RICE Scoring Model — จัดลำดับความสำคัญด้วย RICE Framework
การจัดลำดับความสำคัญ เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในงานที่ challenge และต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ ซึ่งก็แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ทีม หรือ องค์กร
ระหว่างที่กำลังค้นหาวิธีการที่ช่วยในการจัดลำดับความสำคัญก็ไปสะดุดกับ RICE Scoring Model เข้า เห็นว่าน่าสนใจดี และบริษัท GitLab เค้าก็ใช้วิธีนี้ในการช่วยจัดลำดับความสำคัญด้วย เลยอยากเอามาเขียนเก็บไว้แบ่งปันดูครับ
RICE Scoring Model คืออะไร
RICE เป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยในเรื่อง การจัดลำดับความสำคัญ โดยคำนึงถึง 4 ปัจจัย คือ
Reach— มีกี่คนที่จะเข้าถึงสิ่งที่เราทำ กี่คนที่จะเห็น feature นี้ ในกรอบเวลาที่กำหนด เช่น 1 เดือนที่ผ่านมา มี 3 แสนคนเข้ามาถึงหน้านี้
Impact — ผลกระทบที่ feature นี้จะสร้างได้ ขึ้นอยู่กับงานของเรา เช่น จะมีกี่คนที่จะซื้อสินค้า ถ้าเค้าเห็น feature นี้
- 3: ส่งผลกระทบใหญ่หลวง
- 2: ส่งผลกระทบมาก
- 1: ส่งผลกระทบปานกลาง
- 0.5: ส่งผลกระทบน้อย
- 0.25: ส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อย
Confidence — เรามีความมั่นใจแค่ไหนว่ามันจะสร้าง impact ได้ดีขนาดนั้น มีข้อมูลอะไรมาสนับสนุนบ้างไหม
- 100%: มั่นใจมาก
- 80%: มั่นใจปานกลาง
- 50%: ไม่ค่อยมั่นใจ
Effort — ต้องใช้คนกี่คน ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ในการสร้าง feature นี้ เช่น ต้องใช้ 3 คนต่อเดือน หน่วยที่ใช้อาจจะขึ้นอยู่กับบริบท
ตัวอย่าง
ข้อดี/ข้อเสีย
ข้อดี
- Product team ต้องสร้างตัววัดแบบ SMART (specific, measurable, attainable, relevant, and time-bound)
- ช่วยลด bias ในการจัดลำดับความสำคัญ โดยเพิ่ม Confidence มาเป็นปัจจัยในการคำนวน ทำให้เวลาเราแสดงความคิดเห็นการเป็นการคุยกันว่า เรามันใจได้ยังไงว่ามันจะ impact มาก
ข้อเสีย
- RICE ไม่คำนึงถึง dependency, ทำให้บางครั้ง feature ที่มี RICE score สูง ก็อาจจะถูกลดความสำคัญได้
- การประมาณไม่มีทางแม่นยำได้ 100%, RICE เป็นแค่วิธีการที่จะช่วยให้เราประเมินความสำคัญจากความมั่นใจของทีมเป็นหลัก