ของสาธารณะที่ยั่งยืน

Chokchai Phatharamalai
odds.team
Published in
2 min readOct 3, 2019

ใน LeSS Conference 2019 วันที่สอง Craig Larman มาเล่าเรื่อง Chicken Breeding and the Core Design Principles

วันนี้ผมจะเอาสิ่งที่ผมได้เรียนรู้จาก core design principles มาเล่าให้ฟัง

Tragedy of Commons

ก่อนไปถึงเรื่อง core design principles ของเท้าความถึง tragedy of commons ก่อน มีหนังสือหลายเล่มและงานวิจัยหลายงานอธิบาย tragedy of commons ไว้ว่า ของที่เราจับเราใช้อยู่คนเดียวไม่เละหรอก พอแชร์หลาย ๆ มือเท่านั้นแหละ เละ

แต่ Elinor Ostrom บอกว่าในหนังสือว่าไม่เสมอไป เธอได้ศึกษาในหลาย ๆ บริบทที่ของสาธารณะถูกดูแลรักษาอย่างยั่งยืนโดยไม่เละ ของสาธารณะ (commons) อาจจะเป็น โค้ด, ห้องน้ำ, วัฒนธรรม, เงิน, แบรนด์ หรืออะไรก็ได้ และเธอก็สรุป pattern ขององค์ประกอบที่เหมือนกันของบริบทเหล่านี้ สรุปออกมาเป็น 8 core design principles

ใน talk ของ Craig เค้าให้ทำงานกลุ่มเพื่อสรุป 8 core principles กลุ่มผมได้ mindmap หน้าตาแบบข้างล่างออกมา

Collective-choice agreements

ข้อตกลงของกลุ่ม จะต้องเกิดอย่างอิสระ (ไม่มีใครมาสั่ง) และเป็นเอกฉันท์

Monitoring agreed behaviors

ถ้ามีใครไม่ทำตามข้อตกลงที่คุยกันไว้ ต้องมี monitor ให้รู้ตัวเร็ว ๆ ก่อนความเสียหายจะลุกลาม

Graduated sanctions

peer pressure นั้นเพียงพอที่จะรักษาระเบียบไว้ได้ในช่วงแรก ๆ แต่ถ้าจะให้ยั่งยืนต้องมีการตกลงกันว่าถ้าไม่ทำตามกฏเกณฑ์ที่ตกลงกันไว้ จะมีการลงโทษอย่างไร

Conflict resolutions

ถ้ามีความขัดแย้งเกิดขึ้น ต้องตกลงกันว่าจะ resolve conflict อย่างไร

Local autonomy

การใช้งานของส่วนรวม ถ้าไม่ขัดกับข้อตกลง สามารถใช้หรือดูแลปรับปรุงได้เอง ไม่ต้องขออนุญาตใคร

Boundaries

ต้องมีขอบเขตชัดเจนว่าอะไรเป็นส่วนตัว อะไรเป็นส่วนรวม

Proportional of benefits and costs

การแบ่งสิทธิ์ใช้งานต้องเป็นธรรม ใครทำมากได้มีสิทธิ์มาก ใครทำน้อยมีสิทธิ์น้อย

Interaction with other groups

ในกรณีที่กลุ่มเป็นกลุ่มย่อย (รวมกันกับกลุ่มย่อยอื่น ๆ กลายเป็นกลุ่มใหญ่) ต้องมีการตกลงกันว่าจะต้องคุยกันข้ามกลุ่มเมื่อไหร่ มาคุยรวมกันตอนไหน

ผมลองเปลี่ยน commons เป็นโค้ด, วัฒนธรรม, ชื่อเสียง, กำลังคน พบว่าเป็น exercise ที่สนุกมาก อยากชวนให้ลองเล่นดู ถ้าได้อะไรเจ๋ง ๆ มาแบ่งปันกันหน่อยนะครับ

--

--