The Bullet Journal Method เขียนโดย Ryder Carroll

Jate Saitthiti
NONFICTION BOOK CLUB
2 min readJul 3, 2020

อ่านหนังสือเล่มนี้เพราะสนใจเรื่องวิธีการเรียบเรียงข้อมูล การเขียน Journal, To-do list, Short Note ทั้งหมดรวมอยู่ในที่เดียว เนื่องจากการทำ Bullet Journal จะนำทุกๆส่วนมาประกอบกันเป็นส่วนๆ (Module)

ความน่าสนใจอีกอย่างของหนังสือเล่มนี้คือ Ryder Carroll (ผู้เขียน) เป็นคนสมาธิสั้น (ADD) และยังทำงานออกแบบ Digital Product ต่างๆ ตอนที่เขียนหนังสือเล่มนี้ทำงานออกแบบ Website ผมก็เลยลองอ่านดู

หลังจากอ่านจบผมทดลองทำได้ 2 สัปดาห์ ผมคิดว่าการใช้ The Bullet Journal Method เป็นวิธีการจดบันทึกและเรียบเรียงความคิดได้ดีเลย

* The Bullet Journal Method หรือชื่อย่อคือ บูโจ ซึ่งไม่ได้เป็นภาษาญี่ปุ่น แต่เป็นคำย่อของ BU(llet) JO(urnal)

Short Note & Highlight

The Bullet Journal Method ช่วยให้เราโฟกัสกับสิ่งที่สำคัญและก็กำจัดสิ่งที่ไม่สำคัญทิ้งไป อุปกรณ์ที่ใช้มีแค่สมุดจด กระดาษ และปากกา การเขียนความคิดเราออกมาเป็นข้อๆ เป็นการจัดการความคิด (Mental Inventory)

วิธีการจัดเรียงความคิด (เขียนใส่กระดาษ) แยกออกเป็น 3 แถว
เขียนทุกอย่างที่ “กำลัง” ทำอยู่ตอนนี้
เขียนทุกอย่างที่ “ควรทำ” ตอนนี้
เขียนทุกอย่างที่ “อยาก” ทำตอนนี้

แรายการความคิด(Mental Inventory)

คนเราส่วนใหญ่ “กำลังยุ่ง” แต่ความ “ยุ่ง” ที่ว่า ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ดังนั้นการเขเขียนเรียบเรียงความคิดออกมาจะช่วย ทำให้เราได้ใช้ความคิดว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้น เราทำไปทำไม

ประโยชน์ของการเขียนออกมา (จากปากกาไปที่กระดาษ)
Cognitive Behavioral Therapy — CBT การเขียนระบายเพื่อบำบัด
และการเขียนก็ยังทำให้สมองเสื่อมช้าลง

โครงสร้างและวิธีการสร้าง Bullet Journal

1. Index (ดัชนี) มีไว้สำหรับเนื้อหาโดยเขียนหัวเรื่องและเลขหน้า
เขียนเลขหน้า 1–4 เขียนหัวข้อ ใส่เฉพาะเนื้อหา

2. Future Log (บันทึกอนาคต)
เขียนเลขหน้า 5–8 แบ่งหน้ากระดาษหน้าคู่ออกเป็น 6 ช่อง ใส่เดือนลงไป ใส่งานและเหตุการณ์ในอนาคต

3. Monthly Log (บันทึกประจำเดือน)
เขียนเลขหน้า 9–10 ใส่หัวข้อเป็นชื่อเดือนปัจจุบัน ใส่วันที่เรียงลงมาและงานในเดือนนั้น

4. Daily Log (บันทึกประจำวัน)
ใส่เลขหน้า ใส่วันที่นั้นๆเป็นหัวข้อ เขียนสิ่งที่ต้องทำในวันนั้น รวมถึงบันทึกประจำวัน

5. Collection (คอลเลคชั่น) เสริมขึ้นมาเพื่อบันทึกสิ่งต่างๆ เพื่อเก็บอะไรก็ได้ที่เราต้องการ) คอลเลคชั่นพิเศษเช่น เป้าหมาย หนังสือที่จะอ่าน แล้วแต่เราจะสร้าง

โครงสร้างและวิธีการสร้าง Bullet Journal

*การย้ายข้อมูล กรองเนื้อหาที่ไม่สำคัญออกจากสมุดเดือนละครั้ง

Rapid Logging(เทคนิคในการบันทึกให้เร็ว)
การสร้าง Bullet ต้องเขียนให้กระชับและชัดเจนเพราะเราบันทึกเพื่อให้ตนเองอ่านในอนาคต อย่าให้ความกระชับหรือจดสั้นเกินไปทำให้เวลากลับมาอ่านแล้วไม่เข้าใจ แต่ถ้าเขียนยาวเกินไปการเขียนก็จะกลายเป็นภาระในการเขียนและการกลับมาอ่านก็จะใช้เวลา

เครื่องหมายต่างๆสำหรับการบันทึกให้เร็ว (เขียนไว้หน้าข้อความ หรือการจดบันทึก

แยกประเภทการบันทึกออกมาเป็น 3 ประเภท
1. Task สิ่งที่ต้องทำ
2. Event เหตุการณ์
3. Note ข้อมูลที่จดไว้กันลืม

เวลาที่ประชุมหรือฟังบรรยายเสร็จ อย่าเพิ่งรีบออกจากห้องประชุม นั่งซักพักเพื่อปะติดปะต่อข้อมูลและความรู้ที่ได้รับมา

ครึ่งเล่มหลังๆจะเป็นตัวอย่างของการทำคอลเลคชั่นพิเศษเช่น การทำคอลเลคชั่นการเรียนรู้ การขอบคุณสิ่งที่ต่างๆ หรือการบันทึกความเช้าใจในเรื่องต่างๆ หรือการใช้แนวคิดอย่าง Sprint มาใช้กับการทำ Bullet Journal ตัวอย่างเช่น

เป้าหมายระยะยาว
“อยากทำอาหารเป็น”
เราก็แยก Sprint ที่เป็นไปได้ออกมา
1. เรียนการใช้มีด
2. เรียนรู้วิธีการจี่และการผัดอาหาร
3. เรียนรู้วิธีการซื้อผักสด

*Sprint ต่างจาก Phase คือตัว Sprint เองจะเป็นเป้าหมายเบ็ดเสร็จ และเป็นอิสระ สามารถจบได้ในการทำเป้าหมายนั้นๆ และสามารถทำจบได้ภายในระยะเวลาสั้นๆส่วนการแบ่ง Phase คือการแบ่งระยะต่างๆและไม่จบในตัว

ข้อดีของ Sprint คือถ้าเกิดความเสียหายใน Sprint หนึ่งๆไม่ได้ผล การทิ้ง Sprint นั้นๆก็จะไม่ส่งผลกับ Sprint อื่นๆ

ประโยชน์ของการจดบันทึกที่น่าสนใจอีกข้อนึงคือการจดจ่อกับสิ่งที่ต้องทำ เพื่อสร้าง “คุณภาพของเวลา” ในการทำสิ่งนั้นๆ และเราสามารถใช้การจดบันทึกเพื่อ “ทบทวน” แผนที่เราวางเอาไว้ได้
วางแผน > ทำ > ตรวจสอบ > นำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาปฎิบัติ

สุดท้ายแล้วการจดบันทึกหรือการบริหารคุณภาพของเวลาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตก็ต้องใช้ความ “สม่ำเสมอ” เพื่อทำให้เกิดขึ้น

Opinion
เป็นหนังสือที่อธิบายวิธีการสร้าง Bullet Journal อย่างเป็นระบบและสามารถยืดหยุ่นและแต่ละคนสามารถปรับใช้ได้โดยที่ไม่ต้องยืดติดกับรูปแบบเพราะมีส่วนคอลเลคชั่นพิเศษ ไปจนถึงการใช้สัญลักษณ์ในการบันทึก ครึ่งหลังของเล่มเป็นตัวอย่างคอลเลคชั่นพิเศษ และพูดถึงการบันทึก รวมทั้งแนวคิดต่างๆ อ่านแล้วสนุกดีครับ

Device
เล่มนี้ตอนแรกผมซื้อเป็น audiobook แต่มาจบที่หนังสือเป็นเล่มแปลไทยโดยสำนักพิมพ์ Bookscape เพราะว่าจะมีภาพประกอบที่อธิบายการเรียบเรียง รวมถึงการใช้สัญลักษณ์ต่างๆที่ชัดเจนกว่า

Writer
Ryder Carroll

--

--