Smarter Faster Better : The Secrets of Being Productive in Life and Business เขียนโดย Charles Duhigg
สนใจอ่านเล่มนี้เพราะชื่อหนังสือ ดูขั้นกว่าไปหมด นึกถึงเพลงของ Daft Punk ชื่อเพลง Harder, Better, Faster, Stronger ผู้เขียนคือ Charles Duhigg (The Power of Habit)
Objective
อ่านเรื่อง Productivity และเริ่มอ่าน Research (เล่มนี้สรุปงานวิจัยไว้แล้วหลายๆงาน แต่มี Link ให้ไปอ่านฉบับเต็ม ผมอ่านในรูปแบบ ebook)
Short Note & Highlight
แรงจูงใจ แรงบันดาลใจ และสภาวะหมดไฟ
- ในเชิงกายภาพสามารถเกิดได้จากหลอดเลือดในสมองส่วน Striatum มีการปริหรือแตก สมองส่วนนี้เองก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคพาร์กินสัน และเรื่องของแรงบันดาลใจหรือสภาวะหมดไฟจริงๆแล้ว สามารถที่จะปรับเปลี่ยนได้เมื่อคนเรามีอำนาจการควบคุม การตัดสินใจแต่ละครั้งไม่ว่าการตัดสินใจจะเล็กหรือน้อยเพียงใดก็ตาม “มนุษย์และสัตว์ชอบเป็นฝ่ายเลือก มากกว่าถูกเลือกให้” จากวารสาร Psychological Science (2011)
- ทีม และ บุคลากร
ที่ Google มีโครงการชื่อ Oxygen ซึ่งเป็นโครงการที่เอาไว้สำรวจและทดสอบว่าทำไมผู้จัดการบางคนถึงทำงานได้มีประสิทธิภาพกว่าคนอื่นๆ ผลลัพท์ที่ได้คือ
1. เป็นผู้ฝึกสอนที่ดี
2. มอบอำนาจให้ทีมและไม่บริหารงานจุกจิก
3. แสดงความสนใจทั้งความสุขและความสำเร็จของลูกน้อง
4. มุ่งเน้นผลลัพท์
5. รับฟังและแชร์ข้อมูล
6. ให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาอาชีพการงาน
7. มีวิสัยทัศน์และกลยุทธ์
8. มีทักษะเฉพาะทางที่สำคัญ
- อีกโครงการของ Google คือ Aristotle ค้นหารูปแบบการจัดทีม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของทักษะหรือความสามารถพิเศษของคนที่อยู่ในทีม ว่ามีความเชื่อมโยงกับความสำเร็จในการทำงานของทีมหรือไม่ ค้นพบว่าลักษณะปัจเจกบุคคล หรือความสามารถเฉพาะ ไม่ได้มีผลกับความสำเร็จของทีม (สำรวจและทดลองกับ 180 ทีม)
- ความฉลาดของทีมถือเป็นคุณสมบัติของทีม ไม่ใช่คนที่อยู่ในทีม เป็นผลลัพท์ของการวิจัยจากมหาวิทยาลัย Carnegie mellon และ MIT ซึ่งวิจัยเรื่องเดียวกันนี้
- การสื่อสารแบบเปิดเผย และการไม่ตัดสิน รวมทั้งการสร้างบรรทัดฐานสำหรับทีม เป็นสิ่งที่ทำให้ทีมเกิดประสิทธิภาพในการทำงาน จากผลวิจัยของ Amy Edmondson
การโฟกัส หรือความจดจ่อ
- Reactive Thinking หรือความคิดเชิงตอบสนอง เป็นการบริหารจัดการความจดจ่อ หรือการโฟกัส เช่น นักกีฬาฝึกซ้อมซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพื่อให้เวลาที่แข่งขันจริง เค้าจะตอบสนองได้เร็วกว่าคู่แข่ง
- ถ้าต้องการจะฝึกความจดจ่อเราต้องฝึกแบบจำลองทางความคิด (จะทำอย่างไรถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้) และเราต้องรู้จักเพิกเฉยกับสิ่งที่ไม่ใช่สาระสำคัญ
- Cognitive Tunneling เป็นความขัดข้องทางความคิดที่เกิดขึ้นได้เมื่อสมองถูกเปลี่ยนจากผ่อนคลายเป็นการจดจ่ออย่างตื่นตระหนก
การกำหนดเป้าหมาย
- SMART : Specific (เฉพาะเจาะจง), Measurable (ประเมินผลได้),Achievable (บรรลุผลได้),Realistic (มีความเป็นไปได้จริง),Timeline (มีกรอบเวลา) แนวคิดนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 1980 โดยบริษัท GE (General Electric) ซึ่งมีไว้เพื่อให้หัวหน้าทีมประเมินและอธิบายเป้าหมายแต่ละไตรมาส
- James N. Baron และ Michael T. Hannan (Standford) ได้ศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กรและการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล ได้แบ่งวัฒนธรรมองค์กรออกเป็น 5 ประเภท (ใช้เวลาวิจัยมากกว่า 10 ปี)
1. วัฒนธรรมดาวเด่น เลือกแต่คนที่จบจากมหาวิทยาลัยชั้นนำและอื่นๆ
2. วัฒนธรรมวิศวกรรม บริษัทเทคโนโลยีต่างๆ ข้อดีคือทุกๆคนจะมีพื้นฐานแบบเดียวกัน แต่ข้อเสียคือบางทีก็จะสนใจการแก้ปัญหาแค่เรื่องเทคนิค
3. วัฒนธรรมที่เป็นพิธีรีตรอง มีรูปแบบและการทำงานชัดเจนตั้งแต่คู่มือการทำงานไปจนถึง แผนผังองค์กร
4. วัฒนธรรมเผด็จการ คล้ายกับวัฒนธรรมที่เป็นพิธีรีตรอง แต่ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของซีอีโอคนเดียว
5. วัฒนธรรมแบบทุ่มเท เติบโตอย่างมั่นคงและค่อยเป็นค่อยไป วัฒนธรรมแบบนี้บางทีถูกมองว่าโบราณและล้าสมัย
การคาดการณ์และตัดสินใจ
- มีงานวิจัยที่ต้องการที่จะตอบคำถามที่ว่า “ทำไมคนเราจึงสามารถคาดการณ์บางอย่างและทำให้เราตัดสินใจได้ ทั้งๆที่เราไม่ได้รู้ความเป็นไปได้ทั้งหมด” Joshua Tenenbaum (MIT) ความเป็นไปได้เกิดได้จากหลายวิธีคิดและคนส่วนใหญ่รู้โดยสัญชาตญาณว่าการคาดการณ์ในแต่ละแบบใช้วิธีการต่างกัน เช่น
- Power law distribution (การกระจายตัวของตัวเลขยกกำลัง) การเห็นเป็นแบบแผนเช่นกรณีการคาดการณ์หนังที่เปิดตัวมาแล้ว ทำรายได้ 60 ล้าน ต่อไปจะทำรายได้ประมาณเท่าไหร่ หรือกระทั่งอายุคนว่าสุดท้ายจะเสียชีวิตเมื่ออายุเท่าไหร่
- Bayesian Psychology หรือ Bayesian Cognition ถูกเผยแพร่เมื่อปี 1763 แต่ยังไม่มีการนำเอาทฤษฎีมาใช้จริง (เป็นทฤษฎีทางสถิติ) จนยุค 1900 เริ่มมีคอมพิวเตอร์ จึงเริ่มใช้ทฤษฎีนี้มาคาดการณ์ และทำนายเรื่องราวต่างๆ
- สมมุติฐานและการคาดการณ์เกิดขึ้นจากการจดจำแบบลำเอียง เช่นนิตยสารจะออกบทความแต่บริษัทที่ระดุมทุนได้เงินจำนวนมาก แต่ไม่ได้เขียนถึงบริษัทที่ทำธุรกิจแบบเดียวกันแต่ล้มละลายไปอีก 2–3 บริษัท เราจะได้รับสื่อ และข้อมูลแบบนี้ ทำให้เราเกิด Bias
- ผู้ประกอบการหลายๆคนใช้เวลาในการหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทที่ล้มละลาย หรือใช้เวลาอยู่กับคนที่ไม่ได้เลื่อนตำแหน่ง หรือกระทั่งติดต่อกับคู่ค้าเพื่อถามความคิดเห็นว่าผิดพลาดตรงไหน *อย่าบอกตัวเองว่าครั้งหน้าทุกๆอย่างจะดีขึ้น หาคำตอบให้ได้ว่าจริงๆแล้วผิดพลาดตรงไหน
- การสร้างสรรค์หรือความคิดสร้างสรรค์คือการนำสิ่งที่มีอยู่แล้วมาผสมผสานกัน แนวคิดนี้ทำให้ Brian ousi และ Ben jones (Northwestern) ทำการวิจัยโดยการนำ ข้อมูลงานวิจัย 17.9 ล้านฉบับ มาทดลองหารูปแบบเพื่อให้เกิดงานวิจัยที่มีความคิดสร้างสรรค์เช่นการนำงานวิจัยของไอน์สไตน์มาจับคู่กับหวังชง(นักปรัชญาจีน) ทำให้งานวิจัยดูน่าสนใจมากขึ้น และมีคนพูดถึง
การซึมซับข้อมูล
- เมื่อเราเจอข้อมูลใหม่ๆ ควรจะจดบันทึกเอาไว้ไม่ว่าจะเป็นรุปแบบของการเขียนหรือแผนภูมิต่างๆ ปัจจุบันมีข้อมูลจำนวนมากทำให้คนเราไม่สามารถตัดสินใจเรื่องราวต่างๆได้(Information Blindness) วิธีทางแก้คืออยู่กับปัญหานั้นๆ และเริ่มตั้งคำถาม กับข้อมูล ก่อนที่จะย่อยข้อมูล จนเกิดความเข้าใจ
Device
ผมอ่านในรูปแบบ Ebook เวลาที่จะ Link ไปอ่านงานวิจัยต่อ หรือค้นหาบุคคลที่ทำงานวิจัยง่ายดีครับ
Opinion
เล่มนี้มีงานวิจัยเยอะดี เนื้อหาทั้งเล่มจะเน้นไปที่การจัดการข้อมูลและการคาดการณ์ไปจนถึงการตัดสินใจ
Target
คนที่ชอบเรื่องเกี่ยวกับ Productivity และชอบอ่านงานวิจัยแบบสรุปมาแล้ว
Writer
Charles Duhigg