ผู้สมัครงานควรเตรียมตัวอย่างไร? ในยุค Skill Based Hiring

Mark Pachara
MFEC
Published in
2 min readApr 3, 2024

สวัสดีอีกครั้งนะครับทุกคน (ครั้งที่เท่าไรแล้วน้า) เมื่อ 2 ครั้งก่อนเราคุยกันถึงเรื่องแนวคิด Skill Based Hiring และแนวทางในการวัด+ประเมินผู้สมัครงาน ซึ่งเราผู้ในฐานะของผู้ประกอบการไปส่วนใหญ่ แต่ในครั้งนี้ครับเราจะเล่าและให้คำแนะนำถึงการที่คุณเป็นคนทำงาน จะทำอย่างไรหากหลาย ๆ องค์กรใช้วิธีการสรรหาแบบ Skill Based Hiring ซึ่งผมจะแบ่งส่วนที่จะเล่าออกเป็น 1.การเขียน Resume/CV 2.การตอบคำถามในการสัมภาษณ์ 3.การพัฒนาทักษะความรู้

ในปี 2024 นี้แนวคิดการจ้างงานแบบ Skill Based Hiring นั้นเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทีนี้ในฐานะผู้สมัครงาน เราจะเตรียมตัวอย่างไรดีหละกับสิ่งที่เกิดขึ้น โดยกุญแจสำคัญแล้วเราจะต้องคำนึงว่า “ผู้สัมภาษณ์อยากจะทราบอะไรเกี่ยวกับเรา แล้วเรานำเสนอในสิ่งนั้นโดยมาจากความจริง” ฉะนั้นเรามาดูกันดีกว่าว่าในแต่ละสิ่งที่ต้องเตรียมผมมีคำแนะนำอย่างไร

1.การเขียน Resume | ในด้านของการเขียน Resume/CV นั้นเราควรจะต้องระบุถึงทักษะการทำงานของเราผ่านงานหรือโปรเจกต์ที่เราทำว่าเราทำอะไรที่สำเร็จไปแล้วบ้าง แล้วสิ่งที่เราทำมัน Impact อย่างไรโดยใช้คำกริยาในรูปแบบของ Action Verb ซึ่งทุกคนสามารถหาคำเหล่านี้ได้ทั่วไป

Example of Action Verb

เวลาที่เราใช้คำเหล่านี้จะมีพลังของคำพูดและประโยคที่สูงกว่าคำอื่น ๆ ซึ่งสามารถประยุกต์ ใช้ในการขึ้นต้นประโยคในการเล่าประสบการณ์ทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น เช่น Spearheaded the project to contribute new tech innovation for customers. ซึ่งหมายถึง “เราเป็นหัวหอกของโปรเจกต์ในการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อลูกค้า” ผู้อ่าน Resume/CV จะเข้าใจในทันทีว่าผู้สมัครเป็นผู้บุกเบิกนวัตกรรมใหม่ ๆ และสามารถนำพาโปรเจกต์ไปสู่ความสำเร็จได้

2.การตอบคำถามในการสัมภาษณ์ | ในครั้งที่แล้วเราพูดถึงคำถามในการสัมภาษณ์กันไป ซึ่งผู้สัมภาษณ์จะมุ่งเน้นถามในประเด็นของสิ่งที่เราทำได้ เช่น “คุณเคยทำงานอะไรมาบ้าง” “สิ่งที่คุณทำคุณได้ใช้ทักษะของคุณในด้านไหนบ้าง” วิธีการตอบคำถามนั้นไม่ตายตัวขึ้นอยู่กับสิ่งที่คุณทำมา แต่ก็ควรจะเป็นแนวทางที่เราได้ตกตะกอนจากการทำงานว่าเราได้ทำอะไรแล้วงานตัวนั้นเราได้ใช้ความรู้ ความสามารถหรือทักษะไหนในการทำงานให้ส่วนนั้นมันสำเร็จและเล่าในส่วนที่ว่าโปรเจกต์นั้นมันส่งผลกระทบอย่างไรทั้งแง่ขององค์กร ลูกค้า กำไร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ

เราจะต้องทำให้ผู้สัมภาษณ์เห็นถึงทักษะในการทำงานของเราที่เป็นเชิง Concept (ทฤษฎีแนวทาง) และ Action (ปฏิบัติ) ควบคู่กันไปไม่ขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งการตอบคำตอบที่ดีจะต้องตอบคำถามอยู่บนความจริง สามารถเติมมูลค่าของงานผ่านการเล่าได้ในระดับที่เหมาะสม แต่ไม่ควรพูดความเท็จเพื่อสร้างความเข้าใจผิดหรือหากได้เข้าไปทำงานแต่เราทำไม่ได้ตามที่องค์กรคาดหวัง ในอนาคตก็ไม่สามารถปฏิบัติงานได้อยู่ดีเป็นการเสียเวลาของทั้งองค์กรและผู้สมัครเองด้วย

3.การพัฒนาทักษะความรู้ | ในมุมของการพัฒนาทักษะความรู้ ผู้สมัครงานควรมุ่งเน้นการศึกษาหาความรู้แบบที่เน้นให้เกิดทักษะทำให้เป็น เช่น ตำแหน่งงาน Developer ซึ่งผู้สมัครสามารถไปลงคอร์สเรียนในการ Coding ได้โดยตรง เช่น Coursera, Udemy, Future Skill หรือในไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็จะมีหลักสูตร Camp ต่าง ๆ ที่จะเป็นการปั้นน้อง ๆ ไม่ตรงสายมาเป็น Developer โดยตรงผ่านหลักสูตรที่ทางผู้จัดโปรแกรมสร้างขึ้นมา เช่น Generation Thailand, Software Park Coding Camp และ Tech Up ต่าง ๆ และยังมีโปรแกรมหลักสูตรในสายอาชีพอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อจะได้ตอบโจทย์หลาย ๆ องค์กรที่ต้องการคนที่ทำงานได้เป็น มีทักษะพร้อมใช้งาน

Software Park Coding Camp (Thai Programmer Association)

สุดท้ายนี้อยากให้ทุกคนเตรียมเพื่อที่จะได้มีความพร้อมในการสมัครงานกันมากขึ้นนะครับ ผมเชื่อว่าทุก ๆ คนมีของดีอยู่ในตัวเองทุกคน ขอให้ทุกคนเชื่อมั่นในความสามารถของตัวเอง มีความมั่นใจในตัวเอง หมั่นถามตัวเองบ่อย ๆ ครับว่าเราเก่งอะไร ถนัดอะไร ทำอะไรได้ดี หรือฟังจากคนรอบข้างของเราก็ได้ มันจะเป็นตัวการันตีทักษะของเราได้ครับ ขอให้ทุกคนได้งานตามที่อยากทำครับ 

--

--