งาน WordCamp Bangkok 2018

Notjiam
Notjiam
Published in
3 min readFeb 19, 2018

ล่าสุดได้ไปร่วมงาน WordCamp Bangkok 2018 เลยอยากมาสรุปคร่าวๆ สำหรับคนที่พลาดงานนี้ไปครับ

ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็ได้ไปมาและเขียนเป็นบล็อคเอาไว้ สามารถเข้าไปดูได้ที่

โดยงานในปีนี้จะแบ่งเป็น 2 วัน คือ Contributor Day และ Conference Day

Contributor Day

เนื่องด้วยตัว WordPress เป็น Open Source การที่จะทำให้ตัว WP ดีขึ้นได้ พวกเราต้องช่วยกัน ดังนั้นวันแรกจะเป็นวันที่เปิดให้คนที่สนใจเข้ามาช่วยทำ WordPress ให้ดีขึ้น โดยแบ่งเป็นหลายๆ ด้าน เช่น Core, CLI ซึ่งสองทีมนี้จะเทพมาก, Theme ทำหน้าที่รีวิว Theme ก่อนขึ้น WordPress ซึ่งผมอยู่ทีมนี้, Community, Polyglots แปล WordPress ให้เป็นภาษาไทย และ User Manual for Thai เป็นการสร้างคู่มือการใช้ภาษาไทย ซึ่งเสร็จออกมาแล้วอยู่ที่ https://wpman.org/

Themes Review

วัน Contributor ผมได้มาอยู่ทีม Theme นี้ซึ่ง Lead ของทีมคือคุณ Ulrich (พึ่งรู้ภายหลังว่าเป็นหนึ่งใน Contributor ของ Theme _s https://underscores.me/ ด้วย) ซึ่ง Themes Review จะทำหน้าที่ตรวจสอบ Theme ที่มีคนส่งเข้ามา ก่อนที่จะขึ้นให้คนทั่วไปโหลดไปใช้ได้อย่างฟรีๆ

ซึ่งขั้นตอนในการรีวิว โดยจะมีหลักการตามนี้ ซึ่งจะเป็นเรื่องความปลอดภัยและความถูกต้อง เมื่อเราสมัครเข้าไปที่ https://make.wordpress.org/ แล้ว เขาจะให้เราเริ่มรีวิว โดยจะส่ง Ticket มาให้ พร้อมกับไฟล์ Theme ที่ต้องรีวิว

ซึ่งคนที่จะรีวิวได้แนะนำว่าต้องมีประสบการณ์พอสมควร โดยในงาน คุณ Ulrich ก็มาทำให้ดูเป็นตัวอย่างทีละสเต็ป ตั้งแต่เริ่มรีวิว Theme ไล่ code ไปทีละบรรทัด และอธิบายว่า code นี้ทำงานยังไง หรือมีติดปัญหาอะไร แก้ยังไง แล้ว comment กลับไปให้เจ้าของ Theme ที่ส่งมารีวิว ซึ่งถือว่าได้ประโยชน์มากๆ

Conference Day

วันนี้จะเป็นวัน conference ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ห้อง ใครสนใจหัวข้อไหนก็เข้าไปฟังกันได้

เริ่มด้วย Marketing Tools for WordPress

ซึ่งในหัวข้อนี้จะเป็นการแนะนำ Tools ด้าน Marketing ของ WordPress ที่ทาง https://www.contentshifu.com/ ได้ลองใช้มาแนะนำ (แต่เดี๋ยวผมเลือกมาเฉพาะตัวที่ผมสนใจ เพราะแนะนำเยอะมากๆ )

Pretty — ตัวแรกเป็น Plugin ที่สามารถทำ Short Link ได้แบบเว็บ bit.ly เลย ซึ่งสามารถเก็บสถิติในแต่ละ Short Link ที่เราแชร์ไปได้

Smush Image — ไว้สำหรับลดขนาดไฟล์รูป ย่อรูป ส่วนตัวยังไม่เคยลองใช้ แต่น่าสนใจทีเดียว

Table of Contents Plus — ตัวนี้แนะนำครับมีลูกค้าก็ใช้อยู่ เป็นการสรุปข้อมูลในบทความให้เป็นเหมือนสารบัญ

H5P — ไว้สำหรับทำ Quiz ในบทความเราได้เลยหรือจะเป็นพวก Interactive content อื่นๆ ถือว่าน่าสนใจมากๆ

Broken Link checker ไว้เช็คว่าเว็บของเรามี Link เสียหรือไม่ ซึ่งมีผลกับ Seo มากๆ

All In One Schema Rich Snippetsตัวนี้ไว้สำหรับสร้าง Schema ใน code ของเราตามหลัก schema.org ซึ่งจะมีผลกับการแสดงผลใน Google ด้วย

ในช่วง Q&A ชอบคำถามตอบอันนึงมาก มีคนถามว่า “เราควรทำ A/B Testing หรือเปล่า”

คำตอบคือ ถ้าคนที่เข้ามามีจำนวนเยอะมากพอที่ให้การเปลี่ยนอะไรนิดเดียว มีผลกับธุรกิจ เช่นเปลี่ยนแล้ว conversion rates เพิ่มขึ้น 0.1% แต่นั้นคือยอดขาย 10 ล้าน ก็ควรทำ แต่ถ้าทำแล้ว ผลกระทบมีน้อยมากๆ เอาเวลาไปสร้างสรรค์อย่างอื่นดีกว่า

Design (Language) System

มีพี่นนท์ mp3wizard เป็นผู้บรรยาย เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับ Design System ซึ่งเป็นเทรนด์ในช่วงนี้สำหรับบริษัทใหญ่ๆ เลย

หลักการ Design ให้มองเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ทำให้ทุกคนในองค์กรเห็นภาพในทางเดียวกัน เป็น “Single Source of Truth” และทำให้ทุกคนทำงานได้เร็วขึ้น

โดยการ Design ต้องมองภาพรวมที่ใหญ่ที่สุดและลงมือทำจากจุดที่เล็กที่สุด ซึ่งจะสอดคล้องกับแนวความคิด Atomic Design ที่เริ่มจาก element เล็กๆ แล้วประกอบกันเป็นภาพที่ใหญ่ขึ้น

http://atomicdesign.bradfrost.com/table-of-contents/

มีตัวอย่างงาน Design System ของบริษัทดังๆ ที่น่าสนใจ

How Git Version Control change my life

ตอนมาเป็นหัวข้อเกี่ยวกับ Git ซึ่งตอนแรกเข้าใจว่าเป็นหัวข้อเกี่ยวกับการทำงานด้วย Git กับ Wordpress แต่ในหัวข้อนี้จะพูดถึง Plugin ตัวนึงชื่อว่า GitHub Updater

ซึ่งทำหน้าที่เช็คว่าเมื่อไหร่ที่ Git มีการ update code ใหม่ ก็จะทำการ ดึง code ล่าสุดลงมาที่ Wordpress อัตโนมัติเลย สามารถใช้ได้กับ PlugIn และ Theme โดยเราต้องทำการตั้งค่า Repository และ Web Hook จาก Git ให้กับ PlugIn

สะดวกมากๆ สำหรับคนที่ทำ Theme แล้ว Push ขึ้น Git เหมือนเป็นตัว Deploy ให้เรา แต่เสียดายตรงที่ว่าใช้ได้แค่ 1 Repository ต่อเว็บเท่านั้น

ก้าวแรกสู่สังเวียน WordPress

เป็นการเล่าประสบการณ์ของพี่ปุ๋ย http://www.somkiat.cc/ ว่าตอนเริ่มใช้เจอปัญหาและคำแนะนำอะไรบ้าง

หลักๆ จะเป็นเรื่อง Plugin ที่ต้องดูดีๆ ว่ามีผลกระทบอะไรกับเว็บเราไหม เช่นถ้าพวก Plugin เก็บ Analytics อาจจะต้องต่อ Database ตลอดเวลา ซึ่งทำให้กินทรัพยากรเครื่องมากเกินไป

หรือพวกระบบ Comment ถ้าเป็นไปได้อยากใช้ที่มากับ WordPress เพราะเป็นตัวเรียก Spam อย่างดีเลย

และต้อง limit การเก็บ revision ตอนเขียนบทความ เพราะมันจะ Auto Save เรื่อยๆ ทำให้ Database บวมขึ้นเรื่อยๆ (แถม code limit revision ให้ครับ ใส่ใน wp-config.php จากโค้ดด้านล่างให้เก็บย้อนหลังแค่ 3 เวอร์ชั่น)

define( 'WP_POST_REVISIONS', 3 );

และสำคัญที่สุด

“เวลาเขียนบทความควรมี Draft ได้แค่อันเดียว”

เพราะเมื่อมี Draft มากกว่า 1 อัน คุณก็จะกอง Draft นั้นไว้และไม่ได้เขียนต่ออีกเลย (ส่วนตัวอันนี้จริงเลย 555 )

Cache ยังไงให้เร็วประดุจฟ้าแลบ

ตอนแรกเข้าใจว่าอาจจะเป็นการสอนเรื่องการใช้ Plugin cache ต่างๆ แต่พอเห็นชื่อวิทยากร คุณโดม จาก https://dome.cloud/ ก็คิดว่าไม่น่าจะเป็น Plugin ธรรมดาละ

โดยช่วงแรกเป็นการเล่าประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยที่เขาทำงานกับโอเปอเรเตอร์ต่างๆ ซึ่งต้องรองรับ transactions มหาศาล ไปจนถึงความจำเป็นที่ต้องใช้ WordPress สนุกมาก

แล้วก็เข้ามาถึงเรื่อง Cache ซึ่ง concept คร่าวๆ จะคล้ายๆ กับแนว Plugin ทำ Cache ทั่วไปเช่นพวก W3C Total Cache หรือ WP Supper Cache คือการทำให้หน้าเว็บเป็นไฟล์ static ที่เป็น HTML ธรรมดา เมื่อมีคนเข้าครั้งต่อไป ก็หยิบไฟล์นั้นไปแสดงเลย

แต่ในที่นี้จะเก็บ Cache โดยใช้ Nginx แล้วเขียนสคริปต์ด้วย Lua เข้าไป เพื่อเช็คว่ามี Request ที่เข้ามามี Cache หรือเปล่า ทำให้ไม่ต้องแตะตัว PHP เลย ซึ่งทำให้เร็วและรับ Load ได้เยอะมาก

แต่จำเป็นต้องลง PlugIn Nginx Hepler เพื่อเวลามีการ update content หรือมีการสร้าง Post ใหม่ ให้ไป Clear Cache ใน Nginx อีกที

กับอีกตัวที่แนะนำคือ Redis Object Cache จะเป็นการเก็บ Cache Database ที่ Query ซ้ำๆ กันลง Redis ซึ่งเร็วมากๆ

สุดท้ายประทับใจงาน WordCamp Bangkok 2018 ปีนี้มาก ที่ชอบจากปีที่แล้วคือป้ายชื่อที่ด้านหลังเป็นตารางงาน ปีนี้มาเป็นเล่มเลย ชอบมาก

ขอบคุณทีมงานและวิทยากรทุกคนมากครับ สำหรับงานปีนี้ ปีหน้าไม่พลาดแน่นอน

--

--

Notjiam
Notjiam

iOS Android app design, Web design, Animator, Dreamer