มาศึกษาธุรกิจของบริษัท PTTOR กันเถอะ

Napakkhamon Thammananthakul
Nextzy
Published in
4 min readJul 7, 2018

ค้าปลีกของ ปตท.กำลังจะเข้าเทรดปีหน้า

https://www.kaohoon.com/content/238847

“ถ้า ปตท เขาแยกร้านกาแฟ Amazon แล้วเอาเข้าตลาดหุ้นเค้าว่าน่าสนใจเลยนะ”

หลายปีก่อนพูดเล่นๆ กับสามี ไม่คิดว่าจะเป็นเรื่องจริงๆ ในวันนี้ ไหนๆ ไม่ได้เสียอะไรอยู่แล้ว ก็ลองมาดูหน่อยว่าเค้าทำธุรกิจอะไรกันบ้าง

เตรียมใจ…..ทำสมาธิเพื่อรับข้อมูล

ถ้าจะศึกษาธุรกิจในเครือของบริษัท ปตท. แล้วบอกเลยว่ายิ่งใหญ่อลังการงานสร้างดาวล้านดวงและซับซ้อนมาก ยิ่งถ้าต้องเอางบมาวิเคราะห์กันแล้วนี่ ยิ่งทำให้งงเป็นไก่ตาแตกกันเลยได้เลยทีเดียว

ออกตัวก่อนนะนี่เป็นเพียงแค่การศึกษาเท่าที่ความรู้เรามี อาจจะมีข้อผิดพลา ถ้าใครมีข้อมูลที่ดีกว่ายินดีมากๆ เลยถ้าแนะนำนะจ๊ะ

ปตท. เองเป็นบริษัทที่จัดว่าใหญ่ อย่าว่าใหญ่เลย บอกว่าใหญ่มากจะดีกว่าทำธุรกิจหลายอย่าง ทั้งธุรกิจก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน โรงกลั่น และอีกมากมาย เป็นบริษัทที่ใช้คำว่า “ที่สุด” ได้หลายมุมมอง มูลค่าบริษัทที่สูงที่สุด กำไรสุทธิสูงที่สุด บราๆ ลองไปดูได้ว่าบริษัทเค้าทำอะไรกันบ้าง ดูลิงค์นี้เลย เว็บปตท.

วันนี้ที่เราจะพูดถึง คือ ธุรกิจที่กำลังจะเข้า IPO ในปีหน้า บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก/PTTOR

ไม่ว่าจะด้วยกฏหมายเรื่องการทำธุรกิจน้ำมันให้โปร่งใส หรือจะเป็นอัตรากำไรที่เติบโตอย่างต่อเนื่องกลุ่มค้าปลีกก็เป็นดาวที่น่าจับตามอง

NOTE: ฺBlog นี้จะมี Refer Link เยอะหน่อยนะคะ เพราะข้อมูลมาจากหลายที่มาก

มารู้จัก PTTOR กัน

ที่มา https://thaipublica.org/2018/05/jiraporn-pttor/

ทำไมถึงต้องจัดตั้ง PTTOR

คุณ“จิราพร ขาวสวัสดิ์” รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ว่าไว้แบบนี้

“จิราพร” เล่าว่าเหตุผลที่คณะกรรมการ ปตท. ต้องแยกธุรกรรมที่ ปตท. ทำ ที่เรียกว่าธุรกิจน้ำมัน ที่มีธุรกิจปั๊มน้ำมัน ธุรกิจขายน้ำมันให้โรงงานอุตสาหกรรม ธุรกิจขาย LPG ให้โรงงานอุตสาหกรรม ธุรกิจขายก๊าซหุงต้มที่ส่งตามครัวเรือน เป็นต้น ซึ่งตามภาษาพลังงานเขาเรียกว่า “ผู้ค้ามาตรา 7” ปัจจุบันมี 42 ราย ทุกรายเป็นเอกชนหมดเลย มีเพียง ปตท. เท่านั้นที่ทำธุรกรรมนี้และเป็นหน่วยงานรัฐ คนส่วนใหญ่จึงคิดว่ารัฐเอื้อประโยชน์ให้กับ ปตท

“ธุรกิจปั๊มน้ำมัน ปตท. คิดและพัฒนาโปรดักต์ใหม่ๆ เป็นเจ้าแรกที่เอาน็อนออยล์เข้าปั๊มน้ำมัน ไม่ว่า 7–11 ร้านอาหาร จนทำให้แบรนด์ ปตท. เป็นที่ติดใจ มีรายได้เพิ่ม ยอดขายดี แต่สังคมเข้าใจว่ารัฐเอื้อให้ ปตท. จึงเป็นเหตุให้บอร์ด ปตท. มองว่าธุรกิจน้ำมันที่ทำซ้ำเหมือนเอกชน ควรแยกออกมาเป็นเอกชน และด้วยเหตุผลเพื่อความโปร่งใสเพื่อให้เห็นว่าตัวเลข(รายได้)ที่ได้ ไม่ใช่เพราะรัฐเอื้อประโยชน์ให้”

ดังนั้น จาก 2 เหตุผลนี้ ปตท. จึงทำเรื่องการปรับโครงสร้าง เอาธุรกรรมที่หน่วยธุรกิจทำอยู่ทั้งค้าปลีกน้ำมันและ LPG เอาออกจาก ปตท. มาไว้ที่บริษัท PTTOR ที่มา

ก่อนที่จะไปรู้จักกับ PTTOR เรามาโครงสร้างบริษัทในกลุ่ม PTT กัน

หลังจากปรับโครงสร้างแล้วมีหน้าตาแบบนี้

ผลิตภัณฑ์และบริการท่ีเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจค้าปลีก

แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ตามนี้คะ

  1. ธุรกิจน้ำมัน
  • ประกอบด้วยค้าปลีกน้ำมันผ่านสถานีบริการทั้งในและต่างประเทศ (ปั๊มน้ำมัน)
  • จำหน่ายเชื้อเพลิงหล่อลื่นทั้งในและต่างประเทศ
  • จำหน่ายน้ำมันและก๊าส แอลพีจี
  • จำหน่ายแอลพีจีในครัวเรือน
  • บริหารโครงสร้างพื้นฐานของธุรกิจน้ำมัน

2. ธุรกิจค้าปลีกด้านอื่นๆ และให้บริการด้านบำรุงรักษายานยนต์

  • Café Amazon
  • FIT Auto
  • ร้านชานมไข่มุก “เพิร์ลลี่ที”
  • Jiffy
  • Daddy Dough
  • ฮั่วเซ้งฮง
  • Texas Chicken

ภาพรวมรายได้และกำไรของส่วนที่เป็น

ส่วนของรายได้ปี 60 ที่มาจากส่วนที่มาจากส่วนค้าปลีก 48% ของรายได้ทั้งหมด คิดเป็น 957,946.56 ล้านบาท และอัตรากำไรหลังหักดอกเบี้ยและค่าเสื่อม 6% คิดเป็น 20,723.70 ล้านบาท

ที่มา งบการเงินล่าสุด

มาดูให้ลึกในอัตราส่วนของกำไรในแต่ละธุรกิจกัน

https://thaipublica.org/2018/05/jiraporn-pttor/

ตัวเลขนี้เป็นตัวเลขสัดส่วนกำไรของปี 59 นะ แปะไว้ให้รู้ว่าธุรกิจไหนนำพารายได้มาให้กลุ่มมากที่สุดจะเห็นได้ว่าอันดับ 1 เป็นร้าน Cafe Amazon ไม่แปลกใจเลย ขายกาแฟได้กำไรมากกว่าอยู่แล้ว 555 จะเห็นได้ว่ากลุ่มหลักที่สร้างกำไรให้กับ PTTOR จะเป็นกลุ่ม non oil ซึ่งเดี๋ยวเรามาดูภาพกันว่าเขามีแผนการเติบโตยังไงบ้าง

เมื่อ ปตท. ไม่เพียงแค่ขายน้ำมันอีกต่อไป (Non Oil)

จากภาพสัดส่วนกำไรด้านบนตามข้อมูลที่ผู้บริหารให้มา จะเห็นได้ว่าภาพของธุรกิจในกลุ่ม non oil มีสัดส่วนกำไรที่มากกว่า แต่ๆ แต่จะดีจริงๆ ไหม๊ ต้องมาวัดกับแผนธุรกิจที่ทางบอร์ดวางไว้ ในส่วนของข่าวส่วนใหญ่ที่ทางผู้บริหารออกมาให้ข่าว แผนธุรกิจเป็นไปในทางเดียวกันคือปี 2560–2565 โดยส่วนใหญ่แล้วจะเน้นการเติบโตธุรกิจในส่วนของ non oil

ในกลุ่ม non oil นั้น ถ้าจะเปรียบให้ดีๆ ก็ป็นธุรกิจค้าปลีก คำว่าค้าปลีกนั้นถ้าจะวัดการเติบโต จะสามารถเติบโตได้จาก 2 ส่วน คือ

  1. ส่วนที่ธุรกิจบริหารจัดการค่าใช้จ่ายและกำไรให้ได้มากขึ้นทุกๆ ปี

2 มาจากการเติบโตของจำนวนสาขา

ส่วนแรกอาจจะเป็นส่วนที่เราสามารถประมาณการณ์ได้จากผลกรดำเนินการย้อนหลังไปสัก 3–5 ปี แล้วเอาตัวเลขมาเฉลี่ยดูว่า อัตราค่าใช้จ่ายและสัดส่วนของกำไรสุทธิเป็นเท่าไหร่แล้วนำมาคำนวนได้

อย่างที่บอกแล้วด้านบนว่าทางการเติบโตส่วนใหญ่ใน 5 ปีต่อไปนี้จะเน้นที่กลุ่ม non oil เลยลองหาข้อมูลมาดูทำตัวเลขและเปรียบเทียบการเติบโตของแต่ละธุรกิจในกลุ่มนี้ดู

Cafe Amazon

สวนแบ่งการตลาดกาแฟของประเทศไทย อยู่ที่ 20,000 ล้านบาท อันดับหนึ่งคงหนีไม่พ้น Cafe Amazon อยู่แล้วซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดนี้อยู่ถึง 40% และก็ไม่น่าแปลกใจที่อันดับสองจะเป็นของ Starbuck

ที่มาจากเว็บ marketeer

ในปีแรกของ Cafe Amazon มีสาขาอยู่เพียง 20 สาขา แต่เมื่อ Life Style ของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ปริมาณการใช้รถมากขึ้น จำนวนผู้เข้าสถานนี้น้ำมันมากขึ้น สถานีน้ำมันที่มีมากขึ้น ทำให้ปัจจุบันร้านกาแฟ Cafe Amzon มากกว่ากว่า 1,800 สาขา เป็นสาขาในประเทศ 1,500 สาขา และอีก 300 สาขาใสต่างประเทศ (ข้อมูลปี 59ที่มา) และปี 60 มีมากกว่า 2,100 สาขาทั้งในและต่างประเทศ

ที่มา Positioning

Cafe Amazon เอง แม้อยู่อยู่ในส่วนของ non oil แต่เป็นส่วนที่ทำกำไรสูงสุดคิดเป็น 82% ของกลุ่ม non oil เลยทีเดียว

ข้อมูลจากงบปี 59

จากภาพกำไรรวมของกลุ่มค้าปลีกรวม oil และ non oil คิดเป็น 23,677 ล้านบาท แบ่งเป็นกำไรที่มากจากธุรกิจน้ำมัน 19,920 ล้านบาท และ non oil เป็น 3,757 ล้านบาท ซึ่งในส่วนของ non oil นั้น 82% มาจาก Cafe Amazon หรือคิดเป็น 13% ของส่วนกำไรทั้งหมด เยอะนะบอกเลย

แผนการเติบโตของ Cafe Amzon จนถึงปี 65 จะขยายสาขาทั้งในและต่างประเทศจาก 1,800 สาขา เป็น 4,700 สีฟ้าคือข้อมูลที่ได้จริงๆ จากผลการทำงานที่เกิดขึ้นแล้ว สีเขียวคือแผนการทำงานที่ผู้บริหารกล่าว สีเหลืองคือสิ่งที่เราคำนวนได้จากพื้นฐานตัวเลขที่มีอยู่แล้วคิดแบบ conservative ทุกอย่างเหมือนเดิม จำนวนสาขาในปี 61,62 ได้ข้อมูลจากข่าวที่ผู้บริหารให้ไว้ สัดส่วนกำไรในแต่ละปี เราเอามาหารเฉลี่ยต่อสาขาที่เคยทำได้ไว้เดิมในปี 60 คือประมาณ 5.6 ล้าน แล้วเอาไปคูณจำนวนสาขาที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ปี 65 อัตรากำไรเติบโตเป็น 161% ตกปีละ 32% ว้าววววว ดีมากเลย (จริงๆ excel sheet มันข้อมูลเยอะมากเลยนะ อันนี้แปะมาให้เข้าใจง่ายๆ ขออภัยถ้าไม่สวยทำกราฟฟิคไม่เป็น)

จะบอกว่าจากที่ไล่ๆ อ่านๆ มาถามว่าเชื่อ 100% ไหม๊ บอกเลยไม่นะ ก็เลยไล่อ่านข่าวย้อนหลังปีเก่าๆ ที่ผู้บริหารออกมาพูดส่วนใหญ่ที่พูดไว้ทำได้ตามเป้านะ แต่ไม่ถึงกับเปะๆ ถือว่าแหล่งข่าวที่ให้มาก็เชื่อถือได้

อีกอย่างสัดส่วนการตลาดในไทยเองก็ถือว่าเต็มพอสมควรเพราะตอนนี้แผนการขยายสาขาของปั๊มน้ำมัน ซึ่งเรียกว่าเป็นช่องทางหลักในการขยายสาขาของ Cafe Amazon ก็เปลี่ยนไปขยายกันในถนนสายรองแล้ว ตอนนี้ที่เห็นมากๆ ก็จะใน BIG C ที่เริ่มมีร้าน Cafe Amazon มากขึ้น แล้วก็มี Drive Through แล้วสาขาแรกที่พระราม 2 เคยไปใช้บริการแรกๆ ก็ช้าหน่อย

ที่น่าสนใจคือตลาดต่างประเทศ ถ้าจะดูเรื่องการแข่งขันก็ถือว่ายาก แต่ถ้าระดับ ปตท.มาเล่นแล้วก็ถือว่าตลาดต่างประเทศ ใหญ่มากๆ เลยทีเดียว ตอนนี้ตามข่าวที่ให้ก็จะเป็นประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีพม่า ลาว เวียตนาม กัมพูชา ขยายตลาดโดยการที่ ปตท.เองไปจัดตั้งบริษัท และให้สิทธิในการขยายสาขาของบริษัทภายในประเทศของตนถ้าไปดูตามโครงสร้างบริษัทจะเห็นอยู่

แต่ประเทศที่น่าสนใจน่าจะเป็น กัมพูชา ซึ่งในปี 60 มีสาขา 26 สาขา ยอดขายเฉลี่ย 1.3–1.4 พันแก้วต่อวัน ซึ่งเมื่อเทียบกับสาขาในไทยแล้ว เฉลี่ยยอดขาย สาขาละ 260–280 แก้วตอวัน สูงสุด 700–800 แก้ว อ่านแล้วก็ตกใจ ไม่แน่ใจว่าเป็นที่ทำเล หรือว่าคนกัมพูชาชอบกินกาแฟกันแน่ ซึ่งในกัมพูชาเองเป้าการเติบโตจาก 26 สาขาก็จะขยายให้ได้ถึง 76 สาขาในปี 64 ก็โตเกือบ 3 เท่านะ อย่างประเทศอื่นๆ จากข้อมูลที่อ่านมาได้ลาว โตจาก 26 เป็น 76 สาขาเหมือนกันในปี 64

ข้อมูลก็ดูดี แต่ตลาดต่างประเทศที่ทำแล้วไม่ได้มีกำไรก็มีอย่างเช่นที่ ญี่ปุ่นเอง เป็นสาขาที่เปิดแล้วก็ยังไม่ได้กำไร แต่ก็ไปเปิดดูจากรูปแล้วสวยดี ใครมีโอกาสได้ไปญี่ปุ่นก็ลองไปชิมกันดู

Non oil อื่นๆ

จากด้านบนนอกจาก Cafe Amazon แล้ว ปตท.ยังทำแบรนด์และไปซื้อลิขสิทธิ์แบรนด์ต่างๆ มาขายในปั้มอีกด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นร้านค้า (อยากให้ ปตท.มา take over กิจการเราบ้างอะ T^T ) สัดส่วนการเติบโตตามนี้เลย

อันนี้อ่านตามข่าว หลายๆ ข่าวแล้วมาสรุปตัวเลขแล้วหยอดตารางให้ดูว่ามีอะไรที่จะเติบโตบ้างก็จะเห็นร้าน ฮั่วเซ้งฮงที่เป้ายอดการเติบโตที่เยอะมาก คงเล็งเห็นแล้วว่าตลาดอาหารน่าจะไปได้ แต่อีกร้านที่น่าแปลกใจมากเลยคือร้านไก่ Texas แผนการขยายน้อยมากสงสัยจะขายไม่ดี

อันนี้เป็นภาพรวมเฉพาะของกลุ่ม non oil ซึ่งจากสายตาคร่าวๆ อย่างน้อยๆ 5 ปี ก็ต้องโตเฉลี่ยปีละ 30% เป็นอย่างน้อย เวลาไปเติมน้ำมันก็ลองไปใช้ๆ บริการกันดูตามร้านต่างๆ เราเองเป็นผู้บริโภคก็รู้ได้เลยว่าร้านไหนจะอยู่หรือร้านไปจะไป หุๆๆ

กลุ่มธุรกิจน้ำมัน

กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ทำรายได้หลักๆ ก็จะขายปลีกน้ำมัน ก๊าซ LPG ทั้งครัวเรือนและอุตสาหกรรม พอดูแบบนี้ก็มองบนกันเลย เออทำไรอะ จะพูดให้ง่ายๆ ก็คือปั้ม ปตท.นั่นแหละ

ปี 60 ปตท. มีสาขาปั้มน้ำมันประมาณ 1,800 สาขาทั้งในและต่างประเทศ จนกว่าจะถึงปี 65 สาขาจะเติบโตไปอีกกว่า 1,300 สาขา เติบโตอีก 1 เท่าตัว แต่กลยุทธ์ในการเติบโตแผนนี้จะเติบโตในถนนสายรอง และจะลงทุนร้านปตท. ขนาดพื้นที่ไม่เกิน 2 ไร่ บริการน้ำมันปกติ 2,200 แห่ง ,สถานีบริการน้ำมันขนาดเล็ก ที่เป็น compact model บริเวณถนนสายรอง 340 แห่ง และสถานีบริการน้ำมัน เพื่อรองรับรถบรรทุกขนาดใหญ่และรถบัส (truck & bus station) ประมาณ 20 แห่ง แต่ตอนนี้คู่แข่งก็ทะยอยกันปรับปรุงสถานีบริการและเพิ่มสาขาเช่นกัน ก็ต้องรอลุ้นดูกันต่อไป

อีกธุรกิจที่ก็ต้องพูดถึง คือ กลุ่มตลาดน้ำมันหล่อลื่น ดูจะเป็นการรุกตลาดอย่างจริงจังของ ปตท. ตอนี้ได้ดำเนินการจัดตั้งบริษัทในจีนจะแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 61 นี้ จีนมีสัดส่วนการใช้น้ำมันหล่อลื่นเป็นอันดับ 1 ของโลก ซึ่งมีปริมาณความต้องการการใช้น้ำมันหล่อลื่น 8,000 -10,000 ล้านลิตรต่อปี เมื่อเทียบกับความต้องการใช้ในไทยทั้งหมด 800 ล้านลิตรต่อปี (แบ่งเป็นรถยนต์ 700 ล้านลิตร และ จักรยานยนต์ 100 ล้านลิตร) ถือว่าใหญ่กว่า 10 เท่าเลยทีเดียว ถ้าแล้วเสร็จคาดว่าในปีจะมีรายได้ 3–5 ล้านลิตร และเติบโตในปี 62 10 ล้านลิตร และปี 65 โตไป 50 ล้านลิตร

แต่ใจประเทศเองนอกจากยอด 183 ล้านลิตร ที่เติบโตจากปีก่อน 20% แล้ว ปตท.ยังเพิ่มชอบทางในการจัดจำหน่ายโดยจับมือกับศูนย์บริษัทของ Bridestone ที่มีสาขากว่า 78 สาขาด้วย

ปตท. อื่นๆ

ส่วนอื่นที่ ปตท.ทำ ทั้งร่วมมือกับกลุ่มกระจายสินค้าท้องถิ่นเพื่อช่วยให้สินค้าของชาวบ้านมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่ดีแล้ว ปตท. ยังร่วมมือกับไปรษณีย์ไทยในการส่งสินค้า อีกทั้งยังมีโครงการทำโรงแรมราคาถูกที่เจาะกลุ่มลูกค้า Business Trip ด้วย ในราคาไม่รวมอาหารเช้าแล้วพลักให้ผู้ใช้บริการไปซื้ออาหารเช้าในร้านค้าในสถานีน้ำมันแทน

ถ้าจะบอกว่าตอนนี้ทำธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายน้ำมันไหม๊ ก็บอกเลยว่า 50:50 ซึ่งตอนนี้สถานีน้ำมันก็ไม่ได้เป็นแค่เพียงสถานีน้ำมันแล้ว คู่แข่งของ ปตท. ไม่ใช่ปั้มน้ำมัน แต่จะยังแข่งขันเรื่อง Life Style หรืออาจจะเป็นผู้เล่นในสนามนักพัฒนาที่ดินก็ว่าได้

ส่วนตัวแล้วเขียนเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อให้ตัวเองเข้าใจธุรกิจนี้และไม่ได้จะบอกให้ไปลงทุนซึ่ง PTTOR ที่จะเข้าเทรด กรกฏาคม ปี 2562 อะ ถ้าใครสนใจก็ต้องไปศึกษาเพิ่มเติมเรื่องสัดส่วนทางการเงินอื่นๆ ราคาที่เหมาะสมในการซื้อ ซึ่งข้อมูลที่มีให้อ่านมากมายมหาศาลเลยทีเดียว 5555

--

--