[New feature] ฝึกออกเสียงด้วย Reading Progress ใน Microsoft Teams

Mos Noppadol Rattanawisadrat
MSEDUTH
Published in
5 min readJul 19, 2021

วันนี้จะมาแนะนำเครื่องมือ สั่งการบ้าน ตัวใหม่ที่จะออกมาเพื่อช่วยครูสอน การอ่านออกเสียง

  • Update : Auto detect ใช้กับภาษาอื่นๆได้แล้ว เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น เยอรมัน และอีกกว่า 116 ภาษา รวมภาษาไทยด้วย !!

Interactive Demo ← ลองทำด้วยตัวเอง

รายละเอียดอื่นๆ ภาษาอื่นๆที่รองรับในอนาคต
Reference blog

เนื้อหาที่จะเล่าในบทความนี้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน

  • Reading Progress คืออะไร
  • Reading Progress ใช้งานยังไง

Reading Progress คืออะไร

Microsoft ได้ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาระดับโลกกว่า 300+ และรับ Feedback จากคุณครูทั่วโลก เพื่อพัฒนาเครื่องมือในการ

“ฝึกอ่านออกเสียง”

โดยตัวระบบ ถูกออกแบบมาสำหรับฝึกออกเสียง ให้สามารถใช้งานได้แม้กระทั่งในกลุ่มประเทศที่ใช้ ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา

ปัจจุบันรองรับภาษาอังกฤษแบบFull features และ Auto detect ใน 116 ภาษา

ความสามารถในการอ่าน จะส่งผลต่อ พัฒนาการในด้านอื่นๆ ของตัวผู้เรียนอย่างมาก

การสอนออกเสียงด้วยวิธีดั้งเดิม อาจทำให้เด็กรู้สึกกังวล และ ไม่กล้าแสดงออก ที่ต้องมานั่งฝึกออกเสียงต่อหน้าคุณครู ที่บางครั้งอาจส่งผลต่อคะแนนของพวกเขาด้วย

ในฝั่งของครูผู้สอนเอง ทราบถึงความสำคัญของอ่าน นั่นทำให้ ครูใช้เวลาจำนวนมาก ในการติดตามพัฒนาการของผู้เรียน

การที่จะทราบถึงพัฒนาการได้ อาจจะต้องให้เวลาฟังนักเรียนอ่าน ราวๆ 5 นาที และ ทำการให้คะแนน

วิธีนี้เป็นวิธีทำได้ดีระดับหนึ่งเลย แต่เมื่อต้องทำกับนักเรียน ทีละคน ห้องละ 40 คนในบริบทประเทศไทย อาจจะไม่เหลือเวลามากเพียงพอ ทำให้อาจจะต้องแบ่งกลุ่ม หรือ เว้นระยะการติดตามที่นานขึ้น

โจทย์เลยกลายเป็น “ทำยังไงให้ครูสามารถช่วยฝึกการอ่านของนักเรียนได้บ่อยเพียงพอ และ ช่วยให้คำแนะนำให้พวกเขาอ่านได้ดีขึ้น” “และเป็นการอ่านที่ลึกซึ้งที่ให้ข้อมูลเชิงลึกในการช่วยพัฒนาเด็กๆเหล่านี้ด้วย”

จนออกมาเป็นฟีเจอร์ Reading progress ใน Microsoft Teams

ใช้งานยังไง ?

ขั้นตอนการใช้งานของฟีเจอร์นี้ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน

ครู — สร้างการบ้านและมอบหมายเนื้อหาให้นักเรียน

นักเรียน — อ่าน เนื้อหาที่ครูมอบให้

ครู — รีวิว การอ่านของนักเรียน ( ระบบ ตรวจให้เบื้องต้นแล้ว )

ผู้เชี่ยวชาญ — ประเมิน/ยกระดับ ข้อมูลการอ่านของนักเรียน

ขั้นที่ 1 — สร้างการบ้าน

เมนูการสั่ง Reading Progress จะอยู่ใน “Attach”

Version แรก จะรองรับการ upload เอก Word/PDF ก่อน ในการสั่งการบ้าน

ปัจจุบัน รองรับไฟล์ Word, PDF, Class NoteBook และ ตัวอย่างบทความภาษาอังกฤษ

รูปภาพ ในไฟล์ จะ upload ได้ แต่ไม่นำเข้าไปในการอ่าน

  1. Edit เราสามารถแก้ไขบทความได้ ด้วยการกด edit

2. Student view แอบไปดูว่านักเรียนเห็นอะไร

จากนั้น กำหนดรายละเอียด

  • Reading Level — กำหนดได้เอง ( เอาไว้ filter )
  • Genre — ไม่มี ประเภท, นิยาย, ไม่ใช่นิยาย
  • Number of attempts — จำนวนครั้งที่นักเรียนสามารถฝึกได้ ( สูงสุดคือ ไม่จำกัด )
  • Time limit ( 1–5 นาที )
  • Pronunciation sensitivity — ความเป๊ะของการออกเสียง
  • Require video — จะให้นักเรียนเปิดกล้องไหม

ที่เหลือก็เหมือนสั่งการบ้านปกติละครับ จะแนบไฟล์อื่นๆเพิ่มได้ด้วยก็ได้

  • * แนะนำให้ Copy บทความ มาใส่ใน Instructions ด้วย เพื่อให้เด็กๆ เปิดฟังก่อนอ่าน เผื่อไม่มั่นใจว่า คำนี้ อ่านยังไง

หรือ จะแนบ Video แนะนำการอ่าน จากครูผู้สอนก็ได้

ขั้นที่ 2 — นักเรียนเปิดการบ้านมาอ่าน

นักเรียน จะเปิดเจอการบ้านเหมือนปกติ และ สามารถกด คลิกเข้าไปเพื่ออ่านได้เลย

ฟังก่อนอ่าน

ข้างๆปุ่ม Turn in จะมีไอคอน หนังสือมีเสียง ที่สามารถกดเข้าไปฟังตัวอย่างได้ ถ้าอาจารย์ Copy บทความมาใส่ใน Instruction แบบนี้

ฟังเสียง ฟังคำที่ไม่มั่นใจ ก่อนอ่าน

เมื่อพร้อมแล้วก็คลิกเข้าไปที่ อ่านได้เลย

คลิกเข้าไป ก็จะมีให้ทดสอบไมค์ ทดสอบกล้องก่อน

เมื่อทุกอย่างพร้อม ก็กดอ่านได้เลย

โดยนักเรียน สามารถ ปรับโหมดการอ่านให้เหมาะกับตัวเองได้ ที่ปุ่ม aA ด้านขวาบน

ระหว่างปรับแต่ง มันจะ Paused การบันทึกให้เอง

Preview video ของตัวเอง ก่อนเซฟได้

ระหว่างนี้ ก็รอระบบ Upload file ถ้ายังไม่กด ปุ่มสีเขียว ก็ยังไม่อัพ

จากนั้นก็ถึงเวลากดส่งได้เลย

ขั้นที่ 3 — รีวิว การบ้านนักเรียน

เหมือนกับการบ้านปกติ ที่เข้ามาแล้วจะเห็นว่า ใครส่งแล้ว ใครยังไม่ได้ส่ง จากนั้นก็คลิกเข้าไปตรวจได้เลย

ระบบ จะทำการตรวจเบื้องต้นให้อาจารย์ก่อน

โดยตัวระบบ จะบันทึก Video การอ่านของนักเรียน พร้อมกับ ระบุผลลัพธ์ให้

  • Mispronunciations — การออกเสียงผิด
  • Omissions — การข้ามคำ
  • Insertions — การเพิ่มคำ
  • Repetitions — การอ่านซ้ำ
  • Self-corrections — การกลับมาอ่านแก้คำผิด

ข้อความ ที่โชว์ ตอนตรวจ คือสิ่งที่นักเรียนอ่าน ไม่ใช้ข้อความต้นฉบับนะ เช่น สีเขียว คือ นักเรียนอ่านเกินมา สีแดงคือ ไม่ได้อ่าน

โดยอาจารย์ สามารถ ระบุประเภทคำผิดเอง แบบ Manual ได้ เช่นกัน

ถ้าอยากฟังว่า นักเรียนพูดผิดยังไง ก็คลิก Jump to the word ได้เลย

ระบบจะพาไปยังวินาทีที่ นักเรียนอ่าน แต่ถ้าอ่านเร็วมากๆ แนะนำให้ คลิกเลือก บรรทัดก่อนหน้า เราจะได้มีเวลาเตรียมฟัง

ปรับความ Sensitive ได้ ถ้าเด็กเล็ก อาจจะ low เด็กโตหน่อยอาจจะ High

แล้วก็ ส่งผล กลับไปให้นักเรียนดูได้

ขั้นที่ 4 — ติดตามผล

เราสามารถ กดดู Insight ของการอ่านได้ที่ปุ่ม Insights ขวาบนของการบ้าน

ซึ่งระบบจะแสดง ข้อมูลการอ่านทั้งหมด ของนักเรียนคนนั้นๆ ในแต่ละการอ่านที่ผ่านมา

สามารถปรับเป็นรายบุคคล หรือ รายห้อง ได้

เพื่อให้ ครู หรือ ผู้เชี่ยวชาญ ให้คำแนะนำ นักเรียน ในการพัฒนาการอ่านได้

รวมถึง การสั่งการบ้าน ให้แต่ละคน อ่านคำศัพท์ เฉพาะบุคคล ด้วยคำศัพท์ ที่แต่ละคนเจอปัญหาได้

Microsoft ยังมีฟีเจอร์อื่นๆ เกี่ยวกับภาษา ครบทั้ง ฟัง- พูด-อ่าน- เขียน เกี่ยวกับการฝึกภาษาอีกด้วย

ฟัง — Immersive Reader โปรแกรมช่วยอ่าน ที่ทำให้เราฟังภาษาได้ร้อยกว่าภาษาและสำเนียง

พูด — Rehearsal with Coach ใน PowerPoint 365 ที่ทำให้เราฝึกซ้อมพูด ซ้อมนำเสนอ

อ่าน — Reading Progress ใน Microsoft Teams

เขียน — Editorใน Word 365 ที่ช่วยให้เรารับ Feedback งานเขียนได้ตลอดเวลา

https://www.youtube.com/watch?v=YAch1CCPUrA

--

--

Mos Noppadol Rattanawisadrat
MSEDUTH

A guy who passionate on Technology, Psychology, Science and business thing