คนบ้าประชุม

Want To Know Something — Schedule A Meeting / Have Nothing To Do — Attend A Meeting

Piyorot
Life As I Feel It
1 min readMar 22, 2015

--

มีคนมากมายบ้าการประชุม ขอเดาว่าเพราะมันเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดที่ช่วยบำบัดความรู้สึกว่าตัวเองไม่มีอะไรทำ ตัวเองไม่ได้ทำอะไร และความรู้สึกที่ว่างานไม่คืบหน้าไปไหน … เอะอะจัดประชุม

  • เฮ้ย ตอนนี้งานถึงไหนแล้ววะ … จัดประชุม
  • อืม ปัญหานี้คิดไม่ตกหวะ … จัดประชุม
  • เยสสส คิดออกแล้ว … จัดประชุม

มีคนมากมายเหมือนกันที่เห็นบัตรเชิญเข้าประชุมแล้วรู้สึกดี (ฮ่าๆ) ขอเดาว่าเพราะมันเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดที่ช่วยบำบัดความรู้สึกที่ว่าตัวเองไม่มีอะไรทำ ตัวเองไม่ได้ทำอะไร และความรู้สึกที่ว่างานไม่คืบหน้าไปไหน … เอะอะเข้าประชุม

อีกเหตุผลหนึ่งคือความกลัวที่จะพลาดอะไรไป ภาษาปะกิดเรียกอาการนี้ว่า “FoMO” = Fear of Missing Out ว่าแล้วก็เข้าแม่มทุกประชุม มีคนกล้าส่งบัตรเชิญก็กล้าเข้าวะ ไม่รู้หละว่าเกี่ยวหรือไม่เกี่ยว กลัวพลาดเรื่องเด็ดไป

เราสังเกตมิสเตอร์ FoMO ได้ง่ายๆ ใครที่เดินเข้าห้องประชุมพร้อมแล็ปท็อป อ้อมโต๊ะประชุมไปนั่งห่างๆผู้คน วางแล็ปท็อปบนโต๊ะ เปิดฝาก้มหน้าและทำอะไรบ้างอย่างอยู่แบบนั้น (งานบ้าง แชตบ้าง เวปบ้าง) ทุกๆสองนาทีจะเงยหน้าขึ้นมาดูว่าโลกนี้มันหมุนไปถึงไหน แล้วก็ก้มหน้ามองจอต่อไป จนจบประชุมเราจะไม่ได้ยินเสียงมิสเตอร์ FoMO เลย

“งานเยอะหวะ ทำอะไรไม่เสร็จซักอย่างเลย” มิสเตอร์ FoMO บ่นกระปอดกระแปดหลังออกจากห้องประชุม … ผมก็สงสัยว่าจะบ่นเพื่อ??? ทำตัวเองปะครับคุณ

เห็นมั้ยว่าเรื่องนี้มันตบมือข้างเดียวไม่ดัง เพราะมีคนบ้าเข้าประชุม มันเลยมีคนบ้าจัดประชุม กฎอุปสงค์-อุปทานครับเรื่องนี้ ตัวผมในมุมกลับกัน หลังๆมานี่ผมเป็นพวก “JoMO” = Joy of Missing Out เป็นพวกคนที่มีความสุขที่ไม่รับรู้เรื่องราวอะไรมากมาย มีความสุขที่จะรู้เรื่องต่างๆเป็นคนสุดท้าย มีความสุขที่จะพูดว่า “อ่าวหรอ ไม่เห็นรู้เรื่องเลย” และมีความสุขที่จะนั่งก้มหน้าทำอะไรบางอย่างกับแล็ปท๊อปที่โต๊ะตัวเอง (งานบ้าง แชตบ้าง เวปบ้าง ฮ่าๆ)

ผมเคยพิสูจน์สมมติฐานของตัวเองที่ว่า “ถ้าเราไม่เข้าประชุมหนึ่งครั้ง เราจะไม่จำเป็นต้องเข้าอีกต่อไปเลย” ว่าแล้วก็ลองปฏิเสธการเข้าประชุมสำคัญครั้งนึง มันเป็นการประชุมที่เกี่ยวกับผมโดยตรงและเป็นประชุมที่ผมสามารถมีส่วนร่วมในการถกประเด็นได้อย่างเต็มที่ … ผมแกล้งไม่สนใจด้วยการกด Decline ไปเบาๆ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ

  1. การประชุมนี้ไม่ถูกยกเลิก — แฮ่ๆ ผมก็ไม่ได้สำคัญขนาดนั้นนนน เยี่ยม!!!
  2. เมื่อประชุมจบ มีคนมาเล่าให้ผมฟังด้วยว่ามันเกิดอะไรขึ้นบ้างในห้องประชุม ถกกันเรื่องอะไร ใครพูดยังไง และผลสรุปคืออะไร — หึๆๆ จริงๆแล้วผมก็เป็นคนสำคัญนะเนี่ยะ มีคนมาเล่าให้ฟังโดยไม่ต้องเอ่ยปาก แถมเล่าจบใน 10 นาที ไม่ต้องเสียเวลาในห้องประชุมตั้งสามชั่วโมงด้วย เจ๋ง!!!
  3. เมื่อมีการประชุมต่อเนื่องในเรื่องเดียวกันนี้ ผมก็ไม่เคยได้รับบัตรเชิญเข้าประชุมอีกเลย — สุดยอดดดดด!!!

การทดลองนี้ให้แง่คิดกับผมสองข้อ

  1. ถ้าเราเป็นคนจัดประชุม … คนที่เราคิดว่าสำคัญต่อการประชุมนี้พวกเค้าไม่ได้สำคัญขนาดนั้น เลือกเฉพาะคนที่เรามั่นใจว่าถ้าเค้ากด Decline แล้วเราต้องเลื่อนประชุม เชื่อผมปะว่าคนเข้าประชุมจะลดลงเกินครึ่ง
  2. ถ้าเราเป็นคนถูกเชิญเข้าประชุม … เราไม่ได้สำคัญขนาดนั้นหรอกครับ ถามตัวเองดูว่าถ้าเราไม่ว่างประชุมนี้ต้องเลื่อนมั้ย? ถ้ามันแย่ขนาดนั้นก็ Accept ไป ถ้าไม่ใช่ก็ Decline ในทุกกรณี

ผมเบื่อการประชุมที่ไม่มีประสิทธิภาพมากๆ ส่วนตัวเชื่อว่าการที่จะปรับปรุงการประชุมให้มีประสิทธิภาพเป็นเรื่องยากมาก (เพราะคนส่วนใหญ่ไม่แคร์) สิ่งที่ง่ายและควรทำมากกว่าคือลดจำนวนการประชุมลง ถ้าเราเป็นเจ้าของประชุมคิดให้เยอะว่ามันจำเป็นจริงมั้ย ถ้าเราเป็นคนถูกเชิญให้ปฏิเสธไว้ก่อนเพราะการประชุมเกินครึ่งนั้นเป็นเรื่องไม่มีสาระ ไม่มีแก่นสาร และไม่คุ้มค่ากับเวลาชีวิตที่เราต้องเสียไป

ป.ล. JoMO นี่ดีนะครับ ลองดูสิ

ผมเขียนบทความนี้เพราะอยากเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นอยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตซอฟท์แวร์ให้ดีขึ้นตามความเชื่อและประสบการณ์ของผม ถ้าเพื่อนๆเชื่อในแนวทางเดียวกัน เรามาช่วยกันคนละไม้คนละมือทำให้สังคมของเราดีขึ้นครับ จะแชร์บทความนี้ผ่าน Social Network หรือจะแบ่งปันเรื่องราวนี้ให้คนที่นั่งข้างๆฟังบ้างก็ได้

The Future Has Arrived — It’s Just Not Evenly Distributed Yet, William Gibson

อนาคตอยู่ตรงนี้แล้ว เรามีหน้าที่ต้องถ่ายทอดมันออกไปให้คนอื่นได้สัมผัสสิ่งดีๆร่วมกันครับ

--

--

Piyorot
Life As I Feel It

A member of Mutrack and Inthentic. I lead, learn, and build with vision, love and care. https://piyorot.com