4 ขั้นตอนในการยื่นขอทำบัตรคนพิการ

MaliLalll
Look ‘n Say
Published in
1 min readDec 24, 2019

ทางเราได้นำข้อมูลมาสรุปให้ดูคร่าวๆนะคะ ใครที่มีญาติหรือคนในครอบครัวเป็นผู้พิการ แล้วต้องการได้บัตรคนพิการลองเข้ามาอ่านดูกันได้นะคะ

1.คุณสมบัติของคนพิการที่ยื่นคำขอ

  • ต้องมีสัญชาติไทย
  • สำหรับบุคคลที่ไม่ได้แจ้งเกิด และไม่ปรากฏแน่ชัดว่ามีสัญชาติไทย ต้องทำตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร์ พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 ก่อน

2.สถานที่ให้บริการออกบัตรประจำตัวคนพิการ

กรุงเทพมหานคร

  • ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร ณ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
  • โรงพยาบาลสิรินทร
  • โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
  • สถาบันราชานุกูล
  • โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
  • โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
  • ศูนย์บริการคนพิการสายไหม เคหะเอื้ออาทรสายไหม
  • สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก)

ในต่างจังหวัด

  • ขอมีบัตรประจำตัวคนพิการได้ที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดที่ตนอาศัยอยู่ ซึ่งตั้งอยู่ที่ศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัด หรือที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด/อำเภอ ที่มีศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จในโรงพยาบาล หรือหน่วยงานราชการอื่นๆ ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนด

3.สถานที่ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ

กรุงเทพมหานคร

  • ฝ่ายสังคมสงเคราะห์งานเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลศิริราช
  • ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี
  • โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

จังหวัด

  • โรงพยาบาลประจำจังหวัด/อำเภอ ที่มีศูฯย์บริการแบบเบ็ดเสร็จในโรงพยาบาล
  • องค์กรปกครองท้องถิ่น
  • หน่วยงานของรัฐอื่นตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนด

4.เอกสารหลักฐานประกอบการยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ

เอกสารหลักฐานของคนพิการ

  • เอกสารประจำตัวอย่างใดอย่างหนึ่ง บัตรประจำตัวประชาชน, บัตรประจำตัวข้าราชการ, สูติบัตรสำหรับบุคคลอายุต่ำกว่า 15 ปี, หนังสือรับรองการเกิดตามแบบที่กรมการปกครองกำหนด
  • ทะเบียนบ้านของคนพิการ กรณีที่คนพิการมีทะเบียนบ้าน แต่ไม่มีบัตรประชาชน ต้องดำเนินตามขั้นตอน ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร์ พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 ก่อน
  • รูปถ่ายคนพิการ ขนาด 1 นิ้ว ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป ในกรณีที่คนพิการไม่ได้มายื่นคำขอด้วยตนเอง
  • เอกสารรับรองความพิการ ซึ่งรับรองโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของสถานพยาบาลของรัฐ หรือสถานพยาบาลเอกชนที่อธิบดีประกาศกำหนด
  • สภาพความพิการเป็นที่เห็นได้โดยประจักษ์ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอถ่ายสภาพความพิการไว้เป็นหลักฐาน

เอกสารหลักฐานของผู้ดูแลคนพิการ

  • บัตรประชาชนของผู้ดูแลคนพิการ
  • ทะเบียนบ้านของผู้ดูแลคนพิการ

กรณีคนพิการที่ไม่ได้มาแจ้งหรือไม่สามารถแจ้งได้

1.) หนังสือรับรองการเป็นผู้พิการ 1 ฉบับ

  • ผู้รับรอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ สมาชิกสภาท้องถิ่น ประธานชุมชน ลูกจ้างประจำ (หน่วยงานราชการ, รัฐวิสาหกิจ) โดยผู้รับรองต้องอาศัยอยู่หรือปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่เดียวกับที่คนพิการอาศัยอยู่ในปัจจุบัน

2.) สำเนาบัตรประจำตัวของผู้รับรอง พร้อมรับรองสำเนา จำนวน 1 ฉบับ

*ข้าราชการบำนาญไม่สามารถรับรองหนังสือนี้ได้

*การรับรองจะสมบูรณ์ เมื่อพยานลงนามครบถ้วน

*การรับรองอันเป็นเท็จมีความผิดตามกฎหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญา

บุคคลอื่นยื่นคำขอมีบัตรฯ แทนคนพิการ

  • สำเนาบัตรประชาชนของบุคคลที่ดำเนินการแทน
  • หนังสือมอบอำนาจ เป็นหลักฐานว่าได้รับมอบจากคนพิการ (พยานต้องลงนามครบถ้วน)
  • กรณีคนพิการเป็นผู้เยาว์ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือคนไร้ความสามารถ หรือมีความพิการมากไม่สามารถดำเนินการเองได้ ผู้้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล หรือผู้ดูแล ดำเนินการแทนได้

*บัตรประจำตัวคนพิการมีอายุเพียง 8 ปี นับจากวันออกบัตร

ต้องขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการด้วยนะคะ

--

--