รู้จัก Quick Reply ฟีเจอร์ใหม่แกะกล่องใน LINE Messaging API

Jirawatee
LINE Developers Thailand

--

สิ้นเดือน ก.ค ที่ผ่านมา LINE ได้เปิดตัวฟีเจอร์ Quick Reply ฟีเจอร์ที่จะช่วยแนะนำการ reply กลับหา Bot ด้วยการแสดงปุ่มข้อความแนะนำด้านล่างของหน้าแชท โดยผู้ใช้สามารถกดปุ่มข้อความแนะนำนั้นเพื่อ reply กลับได้ทันทีไม่ว่าจะเป็นการแชทแบบ one-on-one, group หรือ room

หมายเหตุ: สำหรับใครที่ยังไม่มีประสบการณ์สร้าง LINE Bot แนะนำให้อ่านบทความด้านล่างนี้ก่อนนะครับ

เพิ่ม Quick Reply ให้กับข้อความรูปแบบไหนได้บ้าง?

เราสามารถเพิ่มฟีเจอร์ Quick Reply ได้ใน Message Object ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น Text, Sticker, Image, Video, Audio, Location, Imagemap, Template และ Flex Message

กำหนด Action อะไรได้บ้างเมื่อผู้ใช้กดปุ่ม Quick Reply?

Action พื้นฐานที่เราคุ้นเคยอย่าง Uri, Postback, Message และ Datetime Picker นั้นสามารถใช้ได้เลย และ Quick Reply ก็มี action พิเศษเพิ่มขึ้นมาอีก 3 ตัวด้วยกัน ได้แก่

  • Camera action: การเปิดกล้อง ถ่ายรูปแล้วส่งกลับมายังแชท
  • Camera roll action: เปิดแกลเลอรีเลือกภาพแล้วส่งกลับมายังแชท
  • Location action: เปิดแผนที่แล้วส่งพิกัดกลับมายังแชท

ที่เจ๋งไปกว่านั้นคือ Quick Reply ได้รับสิทธิ์ใช้งาน action ทั้ง 3 นี้แต่เพียงผู้เดียวนะ exclusive สุดๆ

โครงสร้างของ Quick Reply

การสร้าง Quick Reply เราจะต้องปั้น JSON Object ขึ้นมา แล้วเพิ่มเข้าไปใน Message object ซึ่งสามารถส่งได้ทั้ง Push, Reply และ Multicast ผ่าน LINE Messaging API โดยมีโครงสร้างตามนี้

quickReply: {
items: [
{},
{},
{},
...
]
}

ภายใน items จะมี object ที่ประกอบ ไปด้วย

  • type: action (required)
  • action: คือ action ทั้ง 6 ที่กล่าวไปก่อนหน้า (required)
  • imageUrl: URL ของ icon ที่เป็น https นามสกุลเป็น PNG และมี aspectRatio เป็น 1:1 หรือจัตุรัส (optional)

หมายเหตุ: action ที่เป็น camera, camera roll และ location แม้ไม่ระบุ imageUrl ก็จะมี icon ที่เป็นค่า default มาให้ แต่หากต้องการเปลี่ยนก็สามารถกำหนด imageUrl ได้

ตัวอย่าง(เต็มๆ)

มาดูตัวอย่าง payload ใน body ที่บรรจุ Quick Reply ทั้ง 6 action กัน

จากตัวอย่างด้านบนนี้ก็จะเห็นว่า

  1. ถึงเราไม่ได้กำหนด imageUrl ให้ action ที่เป็น camera, camera roll และ location แต่ก็จะมี default icon แสดงจริง
  2. เราสามารถกำหนด icon ให้แต่ละปุ่มใน Quick Reply ได้ ตัวอย่างคือ message action และ datetime picker action

ข้อกำจัด…เอ้ย…ข้อจำกัด…เอ้ย…ถูกแล้ว!

  1. ฟังก์ชัน Quick Reply จะรองรับ LINE เวอร์ชัน 8.11.0 เป็นต้นไป ทั้ง Android และ iOS (เวอร์ชันล่าสุด ณ วันที่ผมเขียนคือ 8.11.0)
  2. ฟังก์ชัน Quick Reply จะรองรับใน LINE เวอร์ชัน Desktop ตั้งแต่เวอร์ชัน 8.2.0 เป็นต้นไป
  3. กรณีผู้ใช้ LINE ใช้เวอร์ชันที่ไม่รองรับ Quick Reply จะเห็นเฉพาะข้อความที่ส่งไป
  4. เราสามารถสร้าง Quick Reply ได้สูงสุด 13 ปุ่ม / 1 ข้อความ

บทสรุป

ฟังก์ชัน Quick Reply น่าจะช่วยให้ผู้ใช้งาน LINE Bot ของเรา สะดวกสบายมากขึ้นเลยจากการทำ suggestion ไม่ว่าจะทำเป็น Rule based หรือ ยิ่งถ้าคุณมีความรู้ความสามารถใน Machine Learning ด้วยแล้ว ก็น่าจะทำให้ Quick Reply กลายเป็น Smart Reply แบบเดียวกับที่ Gmail และ Linkedin ทำได้เลย

ก่อนจากกันไป ขอประชาสัมพันธ์งาน LINE HACK 2018 จัดโดย LINE Thailand และ GDG Thailand ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 1,000,000 บาท พร้อมสิทธิ์เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งต่อที่งาน LINE BOOT AWARDS 2018 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ — 31 ส.ค นี้ รายละเอียดเพิ่มเติมตามลิงค์ด้านล่างครับ

รีบฟอร์มทีมกันมา 1–5 คน โอกาสดีๆอยู่ตรงหน้าแล้ว…รอรัยอะ…คว้าดิ๊ สำหรับวันนี้ขอตัวลาไปก่อน จนกว่าจะพบกันใหม่บทความหน้า ราตรีสวัสดิ๊ นักพัฒนาชาวไทย

--

--

Jirawatee
LINE Developers Thailand

Technology Evangelist at LINE Thailand / Google Developer Expert in Firebase