เครื่องมือและคำถามในการสรรหา/คัดเลือกบนแนวคิด Skill Based Hiring

Mark Pachara
MFEC
Published in
Mar 28, 2024

สวัสดีเพื่อน ๆ อีกครั้งนะครับ เป็นยังไงกันบ้างครับ เพื่อน ๆ น่าจะพอเข้าใจในระดับนึงแล้วว่า Skill Based Hiring นั้นคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรบ้าง สำหรับในพาร์ทนี้ครับ เราจะมาทำให้ทุกคนเข้าใจมากยิ่งขึ้นกับแนวคิด SBH ว่าเราสามารถเอามันไปใช้ทำอะไรได้ มันจะประยุกต์มาเป็นเครื่องมือที่ดีในการสรรหาบุคลากรได้อย่างไรกันครับ

เมื่อครั้งที่แล้วเราพูดกันในมุมว่า SBH คือการจ้างคน/คัดเลือกคนแบบมองที่ทักษะของเขาหรือสิ่งที่เขาสามารถส่งมอบให้กับเราได้ฉะนั้นเครื่องมือที่สอดคล้องกับ SBH มันจะต้องเป็นเครื่องมือที่ประเมินถึงสิ่งที่ผู้สมัครงานสามารถส่งมอบผลลัพธ์อะไรบางอย่างที่เราคาดหวังในตัวเขาได้ โดยมาจากทักษะที่เขามี เครื่องมือนั้นควรจะมีองค์ประกอบอะไรบ้างเรามาดูกัน

  1. Role ตำแหน่งงานที่เรากำลังประเมิน

2. Mission ภารกิจหรือสิ่งที่ตำแหน่งนี้จะส่งมอบให้กับองค์กรโดยสังเขป

3. Outcome คือสิ่งที่เราคาดหวังจากผู้สมัครในตำแหน่งนี้ เช่นตำแหน่งในตัวอย่างเป็น Talent Acquisition Partner หรือเจ้าหน้าที่สรรหา ซึ่งในตำแหน่งนี้ทาง Employer คาดหวัง 3 สิ่งด้วยกันทั้งสิ้น
1) การสรรหาคนได้กี่คน
2) สามารถดูแลงาน Activity ต่างๆ ได้มากน้อยแค่ไหน และเป็นอย่างไร
3) ความรวดเร็วและความแม่นยำในการสรรหาบุคลากร ความพึงใจพอใจของคนร่วมทำงานด้วย

4. Compentency ทักษะหรือความสามารถของตำแหน่งงานนี้เช่นตำแหน่งนี้ควรจะมีทักษะอะไรบ้าง แล้วก็สามารถเขียนความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ทักษะของเขาได้ว่าเป็นอย่างไร

Questionaire on SBH

ในส่วนของคำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์นั้นจะเป็นคำถามที่มุ่งเน้นเจาะจงไปที่ทักษะของผู้สมัคร เช่น

  • คุณเคยทำอะไรที่เกี่ยวข้องกับงานนี้บ้าง สิ่งที่คุณทำคุณใช้ความรู้ ความเข้าใจ หรือทักษะใด
  • คุณสามารถส่งมอบผลลัพธ์ให้กับบริษัทในเรื่องอะไรบ้าง
  • หากคุณต้องวิเคราะห์ตัวเอง จุดแข็งและจุดอ่อนของคุณคืออะไรบ้าง ยกตัวอย่าง อย่างละ 3 ข้อ
  • คุณมีวิธีการจัดการกับปัญหา…(ปัญหาที่เจอในแต่ละตำแหน่งงาน)…อย่างไรบ้าง

เป็นอย่างไรกันบ้างครับหลังจากที่ได้ดูตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้แนวคิดของ SBH มาประยุกต์ให้การจ้างงานเป็นรูปแบบที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นทั้งผู้ว่าจ้างและผู้สมัคร ไม่ใช่แค่ในทางผู้ว่างจ้างนั้นคาดหวังอะไรในตัวผู้สมัคร ในทางกลับกันผู้สมัครก็เข้าใจสิ่งที่ผู้ว่าจ้างคาดหวังในตำแหน่งนี้ อีกทั้งยังเป็นการสร้างมาตรฐานเดียวกันในการสัมภาษณ์ว่าตำแหน่งที่ทางผู้ว่าจ้างกำลังคัดเลือกอยู่นั้น ไม่ว่าผู้สัมภาษณ์จะเป็นใครก็จะใช้หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเหมือนกัน ลดความคลาดเคลื่อนหรืออคติในขั้นตอนของการคัดเลือก

ซึ่งจริงๆ แล้วเรายังมีขั้นตอนในการคัดเลือกอื่นๆ เช่น การ Pre-Screen กับทางทีมสรรหา, การสัมภาษณ์กับ Hiring Manager, การทำแบบทดสอบวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (General Test) และแบบทดสอบเฉพาะตำแหน่ง (Specific Test) ซึ่งทั้งกระบวนการข้างต้นทำให้เรามั่นใจได้ว่าคนที่เราคัดเข้ามานั้นเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับเราแล้วจริงๆ

หลังจากที่ทุกคนอ่านมาถึงตรงนี้คงพอเห็นตัวอย่างของการใช้งานเครื่องมือด้านการสรรหามากขึ้นในอีกระดับหนึ่งในส่วนของพาร์ทต่อไปเราจะมาพูดถึงเรื่องการสรรหาในปี 2024 ,ปรัชญาด้านการสรรหาในอุดมคติเพิ่มเติมและทิศทางการสรรหาในอนาคตครับ รอติดตามครับ

--

--