The Little Book of Behavioral Investing เขียนโดย James Montier

Jate Saitthiti
NONFICTION BOOK CLUB
2 min readMar 3, 2020

เป็นหนังสือเกี่ยวกับจิตวิทยาการลงทุนซึ่งผมคิดว่า เหมาะกับสถานการณ์การลงทุนในปัจจุบัน (28/02/20) ความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้คือการยกตัวอย่างกรณีศึกษา และทฤษฎีในเชิงจิตวิทยาซึ่งเขียนโดย James Montier

Highlight & Short Note

กรณีศึกษา : Sir John Templeton ใช้กลยุทธ์การลงทุนสำหรับกองทุน Templeton คือการที่เค้าจะมีรายชื่อ”หุ้นเป้าหมาย ที่ผลประกอบการดีแต่ราคาสูงเกินไป” และสั่งซื้อเอาไว้ก่อน เมื่อราคาของหุ้นเหล่านั้นตกลงมา

จิตวิทยา : Empathy Gap คือช่องว่างระหว่างความสามารถของการเข้าใจ รู้สึก และรับรู้เช่น เมื่อทานอาหารเสร็จ เราก็จะไม่รู้สึกหิว หรือคิดในทางตรงข้าม เราไม่ควรเข้าไปซื้อของในซุปเปอร์มาร์เก็ตเมื่อเรากำลังหิว (จะทำให้ซื้ออาหารมากเกินไป)

Procrastinate (การผลัดวันประกันพรุ่ง) ก็เป็นอีกตัวแปรนึงในการทำให้เกิด Emphathy Gap เมือมีสิ่งที่ต้องทำหรือต้องตัดสินใจคนเราส่วนใหญ่อยากเลื่อนเวลาออกไปเรื่อยๆ

วิธีการแก้ปัญหากับดักเชิงพฤติกรรมของ Emphathy Gap และการผลัดวันประกันพรุ่งคือการให้คำมั่นสัญญาเอาไว้ล่วงหน้า (Pre-commitment)

Seth Klarman (Baupost Group) พูดถึงเรื่อง Panic Selling ไว้ได้น่าสนใจดังนี้
“Panic Selling หรือการขายด้วยความตื่นตระหนก จะเกิดขึ้นกระทันหัน จึงเป็นไปไม่ได้ที่ผู้ขายจะตัดสินใจขายด้วยข้อมูลที่ดี และเมื่อเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำให้แน่ใจได้ว่าการตัดสินใจของพวกเขาไม่ได้ใช้หลักการพื้นฐานการลงทุนเลย”

กรณีศึกษา : “นักลงทุนที่ขาดทุนจำนวนมากเกิดจากการซื้อหลักทรัพย์หรือหุ้นที่ไม่มีคุณภาพในขณะที่เงื่อนไขทางธุรกิจกำลังดี ผู้ซื้อคิดว่าผลดำเนินการที่ดีในปัจจุบัน ความสามารถในการทำกำไร และการเติบโตของธุรกิจนั้นปลอดภัย”
Benjamin Graham

จิตวิทยา : Over Optimism (การมองโลกในแง่ดี”เกินไป”)อาจจะกลายเป็น”อคติจากการเข้าข้างตนเอง” หรือ Self-Serving Bias แบบหนึ่งเพราะการมองโลกในแง่ดีมากเกินไปสามารถทำให้เกิด illusion of control หรือคิดว่าเราสามารถควบคุมสิ่งต่างๆได้

ซึ่งการมองโลกในแง่ดีเป็นกลยุทธ์ที่ดีในการดำรงชีวิต แต่ไม่ใช่สำหรับการลงทุน

วิธีการแก้ปัญหา : ถามตัวเองเสมอว่าเราต้องเชื่อเรื่องนี้มั๊ย? หรือเราเชื่อเรื่องนี้ได้มั๊ย? เพราะอะไรถึงต้องเชือ

การคาดการณ์การลงทุนต่างๆ รวมไปจนถึงบทวิเคราะห์ ถ้าหากเกิดความผิดพลาดคนวิเคราะห์ก็จะมีข้อแก้ตัวดังนี้

  1. ขึ้นต้นประโยคว่า “ถ้าเพียงแต่” เช่น ถ้าเพียงแต่ธนาคารลดดอกเบี้ย หรืออื่นๆ ซึ่งเป็นการบอกว่าถ้ามีคนนำข้อแนะนำของเค้าไปปฎิบัติ มันจะเกิดผลลัพท์แบบที่เค้าวิเคราะห์
  2. “มีปัจจัยที่นอกเหนือจากปัจจัยคงที่” ซึ่งก็แปลว่าสิ่งที่วิเคราะห์หรือประเมินถ้าไม่มีปัจจัยภายนอกเข้ามา ผลลัพท์มันจะเป็นไปตามที่วิเคราะห์
  3. “ใกล้เคียง” กับที่ประมาณการ แปลว่า เกือบถูกแล้ว แต่ประเมินออกมาใกล้เคียง
  4. “ยังไม่เกิดขึ้น” ต้องการจะสื่อว่าการวิเคราะห์นี้ถูกต้องแล้ว แต่มันยังไม่เกิดขึ้น

Howard Marks (Oaktree Capital) พูดถึงเรื่องการคาดการณ์ว่า
“คุณไม่สามารถคาดการณ์ได้ แต่คุณสามารถเตรียมตัวสำหรับการลงทุนได้”

Placebic Information คือ ข้อมูลที่มีผลทางจิตใจแต่ไม่มีประโยชน์ในการตัดสินใจ
ข้อมูลประเภทนี้จะมีมากในสื่อประเภทต่างๆไม่ว่าจะเป็นทีวี บทความ หรืออื่นๆ ในทางการลงทุนจะเห็นข่าวดีมากกว่าข่าวร้ายช่วงเวลาที่ตลาดเติบโต และในขณะเดียวกันเมื่อตลาดตกต่ำก็จะเห็นแต่ข่าวร้ายตามสื่อต่างๆ

กรณีศึกษา: Robert Williamson (Williamson McAree Investment Partners) มักจะถามหรือขอข้อมูลจากคนที่มีความคิดเห็นตรงข้ามกับเขาเสมอก่อนที่จะวิเคราะห์ธุรกิจต่างๆ

จิตวิทยา : คนส่วนใหญ่จะเลือกอ่านหรือคุยกับคนที่เห็นด้วยกับเรามากที่สุดส่วนนี้ก็เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความอคติ หรือความลำเอียงเช่นกัน

วิธีแก้ปัญหา : เลือกอ่านหรือคุยกับคนที่เห็นไม่ตรงกับเราเพื่อให้ได้มุมมองมากขึ้น และลดเรื่องของความอคติ

Sunk Cost Fallacy (ต้นทุนจม) คือมูลค่าที่เราเสียไปแล้วไม่สามารถเรียกคืนกลับมาได้ ไม่ว่าสถานการณ์ปัจจุบันจะเปลี่ยนไปอย่างไรก็ตาม ไม่ควรเอามาคิดกับสถานการณ์ปัจจุบัน

เรื่องราวของหุ้นตัวต่างๆจะมีผลกับอารมณ์หรือความต้องการในการลงทุน หุ้นที่มีข่าวที่ดีหรือกระทั่งเคยมีผลประกอบการที่ดี จะมีนักลงทุนอยากลงทุนเสมอ ในขณะเดียวกันหุ้นที่เคยมีผลประกอบการที่ไม่ดี ก็จะไม่ค่อยเป็นที่้สนใจ ซึ่งเรื่องราวของหุ้นจริงๆแล้วไม่ได้มีผลอะไรกับการทำกำไร หรือผลประกอบการนั้นๆ

ในขณะเดียวกันหุ้น IPO ก็จะเป็นหุ้นที่นักลงทุนส่วนใหญ่ให้ความสนใจ และมีแต่ข่าวดีๆ ซึ่งก็ไม่ได้เกี่ยวกับผลประกอบการหรือผลกำไรเช่นกัน

สิ่งที่ควรจะสังเกตุทุกครั้งเกี่ยวกับเรื่องราวหรือข่าวของหุ้นตัวต่างๆคือเราต้องประเมินมูลค่าหุ้น หรือหาข้อเท็จจริงจากสินทรัพย์ กำไร หรือปันผล เสมอๆก่อนที่จะลงทุน

John Stuart Mill สร้างแบบจำลองของการเกิดวิกฤติไว้ตั้งแต่ปี 1867
เป็นขั้นตอนตามนี้

Displacement : การลดข้อจำกัด
จะมีอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งที่ทำผลตอบแทนได้ดีกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆมา โดยที่โอกาสทำกำไรจะมากกว่าโอกาสขาดทุน

Create Creation : การขยายสินเชื่อ
เมื่ออุตสาหกรรมนั้นเติบโตก็จะมีสินเชื่อ และผลิตภัณฑ์ทางการเงินมากมายที่จะทำให้เกิดการเติยโตมากขึ้นไปอีก

Euphoria : การหลงระเริง
เมื่อราคาหุ้น หรืออัตราการทำกำไรนั้นสูงขึ้นไปเรื่อยๆก็จะเกิดการประเมินราคาแบบใหม่ และยกเลิกมาตรฐานแบบเดิม รวมทั้งการมองโลกในแง่ดีมากเกินไปรวมทั้งความมั่นใจของนักลงทุน

Critical Stage : ระยะวิกฤติ
หนี้เติบโตอย่างรวดเร็ว และเกิดการกู้ยืมมากขึ้น

Revulsion : การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากตลาดขาขึ้นกลายเป็นตลาดขาลง

Endownment Effect พฤติกรรมที่จะกำหนดราคาของสิ่งของที่ตนเองเป็นเจ้าของสูงกว่าคนอื่น เมื่อคุณเป็นเจ้าของบางอย่าง คุณจะเริ่มกำหนดมูลค่าของสิ่งนั้นสูงกว่าคนอื่นกำหนด ซึ่งก็จะมีผลทำให้ลังเลที่จะขาย ไม่ว่าจะเป็นหุ้นหรือสิ่งอื่นๆก็ตาม

Opinion
เป็นหนังสือที่เหมาะกับการอ่านเป็นตอนๆ เนื่องจากไม่ได้เชื่อมโยงอะไรกันมาก

Device
หนังสือขนาดเล่มไม่ใหญ่ ตามชื่อ The Little Book Of. … จะอ่านเป็นเล่มหรือ ebook ก็ได้ครับ

--

--