรือผู้สั่ง เเต่มีหน้าที่สังเกตการณ์ คอยดูว่าลูกของเราเล่นเป็นอย่างไร มีอะไรควรเเนะนำ (ไม่ใช่สั่งให้ทำ) ถือว่าเป็นการสร้างพื้นที่พิเศษสำหรับเด็กๆ พื้นที่ที่ปลอดการสอนสั่ง

4. สร้างพื้นที่ที่เด็กได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิด

จะไม่มีประโยชน์เลยใช่ไหมถ้าลูกๆมีความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการที่ล้ำเลิศ เเต่ไม่มีโอกาสเอาสิ่งเหล่านั้นไปคุยหรือแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ เพราะการแลกเปลี่ยนสามารถต่อยอดสู่ความคิด ไอเดียใหม่ๆ ที่ลูกของคุณอาจจะคิดไม่ถึง ดังนั้นกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องอาศัยการเเลกเปลี่ยนความคิดซึ่งนำไปสู่การต่อยอดความคิดใหม่ๆไปเลื่อยๆ

--

--