NTFS Read/Write in Big Sur (Intel and M1 ) — Free

Supphachoke Suntiwichaya
NECTEC
Published in
3 min readDec 29, 2020

อ่านเขียน NTFS บน Big Surใช้ได้ทั้ง Intel และ M1 แบบไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ พร้อมตีบวก skill นิดหน่อย ฮาๆ 😛

วิธีนี้เคยเขียนไว้ครั้งหนึ่งแต่ค่อนข้าง Manual ไปหน่อยครั้งนี้จะเพิ่มเป็นแบบ กึ่งๆ auto ละกัน บทความเดิมอ่านได้ที่

เริ่ม

ปกติเมื่อเราเสียบ External แบบ NTFS Big Sur จะ Mount ให้อัตโนมัติแต่มันจะเขียนไม่ได้หลายคนก็พาลกลัวไม่กล้าใช้ Mac ไปเลยก็มี สมมติผมเสียบ USB เข้าไปมันก็จะ ปรากฎอยู่บน Finder หรือ ไม่ก็ Desktop (ทั้งนี้เราก็ต้องตั้งค่าให้มันแสดงด้วยนะ)

Finder Sidebar
Desktop

ถ้าดูให้ลึกลงไปอีกนิดก็เปิด terminal ขึ้นมาครับคำสั่งแรกก็

diskutil list
diskutil list

คำสั่งนี้ใช้ดูว่าบนเครื่องเรามี Storage หรือ Hard disk อะไรบ้างมีกี่ลูก กี่ partitions ข้อมูลตรงนี้เราจำเป็นต้องดูเพื่อนำไปใช้งานในบทความนี้ด้วยหลักๆ คือ มองหา USB ของเราให้เจอก่อนหลังจากนั้นก็ดูข้อมูลดังนี้

  1. ชนิดของ Partition แบบ Windows_NTFS
  2. ชื่อของ Partition ปกติตอน format เราควรตั้งชื่อให้มันหน่อยตอนเสียบ macOS หรือ Linux จะใช้ชื่อนี้แสดงให้เราดูตอนใช้งาน
  3. ชื่อของอุปกรณ์ตัวอย่างจะเป็น disk2 และ partition หมายเลข 1 กลายเป็น disk2s1 และ path เต็มๆ ของมันคือ /dev/disk2s1

เมื่อเราได้ข้อมูลมาแล้วจะดูข้อมูลลึกลงไปอีกก็สามารถใช้คำสั่งดังนี้

diskutil info /dev/disk2s1
diskutil info

ข้อมูลที่เราสนใจหลักๆ มี 3 ส่วนเช่นเคย คือ

  1. ชื่อ เราจะใช้ชื่อนี้แหละในการตั้งค่าจำไว้นะ
  2. Mount Point หรือ Path ที่ระบบเอา USB ของเราไปเชื่อมต่อและเราสามารถเข้าไปใช้งานได้ แต่ถ้าใช้ finder บางทีเราไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้ แต่ถ้ารู้ก็ดีกว่า แก้ปัญหาบางอย่างได้ลึกขึ้น
  3. ค่าที่บอกว่าตอนนี้สามารถอ่านเขียนได้ไหมซึ่งปกติ NTFS เสียบเข้าไปแล้วจะอ่านได้อย่างเดียวตามในรูป

เริ่มลุยกัน

ก่อนที่จะเริ่มให้เราทำการ eject USB ของเราออกเสียก่อน อาจจะใข้ mouse click ที่ finder ก็ได้หรือจะใช้คำสั่งก็ได้

diskutil eject /dev/disk2s1

คราวนี้ก็สร้าง folder ว่างๆ ไว้บน Desktop ซึ่งตั้งให้สื่อกับ USB ของคุณนะ ของผมตั้งง่ายๆ ตามชื่อคือ NTFS

หรือใครจะใช้ terminal สร้างก็ได้นะง่ายดีด้วย

mkdir ~/Desktop/NTFS

เมื่อสร้างเสร็จคราวนี้ให้เราสร้างคำสั่งเพื่อให้มัน mount อัตโนมัติทุกครั้งที่เราเสียบเจ้า USB อันนี้เข้าไป

พิมพ์คำสั่งดังนี้

sudo nano -w /etc/fstab

ระบบมันจะถามรหัสผ่านให้เราใส่รหัสของเราบนเครื่อง Mac นี้นะครับ

หลังจากนั้นก็ให้พิมพ์บรรทัดคำสั่งลงไป

LABEL=NTFS /Users/mrchoke/Desktop/NTFS ntfs rw,auto,nobrowse

โดยให้เปลี่ยนค่าให้ตรงกับของเรานะเช่น LABEL=xxx ตามชื่อเรา และ ส่วนของ path

/Users/xxx/Desktop/yyyy

ก็เปลี่ยนเป็นชื่อ (xxx)เป็น user ของเรา และ ส่วนสุดท้าย (yyy) ก็ตามที่เราจะตั้งให้มัน

หลังจากนั้นก็ให้ save โดยกดตามขั้นตอนดังนี้

Control Xกด yกด Enter
กด y
กด Enter

ทดสอบกันเลย

ตอนนี้เราก็ลองเอา USB เสียบเข้าไปเลย

ICON เปลี่ยนเป็นรูป Disk

ถ้าเราพิมพ์ไม่พลาดอะไรรูป ICON ของ folder จะเปลี่ยนไปจาก Folder สีฟ้าเป็นรูป Hard Disk สีเทาๆ ตามรูปด้านบนตอนนี้เราก็สามารถใช้งานได้แล้ว click เข้าไปเลย ลองสร้างลองลบข้อมูลได้

สร้าง ลบข้อมูลได้แสดงว่าสำเร็จ

เลิกใช้งาน

ถ้าเราจะถอด USB ออกต้องทำยังไง ก็แค่ Click บน ICON รูป Hard Disk ของมันแล้วเลือก Eject หรือจะ Click พื้นที่ว่างๆ ใน Finder ขณะที่เปิดเข้าใช้งานมันก็ได้

Eject

ถ้าใครจะดู Info ว่าถ้ามันอ่านเขียนได้จะเป็นอย่างไร ก่อน Eject ก็ใช้คำสั่ง info ตามข้างบนอีกครั้ง

หลังจากที่เราแก้ไขค่า fstab

จะเห็นว่า Mount Point จะเปลี่ยนไปตามที่เราตั้งไว้ และ ค่า Read-Only ก็กลายเป็น No เรียบร้อย

ปล. วิธีแบบนี้จะเฉพาะหน่อยคือ USB อันไหนอันนั้น และ Partition ไหน Partition นั้นนอกจากเราจะตั้งชื่อให้เหมือนกัน แต่ก็ใช้พร้อมกันไม่ได้อีก ลองเอาไปใช้กันดูครับ ไม่ต้องเสียตั้งสักบาท นอกจากจะทำ Disk พัง ฮาๆ (อะ ล้อเล่งๆๆ)

--

--