เมื่อผมทดลองเล่น micro:bit 30 นาที เปิดโลกเล็กๆของผมอีกนิดหน่อย

Mr.P L
mmp-li
Published in
3 min readAug 29, 2018

“ถ้ามีเด็กๆมาถามว่า อยากเริ่มเขียนโปรแกรม หรือ สร้างหุ่นยนต์ คุณจะให้คำแนะนำพวกเขาอย่างไร ?”

กาลครั้งหนึ่ง เมื่อ 1 เดือนก่อน

อาจารย์ : “คุณว่างไหมวันจันทร์-พุธหน้า ผมจะให้มาช่วยสอน micro:bitให้อาจารย์โรงเรียนมัธยมหน่อย ต้องการผู้ช่วยสอนหน่อย”

ผม : “มันคืออะไรครับ ? แต่ผมดันไม่ว่างเลยครับ ผมเรียนทั้งวัน ทั้ง 3วันเลยครับ”

หลังจบประโยคนั้น ผมก็ไม่ได้ยินชื่อของเจ้า micro:bit แต่ตอนนี้ผมไปทำงานที่บริษัทแห่งหนึ่งซึ่ง….เขาสอน micro:bit ให้แก่เด็กๆ แถมเพื่อนๆรอบตัวผมก็นั่งเล่น micro:bit ช่วยอาจารย์สอน มันมาอีกแล้ว แฟชั่นของโปรแกรมเมอร์…… แต่ตัวผมก็ยังไม่ได้สนใจ จนกระทั่ง….

วันนี้อยู่ดีๆเห็น พี่แมนแห่ง Chiangmai Maker Club โพสลิ้ง micro:bit ผมลองเข้าไปดูขำๆ https://microbit.org/

https://microbit.org/

แล้วก็ลองเข้าไปลากวางเล่นๆขำๆ เออวะ มันก็เอาเรื่องพอตัวนะเนี่ยมี simulator ให้เห็นด้วย เข้าท่าดี เพราะปกติผมจะอยู่แค่กับ arduino esp32 esp8266 raspberry pi ที่เวลาอยากจะเห็น output ต้องเขียนโปรแกรมให้เสร็จๆ แล้วมาวัดดวงว่ารันได้ถูกต้องไหม พอตกช่วงเย็นๆของวันนั้น เลยไปขอยืมบอร์ดเพื่อนที่มีอยู่ เลยลองเล่นกับมัน 30 นาที รู้อะไรไหม…. โครตสนุกเลย

เรียบๆ minimal มากๆ

ข้อดีของมันที่ผมชอบมากๆคือ

  • คุณไม่ต้องรู้ syntax ภาษาอะไรมาเลย ลากวาง จบเลย
  • หากยังอยากเขียนโค้ดอยู่ (ใจมันรัก) ก็ยังมีโหมดเขียนโค้ดให้อยู่ดี (js es6 นะจ้ะ)
  • ไม่ต้องกลัวจะต่อสายพังอีกต่อไป ไม่มี tx rx D0 A0 slp pow ให้ต้องกังวลอีกต่อไป
  • ง่ายต่อการเรียนรู้

ข้อเสียที่มันยังพอมีอยู่บ้าง

  • หากเขียนโค้ดในโหมด js แล้วมากดหน้า block จะพบว่ากลายเป็นโค้ด js
  • หากต้องการเบิร์นโค้ดยังต้องลากวางไฟล์ลงไป (เหมือน stm32) ทำให้ไฟล์ที่โหลดมารกๆหน่อยนะ

แต่ข้อดีของมันก็ยังกลบข้อเสียไปได้อยู่ดี แล้วนี้คือ 30 นาทีของผม

  1. พยายามดู community ของ micro:bit ทำให้พบว่า ของเล่นเยอะมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก (พวกชอบเล่นต้องมาโดนจริงๆ)

2. ทดสอบเล่นบอร์ดแบบไม่รู้ spec ของมันเลย

แม่เจ้า มี gyro ในตัวจ้า ทำให้มีอะไรสนุกๆเล่น (ขอแค่มีไอเดีย)

แสดงมุมตามการเอียงของอุปกรณ์

ลองเล่นการแสดงผลของ LED บนตัวอุปกรณ์

โปรแกรมเมอร์ก็มี ❤ แฮ่

ทดสอบการ random number ที่เลขมันทะลุจอ LED ไป ปรากฏว่า ตัวอักษรไหลให้จ้า เกือบร้องไห้ ทำไมจอ LCD ของพวก arduino ไม่ทำบ้างงงงงงงง T^T

random number
เลขกำลังไหลไปเรื่อยๆ

โค้ด JS ของมันก็ไม่ยุ่งยากมาก มองออกง่ายดีมาก

ทีนี้ ลองมาเล่นท่ายากกันบ้าง โดยการเช็คว่าปุ่มที่กดเป็นปุ่มอะไร โดยตอนแรกผมก็งงๆเห้ย จะใส่ if else if เพิ่มยังไงเนี่ย ปรากฏว่ามีปุ่มให้กด แล้วลากเพิ่มได้เลย สบายมากๆ ลากวางทุกๆอย่างเลย แหะๆ

ท่ายากเริ่มมา

ได้เวลาทดสอบว่าผลลัพธ์มันจะถูกต้องหรือไม่

กดปุ่ม A
กดปุ่ม B
ตอนไม่กดอะไร

สรุปผลการทดลอง

ตอนนี้ผมเริ่มเข้าใจแล้วว่าทำไมเหมาะแก่คนที่สนใจการเขียนโปรแกรม เขียนหุ่นยนต์ แต่ยังไม่รู้จะเริ่มยังไง ต้องการฝึกพื้นฐาน ซึ่งเจ้า micro:bit มันตอบโจทย์มากๆ ถ้ามีน้องๆหลานๆมาถามผมว่า อยากจะทำหุ่นยนต์ ฝึกเขียนโปรแกรม ลอจิค ยังไง ผมจะให้แนะนำให้เขาลองเล่นเจ้า micro:bit อย่างแน่นอนครับ

หุ่นยนต์วิ่งตามเส้น ใช้ micro:bit ในการควบคุม ที่เพื่อนๆในแผนกของผมทำขึ้นมา

Let’s Fun : https://makecode.microbit.org/

Official Website : https://microbit.org/

Project : https://microbit.org/ideas/

ป.ล. บทความหน้าเป็น ASP.NET MVC นะครับ แหะๆ Data sci ขอพับไว้ก่อนนะ

--

--

Mr.P L
mmp-li
Editor for

Lifestyle of Programmer & IoT (Node-RED|Blynk) & Data Science (ML,DL,NLP) and Whatever I want to do | cat can coding too | Ph.D. -> VISTEC -> IST