Postman : มารู้จักกับ postman กันเถอะ

Rusfirdao
Lotus’s IT
Published in
4 min readJan 31, 2024

สวัสดีค่ะ ในบทความนี้ เราจะพามาทำความรู้จักกับ Postman ในส่วนของ Postman คืออะไร ใช้ทำอะไร การติดตั้ง การใช้งาน Postman เบื้องต้นไปจนถึงการทำ Document

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ Postman กันก่อนเลย

Postman คืออะไร ?

Postman คือเครื่องมือที่ใช้สำหรับพัฒนาและทดสอบ API (Application Programming Interfaces) เช่น การส่ง Parameter ไปใน header หรือ body เพื่อให้เราทดสอบว่าระบบสามารถตอบกลับมาได้ถูกต้องหรือไม่ ซึ่งตัว Postman สามารถสร้างและแบ่งปัน request และ collection API กับผู้อื่นได้อย่างสะดวก สามารถ สร้าง API mock และตรวจสอบประสิทธิภาพได้

นอกจากนี้ Postman ยังมีเครื่องมือในการสร้างเอกสาร API ช่วยให้การทำงานร่วมกันภายในทีม ทำได้อย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ภาพจาก Postman

Postman ใช้ทำอะไร ?

Postman เป็นโปรแกรมแอปพลิเคชันที่ช่วยให้นักพัฒนาอย่างเราๆ สามารถทำให้การทดสอบ API เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น เพราะตัว Postman มี UI ที่ใช้งานง่าย สำหรับการส่ง request ดู response ที่ตอบกลับมา และยังสามารถ (debug) ปัญหา สร้าง Mocking API และยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ตัว Postman เองยังสามารถ บันทึกทำเป็น เอกสาร Document API เพื่อใช้แบ่งปันข้อมูลให้กับผู้อื่นได้

เห็นไหมล่ะคะว่าครบจบบน postman

โอเคหลังจากอธิบายเกี่ยวกับตัว postman มาพอประมาณแล้ว ถัดมาเรามาลองใช้ postman กันดีกว่า

ติดตั้ง Postman (Postman downloads)

ภาพตัวอย่างจากโปรแกรม POSTMAN

ความสามารถของ Postman

  • สามารถส่ง Http request ไปยัง server ต่างๆ โดยการใช้ method get, post, put, delete ตามที่เราต้องการ
  • จัดการกับ Environment
  • สร้าง Mocking API
  • การสร้าง Collection & Share

การสร้าง Postman collection

  1. กดปุ่ม “New”
  2. เลือก “ Collection”

ในขั้นตอนนี้การนี้ที่เรามี postman collection อยู่แล้ว หรือต้องการเอา collection ที่คนในทีมแชร์มา มาใช้งานก็สามารถทำได้โดย กดปุ่ม Import > วาง URL ที่ได้มาลงในช่อง “Paste cURL Raw text or URL…” และกด Enter ได้เลย

3. ตั้งชื่อ Postman collection ของเรา

4.เราจะได้ collection ของเรามาดังนี้

เมื่อได้ Collection แล้ว จากนั้นเราจะมาทำการสร้าง requests สำหรับทดสอบกัน

5. คลิกขวาที่ collection postman ของเรา เลือก “Add request”

6. ตั้งชื่อ request ของเราได้เลย

7.กำหนด URL ที่เราต้องการทดสอบ และ Http request method ซึ่งในที่นี้เราจะลองเป็น method GET กัน

8. จากนั้นกดปุ่ม “save”

9.กดปุ่ม “Send” ได้เลย

ท๊าดาาาา……เราก็จะได้ Response ออกมาหน้าตาประมานนี้ ขึ้นอยู่กับ data ของเราถัดมา เรามาดูกันว่ามันมีอะไรตอบกลับมาบ้าง

สิ่งแรกที่เราต้องสังเกตก่อนเลยก็คือ Http Status ว่าเท่ากับ 200 หรือเปล่า กระซิบว่า (Status = 200 ก็คือ success อ่านะ สงสัยอะไรสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ Http Status) ถัดมาเราก็จะมาดูในส่วนของ Response ที่อยู่ใน Body ว่ามัน Response กลับมาจาก Server ถูกต้องตามที่เราต้องการไหม นั่นเอง

ซึ่งในส่วนของ method Post, Put, Patch, Delect ก็ทำแบบเดียวกัน

ถัดมาเรามาดูในส่วนของการส่ง parameter กันต่อ

10.โดยเราจะมาเลือกใน tap “Params”

11.จากนั้นระบุ parameter ที่เราต้องการใช้ในการ ส่ง request เช่น

สังเกตไหมตัว param ที่เราใส่ไปจะไปต่อหลัง API ของเรา

12.จากนั้นกด “Save” และ “Send” ได้เลย

โดย response ที่ได้มาก็จะเป็น id ที่เราระบุไปนั่นเอง

ซึ่งนอกจาก การส่ง params แล้ว เรายังสามารถระบุ “Header” และ “Body” ได้อีกด้วย

ถัดมาเป็นในส่วนของการทำ Document

มาทำ Document API ด้วย postman กัน

  1. คลิกขวาที่ postman collection ของเรา เลือกหัวข้อ “View documentation”

มันจะแสดงหน้าตาประมาณนี้ซึ่งเราสามารถใส่ description เพื่ออธิบาย collection ของเราได้

2.โดย เราสามารถเลือกดู document ของเราได้โดยเลือก “View Collection” หรือในกรณีที่เราอยากส่ง ให้ผู้อื่นสามารถดูได้ด้วย ก็สามารถทำได้โดยการกดปุ่ม “Publish”

ก็จะมีหน้าต่าง pop up ขึ้นมาให้เรา setting ว่าจะ publish collection ของเรา โดยสามารถเลือกได้ว่า เราจะ publish ด้วยเลข Version, Environment, URL อะไร

ถัดมา Appearance คือหน้าตาของ document เรา โดยเราสามารถเลือกได้ว่าจะให้แสดง layout แบบไหน sigle colum sinv double colum > เลือกสี logo ที่จะให้แสดง > เลือก Colors

และเมื่อเราระบุทุกอย่างที่เราต้องการครบถ้วนแล้ว

3. กดปุ่ม “Publish”

เย้… ทีนี้เราก็จะได้ตัว document postman ของเรามาแล้ว

โดยเราสามารถ copy ตัว link ที่ได้มานี้ส่งต่อให้กับผู้อื่นเพื่อดู postman collection ของเราได้ โดยเมื่อเราแก้ไข collection ของเรา และกด Save ย้ำนะคะว่าต้องกด Save ด้วย ผู้ที่มี link ก็จะสามารถดู collection ได้แบบ real time โดยที่เราไม่จำเป็นต้อง publish ใหม่แล้ว

ส่งท้าย

วันนี้เราก็ได้ทำความรู้จักกับ Postman กันไปคืออะไร ใช้ทำอะไร การติดตั้ง การใช้งาน Postman เบื้องต้น ไปจนถึงการทำ Document สุดท้ายนี้ ถ้าคุณผู้อ่าน อ่านมาถึงจุดนี้ซึ่งเป็นส่วนสุดท้ายของบทความนี้ ผู้เขียนดีใจอย่างสุดซึ่งที่คุณอ่านมันจนจบ และอยากจะบอกว่าถึงแม้ว่าบทความนี้อาจไม่ได้ดีไปกว่าบทความอื่นที่เขียนเกี่ยวกับ Postman แต่ตัวผู้เขียนเองก็หวังว่าทุกคนที่ได้หลงเข้ามาอ่านบทความนี้แล้วจะได้รับความรู้ เกี่ยวกับการใช้งาน Postman มากขึ้น

หากมีข้อผิดพลาดประการใด ผู้เขียนต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย แล้วเจอกันใหม่ บทความหน้า ขอบคุณค้าาาา

--

--