ความโค้ช

Chokchai Phatharamalai
odds.team
Published in
Dec 7, 2020
Photo by Nelka on Unsplash

วันก่อนขณะที่ผมกำลังเดินไปขึ้นรอไฟฟ้าไปทำงาน ผมเห็นชายคนหนึ่งในชุดวิ่ง น่าจะเพิ่งกลับมาจากสวนลุม พอดูฟอร์มการวิ่งข้ามถนนของเค้า ก็เห็นว่าปลายขาซ้ายสะบัดเล็กน้อยตอนตีวง ก็เลยนึกถึงหนังสือ Chi Running ที่เคยอ่านมาบอกว่าฟอร์มแบบนี้มักจะทำให้เกิดแรงบิดเวลาลงเท้า แล้วก็สงสัยว่าเค้าเจ็บโคนขาซ้ายด้านนอกและเข่าซ้ายไหม

ขณะนั้นเอง ผมก็เตือนสติตัวเองว่า ไม่ว่าฟอร์มเค้าจะเป็นอย่างไร ดูจากกล้ามขาเค้าแล้ว ผมคงไม่มีปัญญาวิ่งสู้เขาได้แน่ ๆ นึกขำความโค้ชของตัวเองขึ้นมา ที่อดไม่ได้ที่จะคอยสังเกตและหาโอกาสแบ่งปันข้อมูลให้คนอื่นอยู่เสมอ แม้ตัวเองอาจจะไม่ชำนาญเรื่องนั้นเท่าเขาก็ตาม (ถึงตรงนี้ คำว่าสอนหนังสือสังฆราชก็ดังขึ้นมาในหัว :P)

วันก่อนผมเห็นพี่รูฟโพสต์ว่าได้ขึ้นแรงค์ Diamond ใน ROV ผมเลยไปคอมเม้นว่า “ผมวิ่งตามไม่ทันทั้งในและนอกเกมส์ละ” เพราะในเกมผมเพิ่งอยู่ แพลต IV ส่วนนอกเกมพี่รูฟวิ่งเทรลขึ้นเขาลงเขา วิ่งฮาล์ฟละ ผมยังไม่รู้ว่าจบ 10 โลแบบไม่เจ็บได้ไหมเลย

แล้วพี่รูฟก็ยอว่า ได้พื้นฐานที่ดีมาจากผม

สังเกตและสอนทีม

พอนึกถึงคำว่าโค้ช สองอย่างที่ผู้คนคิดว่าโค้ชต้องทำก็คือคอยสังเกตหาจังหวะที่จะแบ่งปันความรู้ที่อาจจะเป็นประโยชน์ และ คอยอธิบายพื้นฐานเวลาที่ทีมกำลังจะริเริ่มอะไรใหม่ ๆ เพราะเราได้ทักษะจากการทำซ้ำบนพื้นฐานที่ถูกต้อง และได้นิสัยเสียจากการทำซ้ำบนพื้นฐานผิด ๆ

อย่างไรก็ดี สองอย่างนี้จะไม่มีความหมายเลย ถ้าเราไม่ได้มีสะพานใจที่ดีกับทีม

ตรงนี้ทำให้นึกถึง quote จาก หนังสือ the 7 habits of highly effective family ที่บอกว่า

I don’t care how much you know until I know how much you care.

ผมไม่แคร์ว่าคุณจะรู้มากแค่ไหน จนว่าผมจะรู้ว่าคุณแคร์มากขนาดไหน

ฉะนั้น เราต้องหัดไปแพร์กับทีมก่อน เมื่อต่อสายสัมพันธ์สำเร็จ หลังจากนั้นทีมถึงจะมีโอกาสได้ยินความรู้ที่เราอยากจะแบ่งปัน

บทความที่เกี่ยวข้อง

--

--