รวมคำสั่งตรวจสอบระบบเครือข่ายเบื้องต้น (Network Troubleshooting Commands)

เน็ตเป็นอะไรอ่ะ! ทำไมเล่นเน็ตไม่ได้! ฯลฯ เป็นคำถามที่หลายคนคงเคยโดนถามหรือเป็นผู้ถามซะเอง วันนี้ NocTeam จึงรวมคำสั่งตรวจสอบเบื้องต้นมาให้อ่านกันครับ

NOC Team
Make it easy
2 min readJun 21, 2020

--

แล้วทำไมเราถึงควรมีความรู้เบื้องต้นในการตรวจสอบปัญหาเครือข่ายกัน แน่นอนว่าถ้าคุณเป็นคนทำงานในตำแหน่งไอทีคุณจำเป็นต้องรู้โดยหน้าที่อยู่แล้ว แต่สำหรับคนที่ปฏิบัติงานในหน้าที่อื่นๆ หากคุณมีความรู้ด้านนี้ติดตัวอยู่บ้าง ก็จะสามารถช่วยให้การแก้ไขปัญหานั้นเร็วขึ้น เพราะคุณเองสามารถให้ข้อมูลที่ตรงกับปัญหาได้มากขึ้น หรือบางปัญหาอาจจะง่ายพอให้เราทำเองโดยไม่ต้องรอ แผนกไอทีที่อาจจะติดงานอื่นอยู่

ชุดคำสั่งต่างๆ ที่ NocTeam นำมาเล่าสู่กันฟังวันนี้เป็นชุดคำสั่งง่ายๆ ทำได้ในตัววินโดวส์เองทุกเวอร์ชั่น และไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมอะไรเพิ่ม หน้าต่างสำหรับพิพม์ชุดคำสั่งขึ้ก็เรียกใช้ง่าย เพียงกดปุ่มสัญลักษณ์ “Windows” พร้อมกับปุ่มตัวอักษร “R” บนคีย์บอร์ด แล้วพิมพ์คำว่า cmd ก็จะมีหน้าจอดำๆ ขึ้นมาให้เราพิมพ์คำสั่ง พร้อมแล้วเริ่มดูคำสั่งกันตามลำดับเลยครับผม

1. คำสั่ง ipconfig เป็นคำสั่งที่ใช้เพื่อตรวจสอบหมายเลข IP Address ของเครื่องที่เราใช้งานอยู่ ในกรณีปกติจะแสดงหมายเลข 4 ชุด คั่นด้วยเครื่องหมาย . (จุด)
จุดสังเกตเบื้องต้น กรณีใช้งานไม่ได้คือจะไม่ได้รับหมายเลข IP หรือได้รับเป็นหมายเลข 169.254.x.x ก็จะใช้งาน Internet ไม่ได้ครับ

เวลาแจ้งปัญหาให้ช่างไอที เราก็แจ้งเบื้องต้นได้ว่า คอมของเราเล่นเน็ตไม่ได้ และได้ไอพีดังนี้ ก็จะเป็นการช่วยลดขั้นตอนการตรวจสอบไปขั้นหนึ่ง

ipconfig command

2. คำสั่ง arp –a เป็นคำสั่งใช้ตรวจสอบประวัติว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรามีการติดต่อหรือเชื่อมต่อกับเครื่องหมายเลข IP อะไรบ้าง มีหมายเลข MAC Address อะไรบ้าง

ข้อมูลที่เราได้จากคำสั่งนี้เป็นประโยชน์สำหรับทีมทำงานที่ต้องการรู้ว่าเครื่องที่เรากำลังตรวจสอบปัญหานี้ได้เคยเชื่อมต่อกับไอพีอะไรบ้าง มีไอพีแปลกปลอมที่ไม่ควรเชื่อมต่อกันหรือไม่

arp-a command

3. คำสั่ง ping เป็นคำสั่งตรวจสอบการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องเรากับเครื่องปลายทาง โดยปกติช่างไอที จะทำกระบวนการนี้เพื่อเช็คว่า เครื่องที่มีปัญหานั้นมันต่อกับปลายทางที่ได้รับการแจ้งว่าใช้งานไม่ได้หรือไม่ เช่นเข้าเว็บบางเว็บไม่ได้หรือ ปรินท์ผ่านเครือข่ายไม่ได้

แต่สำหรับคนทั่วไปเราก็เช็คเองง่ายๆ เช่น ปิงเลขไอพีอะไรสักเลขที่อยู่บน อินเตอร์เน็ต เพื่อลองว่าเน็ตเราใช้ได้มั้ย เช่น 8.8.8.8 ซึ่งเป็นหนึ่งในไอพีของ google ก็จะพอทำให้ทราบได้บ้างว่า เราออกเน็ตได้หรือไม่

จุดสังเกตถ้าการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องเราและปลายทางไม่มีปัญหาจะขึ้นข้อความประมาณนี้ครับ

หากขึ้นเป็นแบบอื่นให้สงสัยไว้ก่อนว่าต่อไม่ได้ครับ แล้วเราก็แจ้งปัญหาให้ช่างไอทีดูแลต่อไปครับ

ping command

4. คำสั่ง netstat เป็นคำสั่งตรวจสอบการเชื่อมว่าเครื่องของเรามีการเชื่อมต่อกับหมายเลข IP address อะไรบ้าง และมีการเปิด Port สื่อสารอะไรบ้าง

คำสั่งนี้ใช้เช็คว่าเครื่องที่เรากำลังตรวจสอบนั้นมีการเปิดพอร์ตอะไรเอาไว้บ้าง เพราะบางทีเครื่องเราอาจจะมีการเปิดพอร์ตไว้มากมายโดยไม่รู้ตัว ส่วนนึงมาจากการติดตั้งซอฟท์แวร์ต่างๆ ซึ่งถ้าเรารู้อยู่แล้วว่าเราเป็นคนเปิดเองก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าเราสัยว่ามันเป็นพอร์ตอะไรกัน เราดูได้ ที่นี่ ครับ

netstat command

5. คำสั่ง nslookup เป็นคำสั่งสำหรับตรวจสอบหมายเลข IP Address ของโดเมนเนม หรือ เว็บไซต์ ว่ามีหมายเลข IP Address อะไร และยังตรวจสอบ ระบบโดเมนเนม ของเราว่ายังสามารถใช้งานได้อย่างปกติอยู่หรือไม่ โดยปกติเมื่อเรารันคำสั่งแล้วเราจะได้หมายเลข IP Address ของโดเมนที่เราต้องการตรวจสอบ

คำสั่งนี้เป็นประโยชน์ในสถานการณ์ที่เราอาจจะลอง ping แล้วได้ผลว่าเชื่อมต่อได้แต่ยังไม่สามารถเข้าเว็บได้อยู่ดี เราก็จะใช้คำสั่งนี้เพื่อตรวจซ้ำ เพราะบางครั้งเน็ตอาจจะต่อไปเครื่องของเว็บนั้นได้ แต่มีปัญหาเกี่ยวกับตัว DNS ซึ่งมีหน้าที่ในการแปลงค่าเลขไอพีให้กลายเป็นชื่อเว็บแบบตัวหนังสือที่เราพิมพ์กันตามปกติครับ ซึ่งข้อมูลตรงนี้ก็จะช่วยให้ฝ่ายไอทีวิเคราะห์ปัญหาไปตรงจุดมากขึ้น

nslookup command

6. คำสั่ง tracert เป็นคำสั่งสำหรับตรวจสอบเส้นทางการสื่อสารของเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรากับเครื่องปลายทาง ว่าเพ็คเก็ตข้อมูลมีการเดินทางผ่านอุปกรณ์ใดบ้าง โดยหากมีการสื่อสารปกติ เพ็คเก็ตข้อมูลจะสามารถวิ่งไปจนถึงปลายทาง แต่เมื่อใดที่ เพ็คเกต ไปไม่ถึงปลายทาง แสดงว่าเราไม่สามารถติดต่อกับเครื่องปลายทางได้ โดยเราสามารถดูได้ว่าแพคเก็ตข้อมูลเราหายตรงอุปกรณ์ตัวใด ซึ่งเราสามารถบอกรายละเอียดนี้กับฝ่าย IT ให้ทำการตรวจสอบได้

คำสั่งนี้จะช่วยให้เราได้ทราบเส้นทางการเดินทางจากเครื่องเราไปหาเว็บหรืออุปกรณ์ปลายทางอย่างเครื่องปรินท์ว่าเราต้องผ่านอุปกรณ์อะไรบ้าง เช่นถ้าเราใช้ wifi ข้อมูลที่ได้ก็จะทำให้เรารู้ว่าเครื่องเรานั้นกว่าจะออกไปเน็ต ต้องผ่านตัวปล่อยสัญญาณ wifi ผ่านไปเราท์เตอร์ หรืออื่นๆ แล้วแต่ที่ๆ เราใช้งาน ซึ่งข้อมูลที่ได้จากตรงนี้จะช่วยให้ทีมงานที่ต้องแก้ปัญหาทำงานได้เร็วขึ้นเพราะจะทราบได้ว่า ปัญหานั้นไปเกิดที่อุปกรณ์ชิ้นไหนไอพีอะไรนั่นเองครับ

tracert command

ขอบคุณทุกท่านที่ติดตาม NocTeam สาระดีๆ ที่ทำให้เรื่องไอทีเป็นเรื่องง่ายขึ้น
และไม่พลาดสาระดีๆ จากเราด้วยการติดตามพวกเราได้ที่ FB@nocteam

--

--