การตรวจสอบสุขภาพพืชด้วยคำนวณหาค่าดัชนีพืชพรรณจากข้อมูลภาพโดรนด้วยโปรแกรม QGIS (Part 2)

Chingchai Hoomhong
MAPEDIA BLOG
Published in
3 min readSep 4, 2023

หลังจากที่เราได้ที่การคำนวณค่าดัชนีพืชพรรณที่โดยใช้ VARI ในโปแกรม QGIS กันเรียบร้อยแล้ว หลังจากนี้เรามาลองทำกันต่ออีกสักหน่อย โดยผมต้องการที่จะแยกกลุ่มตามค่าช่วงของ VARI ที่เราคำนวณได้ แบ่งออกเป็น 5 ค่า โดยใช้วิธีการ Reclassify นั้นเองครับ พร้อมกับคำนวณเนื้อที่ให้ด้วยเลยว่าแต่ละ Class นั้นจะมีพื้นที่ประมาณเท่าไหร่ เรามาเริ่มกันเลยครับ 👇

1) หลังจากที่เราทำการคำนวณค่าดัชนีพืชพรรณที่โดยใช้ VARI ได้แล้ว ดังภาพด้านล่าง ซึ่งขั้นตอนและวิธีการที่ใช้ในสามารถเข้าไปดูได้ที่ คลิกเลย

2) จากนั้นเราจะสร้างข้อมูล Shapefile แบบ Polygon เพื่อใช้ในการตัดเลือกเอาเฉพาะพื้นที่ที่เราต้องการ

3) ทำการตั้งชื่อไฟล์เป็น boundary และกำหนด Geometry type เป็น Polygon และคลิก OK

4) ผลที่ได้หลังจากการสร้าง พื้นที่ที่เราต้องการจะตัดข้อมูลภาพ

ปรับให้เห็นเส้นขอบ และปรับให้สีพื้นโปร่งใส ดังภาพด้านล่าง

5) จากนั้นเริ่มทำการตัดข้อมูลภาพโดยไปที่เมนู Raster > Extraction > Clip Raster by Mask Layer…

จากนั้นให้เราทำการกำหนดดังภาพด้านล่าง

6) ผลที่ได้จากการตัดข้อมูลภาพเรียบร้อยแล้ว จะเห็นได้ว่าข้อมูลจะแสดงเฉพาะในส่วนของพื้นที่ที่เราต้องการเท่านั้น

7) จากนั้นจะทำการ Reclassify by tableโดยไปที่เมนู Processing > Toolbox

8) หลังจากนั้นเราจะกำหนดค่าในการ Reclassify by table ดังภาพ แต่โดยหลักๆ แล้วผมจะเข้าไปตั้งค่าในส่วนของ Reclassification table

ในส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ผมเข้าไปตั้งค่า Reclassification table โดยผมกำหนดประมาณนี้ครับ

≤1.10 ให้มีค่าเท่ากับ 0

1.10–1.20 ให้มีค่าเท่ากับ 1

> 1.20 ให้มีค่าเท่ากับ 2

9) ผลลัพธ์ที่ได้จากการ Reclassify by table ดังภาพ

10) ผมจะขอทำการตัดภาพให้อยู่ในขอบเขตพื้นที่อีกครั้ง

11) ผลที่ได้จากการตัดขอบเขตพื้นที่

12) จากนั้นผมลองปรับแต่งโดยการคลิกขวาที่ชั้นข้อมูล และเลือก Properties จากนั้นไปที่แถบเมนู Symbology โดยกำหนด Render type เป็น Palated/Unique alues แล้วคลิกปุ่ม Classify จะได้ดังภาพด้านล่าง

13) ในส่วนของการคำนวณเนื้อที่ว่าแต่ละ Class นั้นจะมีพื้นที่เท่าไหร่ โดยให้เราคลิกที่เมนู Processing > Toolbox > Raster analysis และเลือก Raster layer unique values report

จากนั้นทำการเลือกไฟล์ที่ต้องการ และเลือกที่เก็บผลลัพธ์ และคลิกปุ่ม Run

14) เมื่อวิเคราะห์เสร็จ จะมี Result ให้เราคลิกที่ด้านล่างขวา ดังภาพ

ผลลัพธ์ที่ได้จะอยู่ในรูปแบบ HTML ดังภาพ จะเห็นว่ามีรายละเอียดและการคำนวณให้พร้อมเลยครับบบ

--

--