ความงาม ปรากฏการณ์ ปัจเจก : เมื่อความงามไม่ใช่เรื่องของปัจเจก

Sarawuth Chinbenjapol
odds.team
Published in
2 min readMay 30, 2024

หลังจากกระแสร้อนแรงของป้ายกรุงเทพใหม่ และได้อ่านคอมเม้นต์ที่หลากหลาย นานาจิตตัง บ้างก็ว่าสวยบ้าง บ้างก็ว่าไม่สวย บ้างชอบ บ้างไม่ชอบ คนนู้นชอบอันเก่า คนนี้ชอบอันใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องปกติของงานออกแบบศิลปะ (ซึ่งจริงๆอาจจะต้องแยกระหว่างการออกแบบ ออกจากงานศิลปะ ซึ่งมันพูดคุยกันได้อีกยาว😅😂🤣) แต่สิ่งที่น่าสนใจ อาจจะไม่ใช่งานออกแบบ หรืองาน ศิลปะ แต่สิ่งนั้นคือคอมเม้นต์ ซึ่งจะเป็นทำนองว่าความสวย ความงาม เป็นเรื่องของ “ปัจเจก”

(ขอติดคำว่า “ความสวย” และ “ความงาม” ไว้ก่อนนะ ซึ่งจริงๆสองคำนี้มีความหมายแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญ แต่เราจะยังไม่พูดในบทความนี้ 😅 )

ปัจเจก (individual)

ในงานศิลปะ ความงามดูเหมือนจะเป็นเรื่องของรสนิยมส่วนบุคคล ต่างคนต่างมีมาตรฐานในใจ บ้างชื่นชอบภาพเหมือนอันสมจริง บ้างหลงใหลศิลปะนามธรรม บ้างปักใจกับลวดลายวิจิตร บ้างปลาบปลื้มกับฝีแปรงอันเร่าร้อน ความหลากหลายนี้ชวนให้เราตั้งคำถามว่า ความงามเป็นเรื่องความสัมพันธ์หรือเปล่า และอะไรกำหนดรสนิยมของผู้ชมกันแน่? 🤔

หากมองลึกลงไป ความงามในงานศิลปะแทบไม่เคยเป็นเรื่องปัจเจกล้วนๆ เลย เพราะศิลปินและผู้ชมล้วนเติบโตมาในบริบททางสังคมและวัฒนธรรม ค่านิยมและมาตรฐานร่วมในยุคสมัยหนึ่งๆ ถูกหล่อหลอมขึ้นและส่งผ่านรุ่นต่อรุ่น กลายเป็นกรอบคิดและรสนิยมของคนในสังคมโดยแทบไม่รู้ตัว

ลองย้อนมองภาพวาดสมัยเรเนซองส์ซิ ความงามในยุคนั้นเน้นไปที่ความสมจริง ภาพคนต้องมีสัดส่วนพอดิบพอดี ทิวทัศน์ต้องเหมือนจริงราวกับเห็นผ่านกระจก ดังเช่นภาพ ‘โมนาลิซา’ ของลีโอนาร์โด ดา วินชี ซึ่งเนรมิตให้เห็นใบหน้าและรอยยิ้มของหญิงสาวได้อย่างสมจริงจับใจ แต่พอข้ามมายุคสมัยใหม่ อย่างเช่นผลงานของปาโบล ปิกัสโซ ศิลปินผู้บุกเบิกลัทธิคิวบิสม์ ความสมจริงกลับไม่ใช่สิ่งสำคัญอีกต่อไป รูปทรงในภาพถูกตัดทอน บิดเบี้ยว จัดวางซ้อนทับอย่างไม่เป็นธรรมชาติ เหมือนมองวัตถุหลายด้านพร้อมกัน ความงามจึงถูกนิยามใหม่ผ่านการทดลองทางทัศนศิลป์

ไม่เพียงค่านิยมในวงการศิลปะจะส่งผลต่อการรับรู้ความงาม หากยังมีปัจจัยสำคัญอย่างสื่อ การโฆษณา และกระแสนิยมร่วมสมัย ที่เข้ามากำหนดรสนิยมของคนในวงกว้างอีกด้วย เราเพียงแค่เปิดโทรทัศน์หรือเลื่อนมือถือ ก็เห็นภาพซ้ำๆ ที่สะท้อนอุดมคติเรื่องความสวยความหล่อในยุคนี้ จนหลายคนพยายามทำตามให้ได้ ส่วนงานศิลปะก็มักได้รับอิทธิพลไม่มากก็น้อย แอนดี้ วอร์ฮอล ศิลปินป๊อปอาร์ตชื่อดัง ได้ใช้เทคนิคภาพพิมพ์ซิลค์สกรีน ซ้ำภาพไอคอนของวัฒนธรรมป๊อป เช่น ภาพดาราดัง แมริลีน มอนโร หรือกระป๋องซุปแคมป์เบลล์ การทำซ้ำจนกลายเป็นงานศิลปะนี้ ไม่เพียงสะท้อนแต่ยังเสียดสีวัฒนธรรมบริโภคนิยม ที่ภาพซ้ำๆ กลายเป็นสิ่งดึงดูดใจคนและกลายเป็นมาตรฐานความงามไปโดยไม่รู้ตัว

https://www.lonelyplanet.com/articles/where-to-see-warhol-usa
https://www.wengcontemporary.com/artwork/andy-warhol-marilyn-monroe-portfolio-10

บางครั้งศิลปินก็ตั้งคำถามกับความงามและรสนิยมแบบเดิมๆ จนถึงขั้นปฏิวัติวงการเลยทีเดียว มาร์เซล ดูชองป์ ศิลปินชาวฝรั่งเศส โด่งดังจากการนำของใช้ธรรมดาอย่างโถปัสสาวะมาตั้งแสดงในพิพิธภัณฑ์ในชื่อ ‘น้ำพุ’ (Fountain) เขาต้องการท้าทายความคิดเรื่องความงามและคุณค่าทางศิลปะ ว่ามันถูกกำหนดจากผู้มีอำนาจในสถาบันศิลปะหรือเปล่า แล้วศิลปินไม่มีสิทธิ์นิยามความงามในแบบของตัวเองบ้างหรือ ผลงานชิ้นนี้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของ ‘เรดี้เมด’ ศิลปะที่นำวัตถุสำเร็จรูปมาแสดงในบริบทใหม่ เปิดโลกทัศน์ใหม่ให้กับวงการศิลปะร่วมสมัยเลยทีเดียว

หากก้าวออกจากวงการศิลปะ เรายังจะเห็นความงามที่หลากหลายในวัฒนธรรมท้องถิ่นทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นการสักลวดลายของชนเผ่าเมารีในนิวซีแลนด์ การทำริมฝีปากยาวของชนเผ่ามูร์ซีในเอธิโอเปีย หรือถึงกับการใส่ห่วงคอยาวของผู้สาวชาวกะเหรี่ยงคอยาว ความงามเหล่านี้อาจแปลกตาสำหรับคนนอก แต่ล้วนมีคุณค่าเชิงสัญลักษณ์ สะท้อนวิถีชีวิตและความเชื่อของผู้คน ซึ่งสืบทอดต่อกันมารุ่นแล้วล่ะ😍

นักปรัชญาหลายท่านตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันต่างเห็นตรงกันว่า ตัวตนของปัจเจกถูกหล่อหลอมขึ้นจากบริบททางสังคมและวัฒนธรรมแทบทั้งสิ้น เดวิด ฮูม (David Home) มองว่าจิตใจของมนุษย์เหมือนเวทีที่ความคิดและความรู้สึกผ่านเข้าออก แต่ไม่มีตัวตนที่เป็นแก่นแท้อยู่เบื้องหลัง ขณะที่มิเชล ฟูโกต์ ( Michel Foucault)นักปนัชญาที่ผมชอบ 5555 เสนอว่าความเป็นปัจเจกหรือ “ตัวตน” เป็นสิ่งที่ถูกประกอบสร้างขึ้นโดยอำนาจและความรู้ในสังคม การจะเข้าใจตนเอง จึงต้องศึกษาถึงวาทกรรมและเงื่อนไขเชิงประวัติศาสตร์ที่ส่งผลต่อการมองตนเองและผู้อื่นไปพร้อมๆ กัน ความเห็นพวกนี้ชวนให้เราตั้งคำถามว่า แล้วตัวตนของเราที่แท้จริงคืออะไรกันแน่นะ หากลองสาวลึกๆลงไป เราอาจพบว่า ตัวตนที่เรายึดมั่นถือมั่นนั้น จริงๆ แล้วก็เป็นภาพสะท้อนจากกระจกวิเศษทางสังคมนั่นเอง

บางทีผมว่าการค้นหามาตรฐานความงามสากลอาจไม่ใช่เรื่องสำคัญเท่าการทำความเข้าใจว่า ความจริงของความงามอาจมีหลายชั้น หลายระดับ ผสานทั้งอัตวิสัยและภววิสัยเข้าด้วยกัน และการตีความหมายของมันอาจเผยให้เห็นมุมมองที่แตกต่างของประสบการณ์ของชีวิตไม่ว่าจะเป็นวัฒธรรม ประเพณี สื่อข่าวสาร ผู้ที่กำหนดเทรนทางสังคม เยอะแยะตาเป๊ะไปหมด 😅😅😅

อ้างอิง

ไม่มี แค่มาแชร์สมัยตอนเรียนมานานนม และมีแต่ลิ้งค์ที่เอารูปมา 😝😝😝

แก้ไข 10:30 บางส่วน เนื่องจากเขียนคำผิดขอขอบคุณ Liinux ครับ
แก้ไข 12:30 แก้คำผิด Abby แห่ง YOLO

--

--