การเคลียร์คิวใช้เวลามากกว่าการสร้างมัน

Chokchai Phatharamalai
odds.team
Published in
1 min readFeb 14, 2019

ผมเคยขับรถติด ๆ มา ติดอยู่นานมากจนอดเดาไม่ได้ว่าข้างหน้ามันต้องมีอุบัติเหตุแน่ ๆ พอพ้นช่วงติดมา ถนนโล่งซะงั้น!? จนอดเปรยออกมาไม่ได้ว่า

ติดอะไรของมันวะ?

credit jose for making it available through CC at https://flic.kr/p/CVTZq

โชคดีมาก ครั้งนั้นมีเพื่อนชื่อโจ้ นั่งอยู่ในรถด้วย และเค้ามีไอเดียว่าจะตอบคำถามนี้อย่างไร โจ้ตอบว่า

ติดคนเบรคเมื่อชั่วโมงที่แล้วไงครับ รถมันวิ่งมาด้วยความเร็วเท่า ๆ กัน ต่อคิวกันเหมือนงู พอคนนึงเบรค ไอ้ข้างหลังก็ต้องเบรคตาม มันก็เกิดขมวดขึ้นในเส้น แล้วกว่าขมวดนี้จะหาย มันใช้เวลานาน

จังหวะนั่นเอง ผมเห็น ‘ห่วงโซ่แห่งความเบรค’ ขึ้นมาในหัวเลย ต้องขอบคุณโจ้ที่ทำให้ผมเข้าใจเรื่องนี้

credit Oliver Dunkley for making it available through CC at https://flic.kr/p/arRb8p

ตั้งแต่นั้นมา เวลาขับรถ ผมจะคิดมากขึ้นเวลาเบรค ความปลอดภัยและการขับรถนิ่ม ๆ ยังสำคัญเหมือนเดิม ที่เพิ่มเติมคือผมระลึกว่าการเหยียบเบรค มันทำให้ช้าลงทั้งระบบ

นอกจากการขับรถ ห่วงโซ่แห่งความเบรคก็ช่วยให้ผมเข้าใจ queue theory มากขึ้นด้วย หนังสือ Scaling Lean and Agile Development สอนผมว่า อย่าแก้ปัญหาคิวยาว ด้วยการเพิ่มอีกคิวนึง เพราะ มันจะไม่ทำให้อะไรเร็วขึ้น ซ้ำร้าย อาจจะช้าลง

ลองนึกภาพถนนที่รถติดๆ แล้วเราก็เลยเสกถนนเส้นใหม่ที่คู่ขนานกันขึ้นมา ซึ่งมันทำให้รองรับรถได้มากขึ้นก็จริง แต่ตรงปลายทางที่ถนนต้องมาบรรจบกันก็จะเกิดห่วงโซ่แห่งความเบรคอยู่ดี

ตอนเป็นคิวของรถมันเห็นภาพง่ายเนอะ พอเป็นคิวของงานมันกลับมองย๊ากกกกยาก… เนอะ

Credit: โจ้ที่ทำให้ผมเข้าใจ ห่วงโซ่แห่งความเบรค

--

--