การศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในประเทศไทย

Pati Pik
Look ‘n Say
Published in
2 min readSep 1, 2019
ลูทวิช ฟัน เบทโฮเฟิน จาก Wikipedia.org

“สำหรับฉันแล้วการสูญเสียการได้ยินทำให้ฉันไม่สามารถผ่อนคลายเมื่อเข้าสังคมได้อีกต่อไป ท้ังสูญเสียอรรถรสในการสนทนากับผู้คน ขาดความเช่ือมั่น ฉันรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เหมือนถูกทอดทิ้ง ต้องรอให้คนอื่นเรียกหาจึงจะมีโอกาสทำอะไรต่าง ๆ ได้ ความรู้สึกเช่นนี้ช่างทรมานเสียนี่กระไร มันทำให้ฉันรู้สึกสิ้นหวังและอยากตายเสียให้พ้น ๆ ไป สิ่งเดียวที่ยึดเหนี่ยวฉันไว้ได้ คือ ศิลปะของฉันเท่าน้ัน”

คำกล่าวข้าวต้นเป็นบันทึกความรู้สึกเมื่อสูญเสียการได้ยินที่เหลืออยู่เกือบท้ังหมดของ ลูทวิช ฟัน เบทโฮเฟิน (Ludwig van Beethoven) คีตกวีและนักเปียโนชื่อดังชาวเยอรมัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงผลกระทบของการสูญเสียการได้ยินที่รุนแรงและลึกซึ้ง ความรู้สึกต่าง ๆ สุดท่ีจะบรรยาย

สอดคล้องกับคำกล่าวของ เฮเลน เคลเลอร์ (Helen Keller) นักเขียนและนักมนุษยธรรมชาวอเมริกันผู้พิการทั้งตาบอดและหูหนวกตั้งแต่อายุ 19 เดือนจากการเจ็บป่วยหนัก ที่แสดงความรู้สึกเสมือนว่า ถูกทอดทิ้งให้โดดเดี่ยว ถูกปิดก้ันจากสังคม ประโยคสำคัญของเธอคือ “ตาบอดทำให้คนถูกตัดขาดจากสรรพสิ่ง แต่หูหนวกนั้นตัดคนออกจากมวลมนุษย์”

เฮเลน เคลเลอร์ จาก Wikipedia.org

นอกจากนั้น เธอยังได้บันทึกไว้ในอัตชีวประวัติเรื่องชีวิตของฉัน (The Story of My Life) ไว้ว่า “ฉันหูหนวกเท่า ๆ กับตาบอด แต่ปัญหาหูหนวกของฉันน้ันหนักหนาสาหัสกว่าการที่ต้องตาบอดมากมายนัก การที่คนเราหูหนวกน้ันนับเป็นโชคร้ายอย่างยิ่ง เพราะนั่นหมายถึงการสูญเสียตัวกระตุ้นการเรียนรู้ท่ีสาคัญ เพราะเสียงพูดนำมาซึ่งภาษา อันเป็นตัวการสำคัญที่ส่งผลให้เกิดสติปัญญาของเราท้ังหลาย” แต่โชคดีที่ได้แอนน์ ซัลลิแวน มาเป็นผู้สอนการพูด การอ่านและเขียน และได้กลายเป็นมิตรสนิทซึ่งกันและกันไปตลอดชีวิต

กลับมาที่การศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในประเทศไทย มีแนวคิดในการจัดการศึกษาสำหรับคนหูหนวก-หูตึงอยู่ 2 แนวคิด ได้แก่

แนวคิดที่ 1: คนหูหนวกมีวิธีการเรียนรู้เหมือนคนที่มีการได้ยินทุกประการ แต่ปัญหาสำคัญคือ การท่ีไม่ได้ยินเสียงเท่าน้ัน

Photo from https://pacs.wustl.edu/programs/master-of-science-in-deaf-education/

นักการศึกษากลุ่มน้ีมีความเช่ือว่า หากกลุ่มคนดังกล่าวสามารถได้ยินเสียงเพิ่มข้ึนแล้ว คนเหล่าน้ันจะสามารถเรียนรู้ได้ในลักษณะเดียวกับคนที่มีการได้ยินปกติ คือเรียนรู้จากการฟังเสียง แนวคิดในการจัดการศึกษาจึงเน้นด้านการแก้ไขความบกพร่องทางการได้ยิน โดยการใช้เครื่องช่วยฟัง เครื่องขยายเสียง ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เพิ่มการได้ยิน เช่น การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม แล้วใช้การสอนให้หัดฟัง สอนให้พูด ซึ่งเรียกแนวคิดน้ีว่า การจัดการศึกษาแบบเน้นการฟังเป็นฐาน (Auditory-based Approach) ซึ่งเป็นการเรียนการสอนท่ีใช้วิธีสอนพูดโดยใช้การได้ยินหรือการพูดเป็นหลัก (Oral Approach และ Auditory Verbal Approach) ดังที่พบเห็นทั่วไปในโรงเรียนท่ีจัดการเรียนร่วมระดับอนุบาลและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วไปในรูปแบบของการเรียนรวม (Inclusive Education)

แนวคิดท่ี 2: คนหูหนวก เนื่องจากมีการได้ยินบกพร่อง จึงมีวิธีการเรียนรู้ รับข้อมูลข่าวสารและความรู้ต่าง ๆ โดยวิธีการที่แตกต่างจากคนที่มีการได้ยินปกติ

Photo from https://www.necc.mass.edu/gallaudet/gallaudet-university/

กล่าวคือ คนหูหนวกใช้การรับข้อมูลและเรียนรู้โดยใช้การมองหรือการใช้สายตาแทนการได้ยิน ดังนั้น นักการศึกษากลุ่มน้ีจึงให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ท่ีเป็นท่าทางและภาษามือท่ีเป็นภาษาของคนหูหนวก ซึ่งเป็นการเรียนการสอนแบบเน้นการใช้สายตาเป็นฐาน (Visual-based Approach) ดังจะพบเห็นในโรงเรียนเฉพาะความพิการ (โสตศึกษา) ที่มีรูปแบบวิธีสอนที่ใช้ภาษามือควบคู่กับการใช้ภาษาเขียนประจำชาติ หรือที่เรียกว่า วิธีสอนแบบ 2 ภาษา (Bilingual Education Approach) ซึ่งให้ความสำคัญกับการสอนภาษามือโดยเจ้าของภาษามือ คือครูที่เป็นคนหูหนวกร่วมกับครูที่มีการได้ยินที่เป็นเจ้าของภาษาไทย

ปัจจุบันเราจะพบว่าการจัดการศึกษาสำหรับผู้ที่บกพร่องทางการได้ยินในประเทศไทยได้ยึดหลักแนวคิดที่แตกต่างกันทั้งสองนี้อย่างชัดมากขึ้นเหมือนกับทั่วโลก ที่มีการแบ่งแยกการเรียนการสอนออกเป็น 2 แนวคิดเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีผลการศึกษาวิจัยที่แน่ชัดว่าแนวคิดใดจะดีกว่ากัน ทั้งนี้เพราะนอกเหนือจากวิธีการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อความสำเร็จและคุณภาพของการจัดการศึกษาสำหรับคนที่บกพร่องทางการได้ยิน เช่น อายุของเด็กที่ได้รับการคัดกรองและบ่งชี้สภาวะหูหนวกได้รวดเร็วและทันเวลาการพัฒนาสมองและการเรียนรู้และสติปัญญาของเด็ก และคุณภาพของบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม (Early Intervention Services) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับคุณสมบัติที่เหมาะสมของผู้ให้บริการ ความเพียงพอเหมาะสมของสิ่งอำนวยความสะดวก แหล่งบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มและความร่วมมืออย่างจริงจังของผู้ปกครอง เป็นต้น

การเลือกวิธีสอนนั้น ผู้ปกครองจะเลือกแตกต่างกัน โดยผู้ปกครองที่มีการได้ยินปกติจะเลือกวิธีสอนพูดและวิธีสอนโดยใช้การฟังเสียงในภาษา (สอดคล้องกับแนวคิดที่ 1) แต่ผู้ปกครองที่หูหนวกจะเลือกวิธีการใช้ภาษามือ (สอดคล้องกับแนวคิดที่ 2) สิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการสอนภาษามือก็คือ ถ้าจะให้เด็กเรียนภาษามือ ผู้ปกครองก็จะต้องเรียนรู้ภาษามือด้วย จึงจะสามารถสื่อสารกันได้ แต่ผู้ปกครองที่เลือกวิธีสอนพูดและวิธีสอนโดยใช้การฟังเสียงในภาษานั้นก็เพราะว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินส่วนใหญ่มีการได้ยินเหลืออยู่ ถ้าได้รับการตรวจวัดการได้ยินแล้วใส่เครื่องช่วยฟังหรือประสาทหูเทียมก็จะใช้การได้ยินที่เหลืออยู่ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาการพูดได้

บรรณานุกรม

ดร. มลิวัลย์ ธรรมแสง. (2554). การศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในประเทศไทย.

รองศาสตราจารย์ ดร. ดารณี ศักดิ์ศิริผล. (2556). การพัฒนาการฟังและการพูด เด็กท่ีมีความบกพร่องทางการได้ยิน. การสัมมนาวิชาการเรื่อง Developing Listeningand Spoken Language Skills โดย Brenda Bliss, M.S., CCC — SLP/A, LSLS Cert. AVT.

--

--