รู้หรือไม่ การใช้หูฟังนาน ๆ อาจทำให้ประสาทหูเสื่อมได้

MaliLalll
Look ‘n Say
Published in
1 min readJan 17, 2020

ในปัจจุบันเวลาเราเดินทางไปไหนมาไหน มักจะเห็นผู้คนที่สวมใส่หูฟังเดินผ่านกันไปมา บางทีเรายืนข้างคนที่ฟังเพลงยังได้ยินเสียงเพลงดังทะลุออกมาด้านนอก เราเลยอยากใช้บล็อคนี้บอกข้อมูลบางอย่าง มาดูกันดีกว่าค่ะ

ประเภทของหูฟังในปัจจุบัน

  1. In-Ear แบบใส่เข้าไปในรูหู ถูกออกแบบให้มาใส่ไว้ในรูหู มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก
  2. Earbud แบบคล้องหลังหูตัวลำโพงแปะอยู่ที่หูข้างนอก ป้องกันเสียงรบกวนภายนอกได้ไม่ดี
  3. Fullsize Headphone แบบครอบที่ใบหู มีวัสดุที่ทำไว้ให้คาดบนศีรษะ ป้องกันเสียงรบกวนภายนอกได้ดี แต่มีขนาดใหญ่

หูฟังแต่ละแบบจะมีข้อแตกต่างกันไป แต่แบบที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในหมู่ผู้ใช้งาน คือแบบ In-Ear เพราะทำให้เสียงที่ได้ยินมีความชัดเจนที่สุด เสียงภายนอกแทรกเข้าไปได้น้อยที่สุด แต่รู้หรือไม่ หูฟังประเภทนี้ มีผลกระทบต่อประสาทการได้ยินเสียงมากกว่าการใช้หูฟังประเภทอื่น เนื่องจากตัวลำโพงหูฟังจะอยู่ใกล้กับประสาทรับเสียงในหูมากที่สุด โดยการฟังเพลงของวัยรุ่นที่มีเสียงดนตรีหนักๆ อย่างเสียงเบสที่กระแทกหู ซึ่งหากฟังเสียงดังมากเกินกว่าระดับเสียงปกติคนที่คนเรารับได้ จะมีผลต่อประสาทหูโดยตรง จึงทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการหูเสื่อม หูหนวก หูตึงได้

หูฟังส่งผลกระทบต่อการได้ยินอย่างไร

ในทางการแพทย์ การฟังเสียงที่ดังเกิน 90 เดซิเบล อาจส่งผลกระทบต่อการได้ยินในระยะยาวได้ โดยการใช้หูฟังและปรับระดับเสียงให้อยู่ที่ 70 เปอร์เซ็น ของระดับเสียงดังสุดอาจทำให้เกิดเสียงดังประมาณ 85 เดซิเบล และหากปรับระดับเสียงให้สูงขึ้นก็อาจทำให้เสียงดังถึง 104 เดซิเบล ซึ่งเมื่อฟังเสียงดังติดต่อกันเป็นเวลานานก็อาจเสี่ยงต่อภาวะประสาทหูเสื่อมจากเสียง และอาจทำให้สูญเสียการได้ยินอย่างถาวรหรือหูหนวกได้

สัญญาณของอาการหูตึงจากหูฟัง

  • ได้ยินเสียงวิ้งๆ ในหู ทั้งที่ไม่ได้เปิดเพลง หรือใช้หูฟัง
  • มีอาการมึนงง หรือยืนทรงตัวไม่ได้ เมื่อตื่นนอน
  • เริ่มได้ยินเสียงไม่ชัดหูอื้อจนทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสาร
  • มีเสียงสั่นเสียงหึ่งๆ เสียงอู้อี้ในหูข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
  • ปวดในช่องหูเมื่อได้ยินเสียงดัง

ใช้หูฟังอย่างไรให้ปลอดภัย

  • หลีกเลี่ยงการใช้หูฟังฟังเพลงในที่ที่มีเสียงดัง ซึ่งระดับเสียงไม่ควรเกิน 50 เปอร์เซ็น ของระดับเสียงสูงสุด หรือปรับระดับเสียงไปที่ระดับกลาง และไม่ควรฟังต่อเนื่องเกิน 2 ชั่วโมง
  • ไม่ควรเสียบหูฟังฟังเพลงตลออดเวลา แม้กระทั้งเวลาเข้านอน ฟังเฉพาะในช่วงเวลาที่ต้องการหรือฟังเป็นบางช่วง ปล่อยให้หูได้พักบ้าง จะได้ลดอัตราเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพหู
  • หลีกเลี่ยงการใช้หูฟังร่วมกับคนอื่น เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคบางชนิด เช่น โรคผิวหนัง
  • หมั่นทำความสะอาดหูฟัง เปลี่ยนฟองน้ำที่ใช้รองหูฟังบ่อยๆ เพื่อป้องกันการสะสมของฝุ่นและเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคต่างๆ เช่น หนองในหู หรือการอักเสบในช่องหู

เห็นถึงความอันตรายของการใช้หูฟังกันบ้างรึยังคะ ทางทีดีการฟังเพลงโดยการใช้หูฟัง ควรที่จะฟังในประมาณความดังที่พอดีไม่ดังเกินไป นะคะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก พบแพทย์ และศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

--

--