Log bug ยังไงให้เข้าใจง่าย และ Reproduce ได้ไวขึ้น

Panicha Kasak
Muze Innovation
Published in
2 min readFeb 1, 2023

สวัสดีค่าทุกคน วันนี้เราอยากมาแชร์การ Log Bug เวลา QA อย่างเราเจอต้องทำอย่างไรบ้าง หลายๆครั้งเราอาจจะพบปัญหาว่า Develop ไม่เข้าใจเนื้อหา Issue ซึ่งมีหลากหลายสาเหตุที่เกิดขึ้น แล้วนำไปสู่การแก้ไข Issue ช้าและไม่ตรงตามผลลัพธ์ที่เราคาดหวังไว้

โดยปกติแล้วการเขียน Bug ที่ดีควรเป็น 1 เรื่องต่อ 1 Report เพื่อความรวดเร็วในการปิดงาน และเข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน เรามาเริ่มกันเลยจ้า

ตัวอย่าง

1. Title : เราจะเขียนว่าเกิด Bug อะไรขึ้น เขียนให้กระซับ และใช้ข้อความที่อ่านง่าย เพื่อให้ Develop ที่เข้ามาอ่านแล้วสามารถเข้าใจความหมายและตีความได้

2. Description : ในส่วนของเนื้อหานี้ เราจะเขียนอธิบายรายละเอียดว่าเกิด Bug อะไรขึ้น ซึ่งเราสามารถเขียนบรรยาย หรือ Capture รูปภาพ แล้ววงจุดที่ผิดก็ได้ สามารถทำได้หลายวิธีเลยไม่มีข้อจำกัด เพียงแค่ให้ Develop เข้าใจเนื้อหาก็พอ

3. Steps to reproduce : เราจะเขียน Action ที่ทำให้เกิด Bug เขียนเป็น Step ตาม Flow เริ่มตั้งแต่ต้นให้ละเอียดเพื่อที่ Develop สามารถวิเคราะห์และหาสาเหตุได้ง่าย

4. Actual Result : เขียนผลลัพธ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้นอยู่ตอนนี้

5. Expected Result: ผลลัพธ์ที่ต้องการ สามารถเขียนอธิบายได้ หรือถ้ามีรูปใน Design ก็สามารถนำมาแปะได้ เพื่อความชัดเจนมากขึ้น

6. Environment : เป็น Environment ที่เราทำการทดสอบ มีเพื่อให้ Develop สามารถไปวิเคราะห์และแก้ไขได้ถูกจุด

7. Platform/Device : เราควรระบุไว้เพราะแต่ละ Platform/Device แต่ละอย่างอาจจะเกิด Bug ไม่เหมือนกัน

8. Severity : ระบุความรุนแรงของ Defect ที่เกิดขึ้น โดยเราสามารถกำหนดได้เลย จากประสบการณ์ส่วนใหญ่ที่เคยเจอจะแบ่งได้เป็น level ตามด้านล่างนี้

· Critical : มีผลกระทบขั้นรุนแรงที่สุดเพราะ QA ไม่สามารถ Test ระบบต่อได้ ต้องแก้ไขโดยด่วน!!!

· High : มีผลกระทบ Feature หลักแต่ยังสามารถทำงานได้

· Medium : ไม่ได้กระทบ Feature หลักและยังทำงานได้

· Minor : ไม่ได้กระทบกับ Feature ใดๆเลย เป็นพวกความสวยงาม เช่น ข้อความไม่ถูกต้อง สีผิด เป็นต้น

มาดูตัวอย่าง Tool Jira ที่ฮอตฮิตในปัจจุบันกันค่า

กด Create เพื่อสร้าง Card กันจ้า

จากนั้นเปลี่ยน Issue Type เป็น Bug และก็เริ่มกรอกรายละเอียดได้เลย

เสร็จแล้วก็กด Create กันได้เลย

หน้าตาก็จะได้ประมาณนี้เลยค่า แถมอีกนิดน้า เวลามีคนมา comment ที่การ์ดเราสามารถดูได้ที่ตรงนี้เลย

หรือถ้าเราอยากรู้ว่าการ์ดนี้มีใครทำไรไว้บ้างเราก็สามารถเช็คที่ History ได้เช่นกัน

จบแล้วค่า ทุกคนลองเอาไปปรับใช้ดูนะคะ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้ทำงานกันง่ายขึ้นนะคะ

--

--