กับดักของการเรียนรู้จากค.สำเร็จ

Chokchai Phatharamalai
odds.team
Published in
1 min readMay 30, 2019

ในอุสาหกรรมการผลิตสินค้า บ่อยครั้งที่เราจะไปเรียนรู้จากค.สำเร็จ คนที่ประสบค.สำเร็จมักจะแชร์ปัจจัยบางข้อจากประสบการณ์ของเค้า ส่วนใหญ่ปัจจัยพวกนี้จะเป็นที่รู้กันว่าเป็น best practice แล้วคนก็ทำตาม ๆ กัน

“Footsteps in the snow” by Philip Halling is licensed under CC BY-SA 2.0

เพราะผู้คนเชื่อว่าปัจจัยนี้จะนำไปสู่ค.สำเร็จ การเรียนรู้ก็จะมุ่งเน้นไปที่การทำ ‘สิ่งนี้’ ให้ดี อย่างไรก็ดี ในชีวิตจริง มีคนมากมายที่ล้มไม่เป็นท่าหลังจากลองทำ ‘สิ่งนี้’

ทำไม ‘สิ่งนึ้’ ถึงไม่ทำให้คนอื่น ๆ เค้าสำเร็จตามคนแรกหล่ะ? ทำตามคนอื่นมันผิดตรงไหน?

ค.สัมพันธ์กับสาเหตุเป็นของแยกจากกัน

มาทำค.รู้จักค.แตกต่างระหว่าง ค.สัมพันธ์ กับ สาเหตุกันก่อน ตัวอย่างเช่น

ไอศกรีมเป็นสาเหตุให้คนจมน้ำตายไหม?

สองสิ่งนี้สัมพันธ์กัน เมื่อยอดขายไอศกรีมสูงขึ้น อัตราการจมน้ำตายก็สูงขึ้นตาม อย่างไรก็ดี ไอศกรีมไม่ได้เป็นสาเหตุของการจมน้ำตาย อากาศร้อนต่างหากที่เพิ่มทั้งยอดขายไอศกรีมและอัตราการจมน้ำ

บางทีเราสับสนระหว่างค.สัมพันธ์กับสาเหตุ ‘สิ่งนี้’ ที่เราลองทำตาม อาจจะแค่สัมพันธ์กับค.สำเร็จ แต่ไม่ได้เป็นสาเหตุของค.สำเร็จก็ได้ ถึงเราจะได้ผลกระทบดี ๆ จากการลองทำ ‘สิ่งนี้’ ก็ตาม

สาเหตุมีหลายประเภท

เราควรเข้าใจประเภทของสาเหตุด้วยว่ามีอะไรบ้าง? มันเพียงพอกับค.สำเร็จไหม? แล้วมันจำเป็นสำหรับค.สำเร็จรึเปล่า?

น้อยครั้งมากที่เราจะพบว่า ‘สิ่งนี้’ เพียงพอสำหรับค.สำเร็จ ถ้า ‘สิ่งนี้’ มันเพียงพอ ทำแค่ ‘สิ่งนี้’ อย่างเดียวก็ต้องสำเร็จไปแล้ว แต่ในค.เป็นจริงมันมักจะมีปัจจัยอื่น ๆ ซ่อนอยู่ แถมปัจจัยพวกนั้นดันจำเป็นสำหรับค.สำเร็จซะด้วย

และน้อยครั้งมากที่เราจะพบว่า ‘สิ่งนี้’ จำเป็นสำหรับค.สำเร็จ เมื่อ ‘สิ่งนี้’ จำเป็นแปลว่า ถ้าไม่ทำ ‘สิ่งนี้’ จะต้องล้มเหลวแน่นอน แต่ในชีวิตจริง เรามักจะพบทางเลือกอื่นนอกจาก ‘สิ่งนี้’ เสมอ

System thinking

การค้นหาสาเหตุเป็นขั้นตอนที่ดีไปสู่การเรียนรู้ที่แท้จริง แต่แค่นั้นมันไม่พอ

ระบบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นกลไกที่ซับซ้อน ซึ่งแปลว่าสาเหตุและผลกระทบจะมีระยะห่างทั้งในแกนสถานที่และเวลา บ่อยครั้งเราจะเห็นแต่ผลกระทบระยะสั้นในพื้นที่นั้น ๆ โดยที่ไม่สำรวจดูผลกระทบระยะยาวต่อภาพรวมเลย แล้วเราก็ล้มไม่เป็นท่าเพราะการยึดเอา ‘สิ่งนี้’ เป็นคำตอบตลอดกาลในมุมมองแคบ ๆ ของเรา

ในทางกลับกัน เราควรใช้ system thinking ในการเรียนรู้จากค.สำเร็จ system thinking เป็นเครื่องมืออันทรงพลังในการทำค.เข้าใจกลไกที่ซับซ้อน มันไม่เป็นเป็นแค่เครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหา แต่ยังเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนรู้อีกด้วย

เราเริ่มจาการถามคำถามเหล่านี้

‘สิ่งนี้’ มีผลกระทบกับส่วนอื่น ๆ ในระบบยังไงนะ?

พอเวลาดำเนินไปแล้ว พฤติกรรมมันเปลี่ยนแปลงไปยังไงบ้างนะ?

โครงสร้างที่รองรับและแนวความเชื่อ (mental model) เป็นยังไงนะ?

สรุป

การเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดไม่ได้อยู่ที่ ‘สิ่งนี้’ แต่อยู่ที่สาเหตุเบื้องหลัง

เมื่อเราเริ่มเข้าใจเหตุผล เริ่มวิเคราะห์เองเสร็จแล้ว เมื่อนั้นแหละ ค่อยให้ค.สำคัญกับการทำ ‘สิ่งนี้’ ให้ดีที่สุด หลังจากทำ ‘สิ่งนี้’ จนติดแล้ว ค่อยมาสำรวจแล้วก็ปรับปรุงต่อไปตามสถานการณ์ เพราะมันไม่มีอะไรแน่นอน และตายตัวตลอดกาล

ผมก็ประยุกต์สิ่งนี้กับการเรียนรู้ LeSS เหมือนกัน framework ของ LeSS ประกอบด้วยแนวปฏิบัติชุดนึง (1 backlog, 1 product owner, feature team, requirement area เป็นต้น) อย่างไรก็ดี การเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดก็ได้มาจากการทำค.เข้าใจเหตุผล ถ้าเมื่อไหร่ที่เราลอก LeSS ไปใช้ แล้วยึดว่ามันเป็นสิ่งแน่นอน และไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ผมวางตังค์เลยว่าเราก็จะล้มไม่เป็นท่าเหมือนกัน :)

Credits

บทความนี้ผมไม่ได้คิดเอง ผมเห็น Lv Yi เขียนไว้ดี อ่านแล้วชอบ เลยแปลมาเป็นภาษาตัวเอง สามารถตามไปอ่านต้นฉบับได้ที่ The trap in learning from success ครับ

--

--