Skill Based Hiring คืออะไร?

Mark Pachara
MFEC
Published in
2 min readMar 8, 2024

สวัสดีครับ ชาว Medium ที่ผ่านไปผ่านมาทุกคนครับ ทุกคนคิดว่าการสมัครงาน ณ ปัจจุบันเป็นธรรมกับผู้สมัครแค่ไหนครับ? เราจะทราบได้ยังไงครับว่าผู้สัมภาษณ์ใช้อะไรในการตัดสินใจเลือกรับคนคนหนึ่ง มันพอจะมีแนวคิด เกณฑ์หรือเครื่องมืออะไรบางอย่างไหมที่มาทำให้กระบวนการคัดเลือกนั้นมีความชัดเจนมากขึ้น

วันนี้ผมมาร์คหนึ่งในทีมสรรหา จะขอพาทุกคนมารู้จักกับแนวคิดการคัดเลือกที่ผมมองว่ายุติธรรมกับผู้สัมภาษณ์และผู้สมัครงานที่สุด ต้องอัพเดทสถานะตลาดแรงงานในตอนนี้ก่อนครับ ณ ขณะนี้ เนื่องด้วยว่าปัจจุบันหลาย ๆ องค์กรกำลังขาดแคลนแรงงาน (Talent Shortage) ถึง 70% ซึ่งสวนทางกับตัวเลขคนตกงานที่สูงมากขึ้นทุกๆ ปี ซึ่งในหลาย ๆ บริษัท Tech ทั่วโลกเพิ่งผ่านช่วง มหกรรมการลาออก “The Great Resignation” และทำให้เกิดกลุ่มคนที่มีศักยภาพแต่องค์กรมองไม่เห็นเราเรียกคนกลุ่มนี้ว่า Invisible Worker เพราะคนกลุ่มนี้ขาดใบเบิกทางหรือใบปริญญา แนวคิดการ Skill Based Hiring จึงมาตอบโจทย์ปัญหาที่เกิดขึ้น ผมขอเรียกสั้น ๆ ว่า SBH แล้วกันนะครับ SBH เป็นแนวคิดที่มีมาสักระยะแล้วครับโดยเฉพาะช่วงไม่กี่ปีมานี้ แล้ว SBH คืออะไรหล่ะวันนี้ผมจะพาทุกคนมารู้จักแนวคิดสุดเจ๋งนี้กัน

The Great Resignation Graph

SBH หรือชื่อเต็มคือ Skill Based Hiring ถ้าแปลเป็นไทยง่ายๆก็คงชื่อว่า “การจ้างงานแบบพิจารณาจากทักษะเป็นพื้นฐาน” ซึ่งแนวคิดนี้มาจากการที่ยุคนี้มีความเปิดกว้างมากขึ้นทั้งในเรื่องของเพศ ศาสนา รสนิยม สภาพแวดล้อมสังคมในมุมอื่นๆ แต่ในมุมของการทำงานหรือมุมของการศึกษาก็ยังปฏิเสธไม่ได้เต็มปากครับว่าหลาย ๆองค์กรและที่ทำงาน นั้นยังมีมาตรฐานในการรับคนเข้ามาในองค์กรที่ยังไม่ชัดเจน บางที่มีอคติในเรื่องของ ระดับชั้นของการศึกษาและมหาวิทยาลัย สาขาวิชาที่เรียน หรือเหตุการณ์อื่นๆเช่น ตำแหน่ง A คนสัมภาษณ์กันคนละคนทำให้มาตรฐานในการคัดเลือกคนเข้ามาทำงานนั้นไม่ได้มีคุณภาพในแบบที่มันควรจะเป็น ไม่มีความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นหรืออื่น ๆ

SBH จึงเป็นแนวคิดที่เชื่อว่าการคัดเลือกบุคลากรที่ดีเราควรมองในมุมทักษะ ความรู้ ความเข้ากันได้กับองค์กร เน้นพิจารณาสิ่งที่เขาสามารถส่งมอบให้กับองค์กรได้ ฉะนั้นเราจะตัดปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดอคติจากการสัมภาษณ์ออกไป เช่นในเวลาการกรอกใบสมัคร (Application Form) จะต้องไม่ต้องระบุถึงเบื้องหลังการศึกษา สาขาวิชา เกรดเฉลี่ย และมุ่งเน้นในการวัดที่ทักษะของผู้สมัครโดยตรงเช่นการทำแบบทดสอบที่เป็นสิ่งที่ต้องใช้ความรู้และทักษะจากตำแหน่งงานโดยตรงในการทำแบบทดสอบเช่นหากเป็นตำแหน่ง Developer ก็ให้เป็นโจทย์ในการ Coding ไปให้ผู้สมัครทำแล้วมาดูถึงผลลัพธ์ที่เขาทำได้ หรือหากเป็นตำแหน่ง System Analyst เรามุ่งเน้นไปที่ทักษะที่จำเป็นของตำแหน่งนี้ไปเลยเช่นให้โจทย์ในการทำ System Design,Workflow,ทำเอกสาร SRS,Manual User ต่าง ๆ เพื่อจะได้เห็นถึงทักษะของเขาว่าหากเขาเข้ามาทำในตำแหน่งนี้แล้วเขาสามารถทำได้มาน้อยแค่ไหน เหนือสิ่งอื่นใดนอกจากการคัดคนเก่งจากความรู้ ความสามารถ ทักษะของผู้สมัครแล้วองค์กรควรที่จะเพิ่มในส่วนของการคัดเรื่อง Culture ด้วย เพื่อให้ได้ทั้งคน Skill fit และ Culture fit ทั้งสองอย่างนี้ก็ถือว่าเป็น Must to Consider Factor ทั้งคู่ เราไม่สามารถมองข้ามปัจจัยใดปัจจัยนึงไปได้ครับ

ข้อดีของ SBH คือจะลดความไม่เที่ยงตรงในการคัดเลือกบุคลากรเข้าองค์กรให้มีเกณฑ์และมาตรฐานเดียวกัน ไม่ว่าผู้สัมภาษณ์จะเป็นใครจะต้องมีการประเมินที่ใกล้เคียงกัน เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สร้างความโปร่งใสให้กับผู้สมัครว่าไม่ผ่านนี่ไม่ผ่านเพราะอะไร ขาดตกบกพร่องทักษะในส่วนไหนไป จะได้เป็น Feedback แนวทางกลับไปหาผู้สมัครอีกด้วย
ข้อจำกัดของ SBH คือมันอาจจะเป็นแนวคิดที่มองคนมุ่งเน้นไปที่มุมเดียวคือมุมทำงาน ซึ่งคนเราจะมีหลายๆมุมในชีวิตทั้งในแง่ของงานและชีวิต การที่มองแบบ SBH มันอาจจะเป็นการนำไม้บรรทัดอันเดียวไปทาบคนแต่ก็จะแลกได้มาซึ่งความชัดเจนในกระบวนการคัดเลือกแทน ซึ่งก็ถือว่าเป็นข้อจำกัดของแนวคิดนี้ละกันครับ

แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ทุกคนอ่านมาถึงตรงนี้จะมีคำถามต่อกันมากมายกับแนวคิดนี้ แต่ทุกแนวคิดและเครื่องมือย่อมมีข้อดีและข้อจำกัดของมัน แต่เราหากมองประโยชน์ในภาพรวมของแนวคิดนี้น่าจะเป็นการสร้างความเข้าใจต่อทั้งผู้สมัครและผู้สัมภาษณ์ ซึ่งส่งผลดีต่อทุกฝ่ายไม่มากก็น้อยครับ

สุดท้ายนี้อยากให้ทุกคนติดตาม EP ต่อไปกันด้วยนะครับบอกเลยว่าจะได้เห็นถึงตัวอย่างการใช้งานจริง แบบเป็นเครื่องมือจริงที่ใช้ในการสัมภาษณ์รวมถึงคำถามในการสัมภาษณ์บางส่วน รู้คำถามก่อนมีชัยไปกว่าครึ่งนะครับ >.< รู้กันแค่นี้นะครับอย่าไปบอกใคร

--

--