First | Natthaphon S.
My Little Journey
Published in
3 min readJan 20, 2020

--

วันนี้คงจะไม่มีใครไม่รู้จักบริษัทจาก e-Commerce ยักษ์ใหญ่จากประเทศจีนนามว่า Alibaba ผู้สร้างตำนานวัน Shopping โลก อย่างวันที่ 11.11 (Double Eleven) ที่เรามักจะเสียเงินให้กับดีล Online ที่ไม่ว่าค่ายไหนๆก็หันมาทำตามกันจนเป็นประเพณีปฏิบัติไปแล้ว ในขณะที่เรากำลังบ่นเศรษฐกิจโลกถดถอยในปี 2019 ที่ผ่านมาแต่ยอดขายเพียงวันเดียวของกลุ่ม Alibaba กลับทำลายสถิติในปี 2018 ที่ผ่านมาอย่างสิ้นเชิง (โตขึ้น 26%) เรากำลังพูดถึงยอดขาย มูลค่า RMB268.4 Billion (USD38.4 Billion) จำนวนการสั่งซื้อกว่า 1.3 พันล้านครั้ง คิดง่ายๆ 544,000 Order ต่อวินาที (ให้ตายเหอะนี่คิดง่ายแล้วนะ) ยอดขายวันเดียวคิดเป็น 1 ใน 3 ของยอดขาย e-Commerce ของประเทศไทยของเราทั้งปีเลยล่ะครับ

กว่าจะมาถึงวันนี้ ตัวอย่างของความสำเร็จของอาลีบาบา หลายๆคนอาจจะนึกไม่ถึงว่าที่มาของชื่อบริษัทมูลค่าหลาย พันล้านล้านเหรียญนี้ ถูกก่อตั้งโดยอาจารย์สอนภาษาอังกฤษชาวจีนผู้หนึ่งนามว่าแจ็ค หม่า (Jack Ma) เรื่องราวดุจเทพนิยายที่สร้างสิ่งมหัศจรรย์มากมายเกินขึ้นตลอดกาล เรื่องราวเป็นไปมาไงผมจะเล่าให้ฟังพอสังเขปนะครับ

จากเด็กหนุ่ม แห่งเมืองหางโจว ประเทศจีน ผู้ที่ชื่นชอบภาษาอังกฤษเป็นพื้นฐาน อาสาสมัครเป็นไกด์ท้องถิ่น พาชาวต่างชาติเที่ยวเมืองจีนอยู่เสมอ แจ็คสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่จีนไม่ได้ถึง 3 ครั้ง พยายามสมัครเรียนที่ Havard ก็ถูกปฏิเสธทั้ง 10 ครั้ง แต่ก็ยังมีความมุมานะที่จะเรียน สุดท้ายก็ได้มาเรียนวิทยาลัยครูหางโจว ที่เติบโตขึ้นมาเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ จริงๆแล้วแจ็ค หม่าเคยพยายามสมัครงานอื่นมามากว่า 30 งาน และโดนปฏิเสธมาทั้งหมด ครั้งหนึ่งเค้าเคยสมัครเป็นตำรวจ ผู้สมัครทั้ง หมน 5 คน ผ่าน 4 คน เค้าเป็นเพียงคนเดียวที่ไม่ผ่าน หรือแม้แต่ เขายังเคยสมัครเป็นพนักงาน KFC มีผู้สมัครงาน 27 คน 26 คนได้งานไป มีแต่เค้าคนเดียวที่ไม่ได้รับสิทธิ์นั้นเช่นกัน แจ็คยังชอบพูดติดตลกว่าถ้าเค้าได้โอกาสเป็นพนักงาน KFC ก็คงไม่มี Alibaba ในวันนี้ บอกได้คำเดียวครับว่า สุดมาก! ใจแข็งแรงมากๆ หลังจากทำงานเป็นครูสอนภาษาได้ 5 ปี แจ็คก็ออกมาทำธุรกิจของตัวเองในฐานะนักแปลภาษา วันหนึ่งโอกาสก็มาถึงโดยที่เค้าก็ไม่รู้ตัวจากการที่เค้าได้เดินทางไปทำธุรกิจที่ประเทศอเมริกา ซึ่งที่นั่นทำให้ชีวิตของแจ็ค หม่า เปลี่ยนไปตลอดกาล เพราะมันทำให้เค้ารู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า Internet บางครั้งโชคชะตาก็มักเล่นตลกกับเราแรงๆแบบนี้เสมอ ชีวิตของแจ็ค หม่าจึงเป็นข้อคิดที่ดีที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นแรงบรรดาลใจแก่ทุกคนได้ไม่มากก็น้อย

ลองคิดย้อนหลังไปสัก 25 ปี คอมพิวเตอร์มีราคาสูงมาก คนในประเทศจีนแทบไม่มีโอกาสได้จับเจ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ว่านี่เลย ที่นั่นเพื่อนชาวอเมริกันได้สอนให้แจ็คทดลองใช้คอมพิวเตอร์ครั้งแรก เพื่อนแนะนำให้แจ็คลองค้นหาข้อมูล แจ็คไม่เข้าใจด้วยซ้ำว่าทำอย่างไร สุดท้ายเพื่อของเค้าก็บอกไม่ต้องกลัวมันไม่ใช่ระเบิดเว้ยมันก็แค่พิมพ์เข้าไปเท่านั้นแหละ แจ็คลองค้นหาคำว่า “เบียร์” เค้าตื่นเต้นมากที่พบว่า มีข้อมูลมากมายใน Internet ที่พูดถึงเบียร์อเมริกา เยอรมัน หรือญี่ปุ่น แต่กลับไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับกับเบียร์ประเทศจีนเลย ยิ่งค้นหาข้อมูลประเทศจีน ผลที่ออกมาในตอนนั้นเป็นคำสั้นง่ายว่า “No Data” วันนั้นเค้าทั้งโมโหและรู้ว่ามีโอกาสมากมายที่เค้าสามารถสร้างได้ทั้งในแง่ธุรกิจและการสร้างประโยชน์ให้กับประเทศจีน แจ็ค หม่าได้ลองโพสโปรโมทบริษัทแปลภาษาในจีนของเค้าในอมเริกา ไม่กี่อึดใจก็มีคนติดต่ออยากเข้ามาร่วมธุรกิจกับเค้าจำนวนไม่น้อย

เมื่อแจ็ค หม่า ได้เดินทางไปพบ internet เป็นครั้งแรก

หลังจากกลับมา 4 ปี แจ็ค หม่า รวมกลุ่มกับเพื่อทำงานชิ้นแรกของเค้าไปเสนอกับกระทรวงต่างประเทศของจีนในขณะนั้นนั่นคือ China yellow pages ด้วยความหวังจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในอุตสาหกรรม Internet ในเมืองจีน ให้ชาวโลกรู้จักสินค้าจีน เมืองจีน เพิ่มการส่งออก นั่นนับเป็นก้าวที่สำคัญเนื่องจาก Internet ถือเป็นเรื่องที่ใหม่มากในจีน หลายคนคิดว่าเค้าเพ้อฝันและหลอกลวง แต่เมื่อเวลาผ่านไป Infrastucture เริ่มเข้ามาเยือนเมืองหางโจว เค้าก็พิสูจน์ให้ทุกคนได้เห็นว่าสิ่งที่เค้าพูดไม่ใช้เรื่องเพ้อฝันอีกต่อไป และสิ่งนั้นทำให้เกิดการเติบโตของวงการ Internet และ e-Commerce เข้ามาในประเทศจีนอย่างมากมาย แม้จะมีทั้งต่อต้าน ทั้งการยอมรับ ขนาดที่ว่าภาครัฐเข้ามาร่วมลงทุนในบริษัทของเค้าเพื่อได้ Khowhow การทำธุรกิจ e-Commerece ของแจ็ค เลยทีเดียว สุดท้ายด้วยปัญหากับทางรัฐบาลผู้มาถือหุ้นในบริษัท แจ็ค หม่า จึงลาออกจากบริษัทของตัวเองและออกเดินทางเพื่อเริ่มใหม่อีกครั้ง

แจ็คหม่าใช้เงินก้อนสุดท้ายพร้อมรวมเพื่อนๆทีมงานทั้งหมด 18 คน รวมกันได้ RMB500,000 กลับไปหางโจว ใช้พื้นที่อาพาร์เมนท์ของเค้าเป็นที่ทำงานที่ทุกคนแทบจะกินนอนกันอยู่ที่นั้นเพื่อเริ่มจุดกำเนิดของอณาจักรที่ยิ่งใหญ่ที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ Alibaba ส่วนใหญ่ของ 18อรหันต์ก็จะเป็นพนักงาน อดีตพนักงาน ลูกศิษย์ ที่เคยร่วมงานกับแจ็ค หม่าทั้งสิ้น โดยที่แจ็ค มองว่าเค้าเหล่านี้อายุยังน้อยและไม่อยากให้ใครลงเงินทุนเพิ่มมากกว่านี้ แต่พนักงานทุกคนต้องมีสิทธิ์ถือหุ้น เพื่อให้กุศโลบายในการเติบโตไปพร้อมกับบริษัทของเค้าและเติบโตไปพร้อมๆกัน และถึงแม้มันจะล้มคนเหล่านี้ก็ยังสามารถไปเริ่มต้นใหม่ได้ แต่ในการเริ่มต้นครั้งนี้แจ็คไม่มีมีความลังเลแม้แต่น้อยในการเริ่มธุรกิจ เพราะเค้ารู้ว่ามันถึงเวลาของ Internet และ e-Commerce แล้วครับ และนั่นคือที่มาของ Alibaba ในปัจจุบัน

Arabian nights Ali Baba and the forty thieves

ถ้าคุณคิดว่าการวางแผนความคิดนี้สำคัญผมมีจุดที่สำคัญกว่านั้นที่อยากให้มองครับ คุณรู้มั้ยว่าแจ็คให้ความสำคัญในการตั้งชื่อบริษัทหรือเว็บไซต์นี้มากแค่ไหนแล้วเค้าคิดอย่างไร มีหลายๆคนกล่าวว่า แจ็ค คิดว่า Internet เหมือนขุมทรัพย์ที่รอการค้นหา เปรียบเหมือนกับเทพนิยายเรื่องหนึ่ง อาลี บาบา กับโจร 40 คน ในนิทานปรัมปราอาหรับราตรี วันหนึ่งที่เค้ากำลังทานอาหารอยู่ที่ร้านแห่งหนึ่งที่อเมริกา เค้าจึงไล่ถามทุกคนที่ผ่านไปมา ว่าถ้าพูดว่ารู้จักอาลีบาบามั้ย แถบทุกคนจะตอบว่า Open Sesame! แม้กระทั้งบริกรร้านอาหารเอง อีกทั้งเป็นชื่อที่หลายชนชาติออกเสียงได้อย่างไม่ผิดเพี้ยน เค้าจึงตัดสินใจใช้ชื่อนี้ในการตั้งชื่อบริษัทและเว็บไซต์ของเค้าในครั้งนี้ เพราะมั่นใจว่าจะติดหู และเป็นที่รู้จักของทุกคนนั่นเอง เห็นมั้ยครับว่ารายละเอียดเรื่องชื่อนี้เป็นเรื่องที่ละเลยไม่ได้จริงๆ แจ็คคิดได้รอบคอบถี่ถ้วนมากๆ แต่ในมุมมองของผมนั้น ผมมองว่าแจ็คน่าจะเปรียบตัวเองเป็นเหมือนดั่งกับพระเอกของเรื่องอาลี บาบา ที่ไปได้ยินรหัสลับเปิดประตูขุมทรัพย์ Open Sesame! นี้ เหมือนกับที่เค้าได้ไปเห็นได้ไปรู้ว่า Internet มีค่าแค่ไหนและเค้าก็ได้รหัสนั้นมาแล้วในมือจึงเป็นที่มาที่เค้าชอบชื่อนี้และเริ่มต้นเรื่องทั้งนี้ขึ้นมามากกว่านะ

เส้นทางของ Alibaba ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ อุปสรรคมากมาย โตไวเกินไป ความไม่พร้อมของเทคโนโลยี ณ ขณะนั้น ทุกสิ่งล้วนเป็นสิ่งที่น่าเรียนรู้ อย่างไรก็ดีจนถึงวันที่ครบรอบ 20 ปีของ Alibaba ในวันที่ 10 OCT 2019 แจ็ค หม่าก็อำลา Alibaba บริษัทที่เค้าก่อตั้งอีกครั้ง เพื่อไปสร้าง Infrastructure ที่เค้าเชื่อว่าสำคัญกว่าอะไรทั้งหมดนั่นก็คือการศึกษาของคนรุ่นใหม่ นั่นก็เป็นอีกสิ่งที่เราคงต้องติดตามกันต่อไปในบทบาทใหม่ของเค้าอีกครั้ง

จากปี 1999 Alibaba.com ที่เน้นในสินค้า B2B ค้าขายสินค้าระหว่างประเทศ ก็เริ่มเน้นเข้ามาพัฒนา Taoboa ในปี 2003 ท้าชิงตลาด C2C ที่ขณะนั้นเอง Ebay มีส่วนแบ่งการตลาดถึง 80% จนสามารถแย่งชิงพื้นที่ส่วนแบ่งการตลาดได้จนหมด เริ่มเข้ามาทำธุรกิจ Fintech เพื่อให้บริการทางการเงินที่เปลี่ยนชีวิตชาวจีนไปตลอดกาลสู่ยุค Cashless socity ด้วยบริการ Alipay ในปี 2004 นี่เอง 2008 ทำ Platform สำหรับ B2C ในนาม Taobao Mall ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น Tmall ในภายหลัง หลังจากนั้นไม่นาน ในปี 2009 ก็เริ่มเกิดการพัฒนา infrastucture ของตัวเองในนามของ Ali Cloud เพื่อรองรับระบบทั้งหมดและ Transection ทั้งหมดของลูกค้าที่เข้ามาอย่างมหาศาล และด้วยเหตุผลเดียวกันจึงหันมาพัฒนาระบบ Logistic ของตัวเองในนาม Cainiao ขึ้นมาในปี 2013 เป็นต้นมา ปัจจุบันในปี 2017 Alibaba ยังเข้ามาเปิด Physical store อย่าง Hema ที่เปิดเป็น New retail Concept ที่ยังมีเรื่องมากมายให้ชวนศึกษา พร้อมกันนี้ทุก Platform ยังรองรับดัว Alimama Digital Service สำหรับผู้ใช้บริการ platform ของ Alibaba เหล่านี้อีกแน๊ะ

เมื่อทุกอย่างถูกวางเป็นจิ๊กซอร์และสอดรับกันอย่างไม่น่าเชื่ออย่างกับหนัง Marvell แน่นอนว่า Big Data มหาศาลนี้จะกลายเป็นขุมทรัพย์ที่ไม่มีที่สิ้นสุดที่แท้จริงดั่งที่ แจ็ค หม่าได้คาถา “Open Sesame!” มาจากการเปิดโลก internet เมื่อ 25 ปีที่แล้ว ใครจะรู้ว่าในใจของเค้านี่ต่างหากคือสิ่งที่เค้าค้นพบในถ้ำสมบัติแห่งอาหรับราตรีแห่งนี้ก็เป็นได้

วันนี้ Alibaba เข้าสู่ปีที่ 21 ภายใต้ผู้บริหารคนใหม่แต่ไม่ใหม่สำหรับคนภายในอย่าง “แดเนียล จาง” ผู้สืบสานแนวคิดของ Master แจ็ค หม่า มาอย่างครบเม็ด ในขณะที่แจ็ค หม่า เดินหน้าเข้าสู่วงการการศึกษาเต็มตัว

แดเนียล จาง CEO ผู้รับไม้ต่อจางแจ็ค หม่า

อย่างที่ผมได้ทุนไปเรียนมาอย่างโครงการ Alibaba Netpreneur training Program Thailand รุ่น 1 ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการบ่มเพาะการศึกษาของแจ็ค หม่า เช่นกันครับ ไม่เพียงแค่ประเทศจีน แต่แจ็คมีความพยายามจะสร้าง Talent ทาง e-Commerce ให้ได้ 1 ล้านคนทั่วโลกในปี 2023 อีกด้วย

วันนี้ผมเชื่อว่าทุกท่านคงรู้จัก Alibaba กันมากขึ้นพอสมควรแล้ว เราคงต้องมาดูก้าวต่อไปของ Alibaba ว่าจะเป็นอย่างไร พร้อมทั้งแนวคิดขององค์กรที่เป็นทั้งแบบอย่างและเคสต่างๆที่น่าศึกษาซึ่งผมจะนำมาเล่าสู่กันฟังในโอกาสถัดไปแน่นอนครับ วันนี้ สวัสดีครับ…

--

--

First | Natthaphon S.
My Little Journey

Man who love technology and marketing. And always challenge himself to combine it to create the new world. Co-Founder Thaiconnect 2019 co,. Ltd.