โทรศัพท์มือถือในพม่า

Pirawadee
Myanmar.cx
Published in
2 min readFeb 2, 2015
Credit: http://blog.willis.com

คนพม่าใช้โทรศัพท์มือถือกันมากถึงมากที่สุด อาจจะเป็นเพราะโทรศัพท์สาธารณะ หรือโทรศัพท์บ้านไม่ค่อยสะดวก ขณะเดียวกันคนต่างชาติก็เข้ามาทำงานในพม่าเยอะ ซึ่งโทรศัพท์มือถือนี่เป็นสิ่งจำเป็นมาก

ตั้งแต่ครึ่งปีหลังของ 2014 เป็นต้นมา มีโทรศัพท์มือถือของสองค่ายเปิดตัวมาใกล้ๆกันตามที่ได้รับสัมปทานจากรัฐ ค่ายหนึ่งคือ Telenor กับอีกค่ายหนึ่งคือ Ooredoo รวมกับของรัฐคือเครือข่าย mpt ก็เป็นสามค่าย จะเลือกใช้ของค่ายใด ลองพิจารณาจากข้อมูลต่อไปนี้ ในที่นี้จะพูดถึงกรณีเป็นซิมแบบเติมเงินเท่านั้นนะคะ

MPT

เป็นเครือข่ายของรัฐ ข้อดีคือใช้ได้ทั่วๆไปหลายเมือง นอกเมืองก็ใช้ได้ ข้อเสีย บางทีก็ใช้ไม่ได้เฉยๆ แม้ว่าสัญญาณจะเต็มเปี่ยม (ข้อมูลวงในบอกว่า เจ้าของค่ายอยากตัดสัญญาณเมื่อไหร่ก็ตัดได้ ไม่ต้องแจ้ง อันนี้ข้อมูลไม่ยืนยัน)

บัตรเติมเงินราคา 5,000 กับ 10,000 จ๊าด
ค่าโทร 25 จ๊าดต่อนาที ค่าอินเตอร์เน็ต 10 จ๊าดต่อ MB

อินเตอร์เน็ตมีสองแพ็คเกจคือ 5,000 จ๊าด ใช้ได้ 400 MB และ 10,000 จ๊าดใช้ได้ 1 GB จะใช้แบบไหนหลังจากเติมเงินแล้วต้องส่ง sms ไปที่เบอร์ 1332 พิมพ์ว่า 400MB หรือ 1GB ถึงจะใช้ได้

การตั้งค่าอินเตอร์เน็ตใน smart phone ซิม mpt setting/APN — — APN name = mptnet username = mptnet

password ไม่ต้องใส่

TELENOR

ค่ายน้องใหม่มาแรง สัญญาณแรงในบางพื้นที่ ส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของตัวเมืองย่างกุ้ง นอกเมืองข่าวว่ายังใช้ได้ไม่ค่อยดีนัก ส่วนเมืองอื่นยังไม่ได้ทดลอง เป็นค่ายเดียวกับ Dtac ที่ประเทศไทย ข้อดีคือ ใช้ได้ในไทยเลย อีกอย่าง ราคาซิมถูกมากๆ

บัตรเติมเงินราคา 5,000 กับ 10,000 จ๊าด ค่าโทร 25 จ๊าดต่อนาที (โทรไปเมืองไทย 200 จ๊าดต่อนาที ก็ประมาณ 7 บาทกว่าๆ)

ค่าส่ง sms ในพม่าฟรี ส่งไปเมืองไทยครั้งละ 30 จ๊าด

อินเตอร์เน็ตมีสองแบบคือ My Internet Plan กับ Smart Internet Plan อันแรกเป็นสโลว์สปีด 300 kbps ราคา 6 จ๊าดต่อ MB แบบที่สองใช้กับ smart phone เป็น 3G ราคา 10 จ๊าดต่อ MB
ถ้าจะใช้ Smart Plan ต้อง activate โดยส่ง sms ไปที่ 500 พิมพ์คำว่า smart

การตั้งค่าอินเตอร์เน็ตใน smart phone ซิม Telenor setting/APN — — APN name = internet username ไม่ต้องใส่

password ไม่ต้องใส่

OOREDOO

อีกค่ายล่าสุดที่เปิดตัว เช่นเดียวกับ Telenor คือบางพื้นที่ใช้ดี บางพื้นที่ยังไม่ดี ราคาซิมก็ถูกเช่นกัน (ทั้งสามค่าย ราคาซิมของ mpt จะแพงที่สุด)

ค่าโทร 25 จ๊าดต่อนาที (โทรไปเมืองไทย 200 จ๊าดต่อนาที ก็ประมาณ 7 บาทกว่าๆ)
ค่าส่ง sms ในพม่า 15 จ๊าดต่อครั้ง ส่งไปเมืองไทยครั้งละ 125 จ๊าด

อินเตอร์เน็ตแพ็คเกจของค่ายนี้มีเยอะมากๆ มีแบบรายวันและรายเดือน และยังแยกออกเป็นใช้มากใช้น้อย น้อยที่สุดคือ 500 MB ต่อเดือนราคา 3,900 จ๊าด มากที่สุดคือ 10 GB ต่อเดือนราคา 55,900 จ๊าด ซึ่งให้มากที่สุดในระหว่างสามค่ายนี้ จะใช้แบบไหนก็ส่ง sms ไปที่ 2238 แล้วก็พิมพ์แพ็คเกจที่ต้องการ เช่น 500MB หรือ 10GB

การตั้งค่าอินเตอร์เน็ตใน smart phone ซิม Ooredoo setting/APN — — APN name = data username ไม่ต้องใส่

password ไม่ต้องใส่

สรุป

ความเห็นส่วนตัวฉันคือ เอา mpt ซิมใส่โทรศัพท์แล้วใช้เป็น voice แล้วเอาซิม Ooredoo แพ็คเกจสูงสุด ใส่แท็บเล็ตไว้ใช้อินเตอร์เน็ต น่าจะเวอร์คที่สุด (แต่ตอนนี้กลับกันคือฉันใส่ซิม Telenor ในโทรศัพท์และเอาซิม mpt ใส่ไอแพด) แต่อันนี้ก็แล้วแต่วิถีชีวิตของแต่ละคนนะคะ

ผลการทดลองเป็นอย่างไรจะบอกอีกที

Originally published at myanmar.cx on February 2, 2015.

--

--