สรุปจากงาน Google I/O Connect Beijing 2024 และ GDE Summit (Thai ver.)

Burasakorn Sabyeying
Mils’ Blog
Published in
7 min readAug 23, 2024

บทความนี้เราจะพามาเที่ยวจีนกันค่ะ เอ้ย! พาไปงาน Google I/O Connect ที่ปักกิ่งกัน พ่วงมา GDE Summit ที่ Google Office Beijing กัน

Google I/O Connect คืออะไร?

Google I/O Connect เป็นซีรี่ส์ที่ต่อเนื่องมาจากงาน Google I/O ค่ะ

แล้ว Google I/O คืออะไร ?

อาจจะคุ้นๆภาพของ Sundar Pichai บนเวที และพ่นคำว่า “AI” เยอะๆ ใช่ค่ะ นั่นแหล่ะเวที Google I/O

คำว่า I/O มีที่มาจากตัวเลข googol คือ “I” มาจาก 1, “O” มาจาก 0
หรืออีกความหมายหนึ่งคือ Input/Output ซึ่งเป็นการทำงานของ computer system ซึ่งสะท้อนว่าอีเวนท์นี้จัดขึ้นมาเพื่อ developer นั่นเองคำว่า I/O มีที่มาจากตัวเลข googol คือ “I” มาจาก 1, “O” มาจาก 0

ตามมาด้วย Google I/O Extended และ Google I/O Connect

ที่ปักกิ่งจะจัด I/O Connect ตลอด 2 วันเต็ม รูปแบบงานจะเป็น Conference มี Talk, Demo booth, Office hour ที่จะมีพนักงาน Google ที่ทำงานกับ product นั้นๆมาตอบคำถามคุณแบบเป็นๆเลยทีเดียว !
โดยงานเปิดให้คนทั่วไปสามารถซื้อบัตรได้ หรือเชิญมิตรรักผู้ชอบเทคโนโลยี เช่น เชิญ Google Developer Experts (GDE) จากทั่ว SEA มา

Google Developer Experts (GDEs) คือกลุ่มนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีความรู้และทักษะเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีของ Google เป็นพิเศษ Google ได้รับรองความสามารถของพวกเขา และมอบตำแหน่ง GDE ให้ เพื่อให้พวกเขาได้เป็นตัวแทนแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ให้กับนักพัฒนาคนอื่นๆ ทั่วโลก

สามารถอ่านย้อนหลังของ ปีที่แล้ว Southeast Asia ไปที่ประเทศอินเดีย เมือง Bengaluru

Google I/O Connect มันคือตามชื่อเลย Connect คนที่ชื่นชอบเทคโนโลยีมาด้วยกัน ได้มารู้จักกันและแบ่งปันความคิดและความรู้กันมากขึ้น

ขอแนะนำตัวแทน GDE ไท่กั๋วเหริน (คนไทย)

GDE ชาวไทยมาจากหลากหลายด้านมากๆ ทั้ง Android, Firebase, Web, Flutter, AI/ML และ Cloud

ส่วนเรานั้นเพิ่งได้เป็น GDE เมื่อเดือนก.พ. ปี 2024 นี้เอง ถือว่าโชคดีมากๆที่ได้มาและเป็นโอกาสที่ดีที่ได้รู้จักและเรียนรู้จากพี่ๆ GDE ด้วย

คนจีนใช้ Google ด้วยเหรอ ?

เราไม่เคยไปจีนเลยสักครั้ง อย่างมากก็แค่ transit ระหว่าง flight

ครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกที่เราได้มาสำรวจประเทศจีนตลอดเกือบสัปดาห์และศึกษาว่าคนจีนเขาใช้ Google Cloud อย่างไร ทำไมมันยิ่งใหญ่ถึงขนาดจัดที่จีนได้กันนะ ?

จะเห็นได้ว่า Data Center ในระแวก Asia จะมี Singapore, Hong Kong, Taiwan, Osaka, Tokyo, Seoul ฯลฯ แต่ไม่มีจีนเลย !

ถูกต้องแล้วค่ะ เนื่องจากข้อกฏหมายของจีน Google Cloud จึงไม่สามารถวาง Data Center ภายในจีนได้

ถึงอย่างนั้นก็ตาม ไม่ได้แปลว่า Developer ในจีนจะใช้ Google Cloud ไม่ได้

ในขาเศรษฐกิจนั้น ขา Market Share ผู้เล่น Cloud provider จะเป็น Alibaba Cloud, Huawei Cloud, Tencent Cloud, และ Baidu AI Cloud (จีนทำ จีนใช้ จีนเจริญ) และตามด้วยสัดส่วนที่น้อยนิดของ AWS China และ Azure China เพียง 10%

ฝั่ง Google Cloud เองก็เป็นผู้เล่นในตลาดที่พยายามผลักดัน แม้ว่าจะติดตั้ง Data Center ในจีนไม่ได้ แต่เหล่า Developer ในจีนและ Google Partner ก็สามารถเลือกใช้ GCP และตอบโจทย์ลูกค้านอกประเทศแทน

cr. https://qpsoftware.net/blog/your-guide-cloud-hosting-china

Highlight จาก talks

Keynote

Google เปลี่ยนสโลแกนเป็น “The new way to cloud” เพื่อสื่อถึง developer ที่เข้าถึงการใช้ AI models และ services ต่างๆเพื่อยกระดับชีวิตและลบล้างการทำงานแบบเดิมๆ

Xiaomi SU 7

ประเทศจีนเป็น 1 ใน Top 3 ประเทศที่ใช้ Flutter

Xiaomi’s SU7 app เป็นการทำงานร่วมกันของ Xiaomi และ Alibaba โดยเป็นแอพของรถ Xiaomi เขียนด้วย Flutter

Accessibility

Google AI เพื่อปรับปรุงชีวิตของผู้ที่มีความทุพพลภาพว่าจะช่วยลดช่องว่างการเข้าถึงนี้ได้อย่างไร มีตัวอย่างจาก 2 โครงการ ได้แก่

  1. Project Gameface ซึ่งใช้ AI เพื่อสร้าง interface ที่เข้าถึงได้มากขึ้น ช่วยให้ผู้คนสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ด้วยศีรษะหรือปากได้
  2. HearO ซึ่งใช้ AI เพื่อพัฒนา product ฟื้นฟูภาษาและการพูดสำหรับผู้มีความบกพร่องทางการได้ยิน

ตามสถิติของ WHO มีเด็กจำนวน 5% ของประชากรทั่วโลกจำนวน 360 ล้านคน มีความบกพร่องการได้ยินในระดับปานกลาง-รุนแรง ซึ่งมีผลต่อการสื่อสารของเด็กๆเองและใช้เวลานานกว่าจะใช้ภาษาได้เท่าเด็กคนอื่นๆ

HearO ช่วยให้เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน สามารถเรียนรู้ภาษามือผ่านเกมโต้ตอบและสัญญาณภาพได้

เบื้องหลังของ HearO ใช้ pre-trained model ใน Tensorflow Hub มาพัฒนาในการ recognize รูปภาพและท่าทาง, word segmentation

ห้อง Stage จะมีทั้ง speaker ที่พูดภาษาอังกฤษและจีน หาก speaker ท่านใดพูดจีนปุ๊บ เราก็หยิบ Audio มาเสียบหูทันที จะมี translator แปลจีนเป็นภาษาอังกฤษให้ ซึ่งใช้คนแปลจริงๆนะ ไม่ได้ใช้ AI

Booths (Demos)

เล่นเกมจนได้รางวัลเป็นตุ๊กตาน้อง Dart (Flutter)

Booths ก็จะมีแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ Cloud, AI, Web, Android

ปีนี้ได้ล่าของรางวัลรัวๆเลย มีที่น่าสนใจคือบูธ Crossword ซึ่งสามารถไปเล่นกันได้นะ

https://crossword.withgoogle.com/game/

Workshops

แม้ว่าการรัน Workshop จะเป็นภาษาจีน แต่โชคดีที่เรามี Cloud Skill Boosts ที่เป็นภาษาอังกฤษ และทำ lab จากที่ไหนบนโลกใบนี้ได้อยู่แล้ว ก็เลยชิลๆ

Feedback Round Table

อีกหนึ่งความพิเศษที่หาจากที่ไหนไม่ได้เลยคือ Feedback Roundtable

จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆที่ทีม Google จากแผนก Product มาคุยกับ GDE เพื่อรับฟัง feedback เกี่ยวกับ product และ technology ที่ GDE ประสบพบเจอ

หากว่าเรามีความเห็นเกี่ยวกับ product ไหนที่อยากปรึกษาหรือให้ความคิดเห็น เราก็สามารถบอกกับทีม Product ได้เลย และก็เป็นอีกช่วงเวลาเดียวกันที่ทีม Product ได้ทำความรู้จักว่า GDE มีวิธีการเรียนรู้เรื่องการใช้งาน Google product ได้อย่างไร เป็นการเข้าใจ developer มากขึ้น

ซึ่ง Feedback Roundtable ก็จะแบ่งเป็นหัวข้อๆไป เช่น Cloud, Android, AI/ML, Firebase และ Web

แต่ละ Product ที่ดูหัวข้อนั้นๆก็จะเข้ามาในห้อง

Office Hours

ในกรณีเราเป็นผู้ร่วมงานทั่วไป เราก็สามารถคุยกับทีม product โดยตรงได้ โดยสามารถเข้า Office Hours ได้เลย เขาจะมีตารางกำหนดว่าทีม product จะเข้ามาเวลาไหน เราก็สามารถจองและเข้าไปคุยได้เลย

Snacks

แน่นอน 1 ในสิ่งที่คาดหวังในงานคือขนม !

GDE Regional Summit

หลังจากจบงานหลัก Google I/O Connect ไป 2 วันเต็ม เราก็เข้าสู่งาน GDE Summit จัดที่ Google Office Beijing

เนื่องจากวันนี้อัดแน่นด้วยเนื้อหามากๆ เลยขอสรุป Highlight ที่ชอบไว้

1. GDE Sharing

เป็น session ที่ตัวแทน GDE มาแชร์ความรู้และเทคนิคที่จำเป็นกับ GDE กันเองเช่น การทำ storytelling และ content creation

Lim Shang Yi ซึ่งเป็น GDE Firebase มาเล่าเรื่องการทำ Storytelling ซึ่งเขาเล่าเก่งมาก !

วิธีที่ Shang Yi เน้นคือเน้น Story ซึ่งเป็นหัวใจหลัก, รู้ระดับของคนฟังว่าคือใคร ควรจะเล่าระดับไหน, คนฟังชอบดูรูปภาพมากกว่า text, หรือพยายามเล่น content ที่ local และเข้าถึงคน

การเล่าเรื่องของเขาที่ทำให้สะกดคนฟังให้สนใจได้ดีมากๆ โดยเห็นตัวอย่างจริงจากเขาได้เลย

อีกหัวข้อเป็นแชร์จาก Sam Witteveen

Sam เป็น GDE ด้าน AI/ML โดยเขาทำ Youtube Channel เนื้อหาเกี่ยวกับ Machine Learning (ML), Deep Learning (DL), Large Language Models (LLMs) และเนื้อหา AI ต่างๆ
โดยมีจำนวน ~200 videos และมียอด subscribers ถึง 64.5K คน

Sam มาแชร์เทคนิคว่าเขาสามารถทำสิ่งนี้ได้อย่างไรตั้งแต่เริ่มต้น เช่น

  • อย่าเพิ่งไปบอกพ่อแม่เราว่าเราทำ youtube ไม่งั้น algorithm จะเสีย หากทำ youtube ก็ทำเงียบๆเพื่อให้ youtube ได้ปั่น algorithm ด้วยตัวเอง
  • โพส video ตอนเช้าจะได้ engagement ที่ดีกว่า
  • อย่ายึดติดกับยอด subs, likes จนเสีย mental health แต่ให้จำเสมอความรู้สึกแรกว่าเราทำสิ่งนี้ไปเพื่ออะไร (เพื่อการสร้างประโยชน์ให้ผู้อื่น)
  • สุดท้าย Sam ก็แชร์ว่าสิ่งที่ดีกว่า subs และ views คือคนที่โพสขอบคุณเขาผ่าน twitter โดยที่คนโพสเขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่า Sam จริงๆเป็นใคร (นอกจาก Sam เป็น GDE แล้วเขาก็มีประสบการณ์การทำงานและ research เยอะมากๆเกี่ยวกับ Machine Learning และผลักดันคอมมูนิตี้ ML ใน Singapore ด้วย)

GDE Panel Discussion

นอกจาก 2 sharing sessions เมื่อกี้ ก็ต่อด้วย Panel Discussion โดยมี Panelist ทั้ง 5 ท่าน และ

ทุกท่านเป็น Panelist คือคนที่ contribute ให้กับคอมมูนิตี้เยอะมากๆ

เราขอยกตัวอย่างให้ฟัง

  • Connie (คนที่ 2 จากทางซ้าย) เป็น GDE Angular ที่ฮ่องกง
    โดย Connie เขียนบล็อกเยอะมากๆตั้งแต่ปี 2013 ! เขา post blog อย่างน้อยเดือนละ 2 บล็อก ซึ่งพอไปดูบล็อกของ Connie จริงๆ เดือนนึงมากกว่า 4 ซะด้วยซ้ำ
  • Kai Zhu เป็น GDE Android & Kotlin ในประเทศจีน โดย Kai Zhu ทำ video ในแพลตฟอร์ม Bilibili มี fans ถึง 84,000 คน และคลิปเขามีคนดูยอดวิวถึง 1.8 ล้าน views

ช่อง Bilibili ของ Kai Zhu: https://www.bilibili.com/video/BV1tM411D7Sz/?spm_id_from=333.999.0.0

ส่วนรูปแบบ Panel คือส่งคำถามมาใน slido แล้วทุกคนสามารถโหวตคำถามนั้นได้

หลายคำถามคือดีมากๆ อย่างเช่น อะไรคือสิ่งที่เติมเต็มและทำให้พวกเขายัง contribute อยู่

Connie ก็ตอบว่า เมื่อก่อนมีคนบอกเขาว่า Angular ยากแต่พอได้ฟัง Connie เล่า ต่อมาเขาก็บอกว่า Angular ง่าย

อีกอันที่เราชอบคือคำถามว่า ทำยังไงให้ consistency ?

Connie บอกว่าพยายามโพส 2 blogs ต่อเดือน เลิกงานก็เขียน, เวลาว่างๆก็เขียน (อย่างโหด แต่ก็รู้สึก relate)

Sam บอกว่า ให้ลองตั้งคำถามที่เรามักถามกับตัวเองแล้วลองหยิบมาทำดู เพราะสิ่งที่เราสงสัยเมื่อ 6 เดือนที่แล้วก็จะเป็นเรื่องที่เรารู้ในวันนี้ you were smarter than 6 months ago แล้วนำสิ่งนั้นมาแชร์ให้คนอื่น

บอกเลยว่าอยากให้ session นี้มี recording มาก เป็น panel ที่ดีที่สุดเท่าที่เคยฟังมากเพราะอินมาก555

เราเหมือนได้พลังและแรงบันดาลใจหลายๆอย่างจาก session นี้ในแง่ของการ sharing แก่ผู้อื่นทั้ง youtube, blogs

2. Product AMA

AMA หรือ Ask Me Anything

ทีม Product ของ Google มาร่วมตอบคำถามที่ GDE สงสัยแบบเชิงลึก ให้ฟีดแบ็ค หรือเสนอ feature อยากให้มี

ซึ่งจะคล้ายๆกับ Product Round Table เมื่อวันก่อนแต่มีเวลาเยอะและเจาะลึกมากกว่า เราสามารถถามคำถามได้อย่างตรงไปตรงมา

3. Kahoot time !

ตอนเย็นมีแข่ง kahoot ด้วย ทีมไทยได้ Top 3 สุดยอดดดดด พี่ฝนได้ที่ 1, พี่เอกได้ที่ 2, พี่แบงค์ได้ที่ 3

ของรางวัลน่ารักมาก เป็นตุ๊กตา android เวอร์ชั่นแห่มังกร ซึ่งไม่มีขายแล้ว

4. Office Tour

มีโอกาสทานอาหารกลางวันที่นี่และได้ tour ชมออฟฟิศสั้นๆด้วย

มีจุดหนึ่งที่ชอบมากคือบริเวณบันไดจะเหมือนอิฐแต่เป็นวัสดุคล้ายแก้วนะ สลักชื่อพนักงาน Google ที่ปักกิ่งทุกคนไว้ แม้ว่าเราทำงานแค่ 3 วันก็ตามเราก็สามารถมีชื่อสลักไว้ได้แล้ว

5. Snack Exchange

มี cornor แลกขนมจากหลายๆชาติจากทั่ว SEA และ Greater China

รอบนี้เราเอาขนมไทยมาเต็มเลย แฮ่ๆ

ความตลกคือเราได้หยิบมาม่าของอินโดติดกลับไปบ้าง หลายวันถัดมาเราไปเที่ยวและเดินเยอะมากๆจนเดินแทบไม่ไหวเลยกลับโรงแรม และมาม่าอินโดช่วยชีวิตไว้เพราะหิวมากแต่เดินไม่ไหวแล้ว

วันนั้นเดินไป 24,000 ก้าว…

ความประทับใจที่ไม่ลืม

สำหรับเรา วัน GDE Summit ถือว่าเป็นวันที่ดีที่สุดเท่าที่มีมาในทริปเลย

ความรู้ต่างๆในงาน I/O Connect อาจจะมีคอนเทนท์บางอย่างที่เราสามารถไปศึกษาต่อตอนกลับประเทศ หรือศึกษาได้ออนไลน์ เพราะมี recording แน่ๆ Google เขาพยายามทำให้ความรู้เข้าถึงได้จากทุกๆที่

ในขณะที่ GDE Summit ล้วนเต็มไปด้วย talk ที่เน้น GDE คนที่มี passion เดียวกันคือคนที่มีความตั้งใจในการแบ่งปันความรู้และมุ่งหวังทำประโยชน์ให้ผู้อื่น คนที่รักเทคโนโลยีและการเรียน และคอยเติมความรู้สม่ำเสมอ มีวินัยในการมอบสิ่งเหล่านี้และส่งต่อความรู้ให้คนอื่น

สำหรับเรา การได้เติมไฟจากคนเหล่านี้เพียงแค่วันเดียวก็ทำให้รู้เลยว่าเรามาถูกทางแล้ว

และเราเชื่อว่าทุกครั้งที่เราได้การตอบรับว่า บล็อก,วิดีโอหรือคำแนะนำของเราเป็นประโยชน์กับใครสักคนมากแค่ไหน มันคือพลังใจที่ขับเคลื่อนทุกคนมาสู่จุดๆนี้

🙂

เที่ยวประเทศจีน

งานอีเวนท์ทั้งหมดจบลงภายในวันศุกร์ จึงเหลือเวลา weekend ให้เดินชมเมืองและสำรวจต่อ

ได้มีโอกาสขี่จักรยานรอบเมืองปักกิ่งด้วย ที่นี่เขามีเลนจักรยานบนถนนเลย ถนนดีต่อการขับขี่มากๆ สนุกและต้องระมัดระวังสุดๆเนื่องจากมีมอเตอร์ไซค์ขับแซงตลอดเวลา

ที่สำคัญคือแดดร้อนมากๆ เลยได้ถอยเสื้อ UV มาใช้เพื่อกันผิวไหม้ เหมือนคนจีนเข้าไปอีกขั้น

Summer Palace, Universal Studios Resort, City Bike Ride

ได้มีโอกาสไปพระราชวังต้องห้าม (กู้กง), พระราชวังฤดูร้อน, Universal Studios Resort, หอฟ้าเทียนถาน (Temple Heaven), ถนนคนเดิน Wangfujin และหลายที่ๆมาก (มีไปทัวร์ Olympics park และ Birdnest ซึ่งทีมงาน Google จัดให้ ขอบคุณค่ะ)

แต่ทุกที่คือคนจีนเยอะทุกที่ !

เยอะจนไปติดหวัดกลับมาที่ไทยด้วย 😂

อีกเรื่องหนึ่งคือประเทศนี้สั่งอาหารหรือซื้อของทุกอย่างผ่านการแสกน WeChat หรือ Alipay ซึ่งมันสะดวกมากๆ ทำให้ track ค่าใช้จ่ายได้ง่าย ซึ่งถ้าใช้ Alipay จะสะดวกกว่าตรงมันมี translate ภายในแอพให้เลย

สำหรับบันทึกปักกิ่งของเราคงจบประมาณนี้ หวังว่าจะมีประโยชน์กับทุกคนนะคะ

--

--

Burasakorn Sabyeying
Mils’ Blog

Data engineer at CJ Express. GDE in Cloud. Women Techmakers Ambassador. Co-lead GDG Cloud Bangkok. Other channel > Mesodiar.com