Japanese Demonstration Projects for Future Energy

Non Patti
Mr.Non
Published in
2 min readApr 16, 2018

จากการที่ตะลอนรอบญี่ปุ่นตั้งแต่ใต้จรดเหนือมา 1 อาทิตย์ เพื่อนพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญต่างๆในเทคโนโลยีด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ของญี่ปุ่น เช่น

  • Sodium Sulfur (NAS) Battery Storage
  • Hybrid Battery Storage
  • Hydrogen Production Technology
  • Fuel Cell for Power Generation and for Vehicle
  • Electric Car and Bus
  • Vehicle Charging Facility
  • Integrated Gasified Combine Cycle (IGCC) Power Plant
  • Carbon Capture and Stotage (CCS) Project
  • Eco Town, Recycling Technolgy and System
  • Smart City Smart Community
  • Virture Power Plant (VPP)
  • Geothermal Plant
  • Mega Solar Project
  • Wind Turbine Onshore and Offshore

เทคโนโลยีพวกนี้ไม่ได้ใหม่ถอดด้ามออกมาจากห้องแลป แต่เทคโนโลยีพวกนี้ยังใหม่มากสำหรับตลาดปัจจุบัน

เกือบทุกอันยังเป็น Demonstration Project อยู่ซึ่งยังต้องการงานวิจัยและพัฒนาเพิ่มเติม เพื่อก้าวเข้าสู่ Commercialization Stage และอยู่รอดในกลไกตลาดได้จริงๆโดยไม่ต้องมีความช่วยเหลือด้านตัวเงินในรูปแบบต่างๆ

จากที่เห็นในทุกโครงการของญี่ปุ่นนั้น

  • รัฐบาล ให้การสนับสนุนเงินและร่วมวางแผนนโยบายอย่างมีความเข้าใจถึงโลกที่กำลังเปลี่ยนไปและอะไรที่เหมาะกับประเทศและคนของเค้า
  • บริษัท ใส่ความรู้และสร้างบุคคลากรให้เชี่ยวชาญเชิงลึกเพื่อบรรลุเป้าหมายให้สำเร็จ
  • มหาวิทยาลัย แชร์ Knowledge and Human Resource ที่จำเป็นต่อโครงการโดยเฉพาะในโซน Basic Science
  • ประชาชน ให้ความร่วมมือ เข้ารับฟังผลกระทบของโครงการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างตรงไปตรงมา และเมื่อยอมรับให้ดำเนินโครงการต่างๆก็ให้ความร่วมมืออย่างดีในการปฏิบัติหรือช่วยเก็บข้อมูลต่างๆ

สุดท้ายแล้ว ทุกโครงการบอกเลยว่าถ้าเอา Financial Model และวิธีประเมินแบบคลาสสิคตามกรอบเดิมๆมาจับก็พับกระเป๋าเก็บไปตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มโครงการเลย แต่ METI (Ministry of Economy Trade and Industry) ได้ทำหน้าที่ในการเป็นกลไกของรัฐบาลในการช่วยสร้างอนาคตของเทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการทำการค้าของประเทศได้เป็นอย่างดี โดยคัดเลือกโครงการที่เหมาะสมจริงๆและให้เงินเพื่อสร้างโครงการนั้นขึ้นมาจริงๆให้คนได้ลองใช้จริงๆและให้บริษัทได้ลองทำจริงๆเพื่ออนาคต แล้วโครงการต่างๆข้างต้นก็เกิดขึ้นมาได้จริง ใช้งานจริงๆ สร้างประโยชน์และอนาคตจริงๆให้ทุกคน

เห็นแล้วก็นึกถึงบทหนึ่งในหนังสือ Whiplash มันคือ “Risk over Safety” จริงๆ (ขอบคุณพี่ไวท์ Shakrit Chanrungsakul นะครับที่ให้หนังสือดีๆมาอ่านเสมอ)

Take risk — chance to buy low, sell high

Take safety — chance to buy high, sell low

When the cost of innovation become very low, trying to reduce losses is less important than trying to amplify your wins.

Not spending more on due diligence than the price of investment — not pouring in “good money after bad”

ว่าแล้วก็เหมือนเดิม อยากให้มีโปรเจคดีๆใหม่ๆที่เป็นอนาคตของประเทศจริงๆให้กับคนรุ่นต่อๆไปเกิดขึ้นในบ้านเราได้จัง

ไอเดียมี แนวทางก็มี ทีมงานก็พอมี แต่ไม่มีตังค์ค้าบบบบบ ใครอยากทำจ้างผมได้นะครับ! 🤘🤘🤘

--

--