สรุปเทคนิคการสร้างรูปภาพสวยๆที่ดีกว่าเดิม ด้วย Midjourney (Part 3)

Paul Story
NexaByte Dispatches
3 min readApr 23, 2023

By @NexaByte Dispatches

เช่นเคยครับกับสรุปเทคนิคที่ได้อ่านและลองใช้งานมา เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับตัวผมและผู้อ่านมาเริ่มไล่ดูกันครับ

1. Chaos

Chaos คือการกำหนดค่าระดับการเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ที่แสดงอยู่บน grid ยิ่งเรากำหนคค่ามากเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้ภาพบน grid ผิดปกติ ผิดหูผิดตาแปลกออกไป ไม่ตรงกับผลลัพธ์ที่เราต้องการ ในทางกลับกันถ้าเรากำหนดค่าน้อยๆ ผลลัพธ์ของภาพที่ได้จะดูสมจริง น่าเชื่อถือ และตรงกับความต้องการของเรา

เราสามารถกำหนดค่า chaos นี้ได้ตั้งแต่ [0–100] แต่ถ้าไม่ได้ระบุ Midjourney จะกำหนดค่าตั้งต้นให้เป็น 0 ครับ คำสั่งที่ใช้คือ --c [ค่าตัวเลข]

ขอขยายความคำว่า grid คืออะไร

ระบบกริด (Grid System) คือ รูปแบบของกริดที่ใช้แม่แบบ (Template) ในการจัดวางผังภาพ (Layout) การแบ่งตารางของเส้นที่จัดอย่างเป็นแบบแผน ใช้เพื่อเป็นโครงในการกําหนดตําแหน่งขอบเขตบริเวณสําหรับบรรจุภาพ เนื้อหา พื้นที่ว่าง และส่วนประกอบต่างๆ ในการออกแบบให้งานออกแบบมีความต่อเนื่อง สวยงาม เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันดูแล้วสอดคล้องลื่นไหล

ขอบคุณที่มา ระบบกริด (Grid Systwem)

เรามาลองทดสอบกัน ผมจะเริ่มด้วยการกำหนดค่า chaos ที่ 100

/imagine spicy prawn soup --c 100

แล้วนี้คือผลลัพธ์ที่ได้ครับ ดูแบบเอ่อ… เพี้ยนไปเลย

แล้วถ้าผมกำหนดค่า chaos เป็น 10

/imagine spicy prawn soup --c 10

ถ้าลองเปรียบเทียบระหว่างค่า 100 กับ 10 ค่า 10 จะดูสมจริงมากกว่า

ผมว่าภาพที่ได้จากค่า chaos ที่กำหนดค่าเป็น 10 ก็ยังดูแปลกๆ เดี๋ยวมาลองแบบไม่ปรับค่าอะไรเลยกันดูครับ ซึ่งค่าตั้งต้นจะเป็น 0

/imagine spicy prawn soup

ผมว่าไม่ต้องปรับอะไรเลย ดีสุดละ ฮ่าๆ (อันนี้ส่วนตัวนะครับ)

2. เคยไหมกว่าจะได้ภาพออกมา ไม่ทันใจเราเลย

Quality คือการกำหนดค่าระดับของการประมวผลรูปภาพ หรือจะพูดง่ายๆคือการรอเวลาให้ Midjourney สร้างรูปภาพให้ครบ 100%

ยิ่งกำหนดค่าสูงมากยิ่งให้ผลลัพธ์ของรูปภาพมีรายละเอียดมากยิ่งขึ้น แต่ก็ใช้เวลาในการสร้างภาพนานขึ้นตามไปด้วย ในทางกลับกันถ้ากำหนดค่าต่ำๆ ก็จะใช้เวลาในการสร้างรูปภาพเร็วขึ้น แต่เราก็ต้องแลกกลับการที่ได้รายละเอียดของรูปภาพน้อยลงตามไปด้วย

โดยปกติทาง Midjourney จะให้ค่าเริ่มต้น default มาอยู่ที่ 1 แต่เราสามารถกำหนดเองได้ ตั้งแต่ [0.25 – 5]

คำสั่งที่ใช้คือ --q [0.25–5]

ตัวอย่างแรกที่เราจะมาทดสอบกัน กำหนดค่า quality อยู่ที่ 0.25

/imagine spicy prawn soup --q 0.25

ภาพที่ได้ออกมานั้นใช้เวลาเร็วมาก แต่กลับดูผลลัพธ์ที่ได้

งั้นมาลองปรับให้ค่า quality อยู่ที่ 0.5

/imagine spicy prawn soup --q 0.5

เหมือนภาพมีรายละเอียดมากขึ้นกว่าเดิม ระยะเวลาในการสร้างภาพนานขึ้นมาหน่อย

งั้นลองปรับค่าใหม่เป็น quality เท่ากับ 1

/imagine spicy prawn soup --q 1

ภาพที่เราได้มาดูมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น ที่เห็นชัดคือมีหัวกุ้งมาให้เห็นทุกตัว (ผมอาจเข้าข้างตัวเองนะครับ เพราะคำว่า AI มันจะไม่ได้คำตอบแบบเดิม)

งั้นสุดท้ายลองมาปรับ quality เป็น 5 ไปเลย

/imagine spicy prawn soup --q 5

จะมีรายละเอียดเยอะขึ้นกว่าเดิม ลองสังเกตุรูปที่ 4 จะเห็นมีเมล็ดพริกโผล่อยู่ด้วยครับ (ผมอาจเข้าข้างตัวเองนะครับ เพราะคำว่า AI มันจะไม่ได้คำตอบแบบเดิม)

3. เทคนิคนี้น่าจะถูกใจชาวโซเชียล Ratio

โดยปกติแล้ว Midjourney จะกำหนดค่า aspect ratio (ขนาดของรูปภาพ กว้าง:ยาว) อยู่ที่ 1:1 แต่ถ้าหากเราต้องการปรับแก้ไข เราก็สามารถกำหนดค่า aspect ratio โดยใช้คำสั่ง --ar [กว้าง]:[ยาว]

เรามาไล่ดูตัวอย่างแต่ละ aspect ratio กันครับ

• Ratio 3:2 (มีรากฐานมาจากแผ่นฟิล์ม 35มม)

/imagine spicy prawn soup --ar 3:2

• Ratio 2:3 (อันนี้แค่ลองสลับกันครับ)

/imagine spicy prawn soup --ar 2:3

• Ratio 4:5 (ขวัญใจชาว Instagram)

/imagine spicy prawn soup --ar 4:5

• Ratio 16:9 (สาย youtube thumbnail)

/imagine spicy prawn soup --ar 16:9

• Ratio 21:9 (อัตราส่วนของภาพในโรงหนัง)

/imagine spicy prawn soup --ar 21:9

• Ratio 9:16 (สายเซลฟี่ผ่าน smartphone)

/imagine spicy prawn soup --ar 9:16

ขอบคุณผู้อ่านนะครับ ไว้ครั้งหน้าถ้ามีเทคนิคอะไรดีๆ ก็จะสรุปมาฝากกันอีกแน่นอนครับ

--

--