ขั้นตอนการสอนพูด สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

MaliLalll
Look ‘n Say
Published in
1 min readJan 14, 2020

อย่างที่เคยบอกไปในบล็อคก่อนหน้านี้ การที่จะสอนให้เด็กพูด จำเป็นที่จะมีเครื่องช่วยฟังหรือผ่านการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมมาแล้ว และสิ่งที่จำเป็นจะต้องมีอีกอย่างนั้นก็คือ ผู้ที่ทำการสอนจะต้องมีความมานะอดทนในการสอนด็ก ถ้ามีสองสิ่งนี้แล้วเรามาดูขั้นตอนการสอนกันเลยดีกว่า

การสอนพูดและการฝึกฟังเสียง

  1. สอนให้เด็กรู้จักเสียงต่างๆ และสอนให้รู้จักการฟัง โดยการใช้เสียงเป็นตัวกระตุ้น เช่น เสียงพูด เสียงสัตว์ เสียงจากวิทยุ โดยการที่เปิดเสียงให้มีระดับความดังที่เหมาะสม ระยะแรกเด็กอาจจะไม่ยอมทำบ่อยนัก ควรค่อยๆหาวิธีเรียกความสนใจจากเด็กด้วยของเล่นฝึกสมาธิ ของเล่นมีเสียงต่างๆก็ได้เช่นกัน
  2. ฝึกให้น้องใช้เครื่องช่วยฟังเป็นประจำ ให้น้องฟังเสียงผ่านเครื่องช่วยฟังให้ชินและ หัดให้เริ่มพูดคำง่ายๆ สั้นๆ พยางค์เดียว และควรที่จะมีภาพประกอบ เช่น รูปส่วนประกอบของร่างกาย ให้คุณชี้ภาพแล้วพูด จากนั้นให้น้องพูดตาม ทุกครั้งของการฝึกให้น้องพูดอาจจะให้เด็กมีการมองปากผู้สอนร่วมไปด้วยเพื่อการออกเสียงที่ชัด การฝึกขั้นนี้เป็นสิ่งที่ยากมาก จำเป็นต้องใช้เวลานาน บางคนอาจเป็นปีก็มี ต้องใช้ความอดทนของผู้สอนเป็นอย่างมากนะคะ
  3. เริ่มฝึกคำสองพยางค์หรือคำคู่ง่ายๆ สั้นๆ และสิ่งที่ควรมีอีกอย่างคือภาพประกอบ เช่น พ่อแม่ ไฟฟ้า เป็นต้น
  4. เริ่มให้ฟังคำยาวๆ หรือประโยคสั้นๆ ต่อมาจะเริ่มพูดประโยคยาวหรือซับซ้อนได้

การศึกษาของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

แบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ

  1. การศึกษาพิเศษสำหรับเด็กหูตึง เฉพาะผู้ที่สูญเสียการได้ยินไม่เกิน 55 เดซิเบล อาจยืดหยุ่นได้ถึง 80–85 เดซิเบล แล้วแต่จะพิจารณา กลุ่มนี้สามารถเรียนรวมกับเด็กปกติได้ หรือเรียนในชั้นการศึกษาพิเศษ เน้นการฝึกฟัง การพูด และการแก้ไขการพูด แก่เด็กที่ใช้เครื่องช่วยฟัง
  2. การศึกษาสำหรับเด็กหูหนวก รับเด็กที่สูญเสียการได้ยินเกิน 85 เดซิเบล หรือเด็กหูตึงที่ยังพูดไม่ได้ เรียนโดยวิธีการสื่อสารรวมแยกผู้ฝึกพูด และฝึกฟัง แก่เด็กที่ใช้เครื่องช่วยฟัง รวมทั้งแก้ไขการพูดด้วย ส่วนใหญ่ใช้ภาษาใบ้เป็นหลัก ร่วมกับการสะกดตัวหนังสือด้วยนิ้วมือ

และสิ่งที่สำคัญอีกอย่างในการฝึกพูดของเด็กคือการ ตอยเช็คเครื่องช่วยฟัง และประสาทหูเทียมบ่อยๆด้วยนะคะ ขอขอบคุณข้อมูลจาก Plookpedia

--

--