ฐานอำนาจ

Chokchai Phatharamalai
odds.team
Published in
1 min readOct 31, 2019

ช่วงนี้ผมกำลังอ่านหนังสือ 7 Rules for positive, productive change ของ Esther Derby

https://www.estherderby.com/7-rules-for-positive-productive-change/

ในบทแรก Esther พูดถึงมุมหนึ่งในประสบการณ์การทำ transformation ที่น่าสนใจมาก เธอบอกว่า จากการไปสัมภาษณ์ผู้คนในองค์กรที่กำลัง transform พอถามว่าประสบการณ์เป็นยังไงบ้าง มันก็จะขึ้น ๆ ลง ๆ เช่น ถ้า Esther มาถามผมจะได้ผลดังข้างล่าง

ประสบการณ์การทำ transformation

ตรงที่เหนือเส้นคือตรงผมสมัครใจเปลี่ยน ตรงใต้เส้นคือตรงที่โดนบังคับ ผมมักจะพูดบ่อย ๆ ว่า

คนเราชอบการเปลี่ยนแปลงนะ มันอยู่ในธรรมชาติของเรา เราแค่ไม่ชอบถูกเปลี่ยน

การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นโดยความสมัครใจ หรือเกิดจากการบังคับ ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้ฐานอำนาจแบบไหนในการเปลี่ยน วีดีโอด้านล่างเล่าถึงฐานอำนาจ 6 แบบ

https://youtu.be/S4V2FlNR_h4

ถ้าเราใช้ 3 ตัวแรก คือ อำนาจจากตำแหน่ง (Legitimate), อำนาจเงิน (Reward), อำนาจจากการบีบบังคับ (Coercive) คนก็จะรู้สึกถูกบังคับให้เปลี่ยนแปลง แล้วก็เป็นธรรมดาที่เราจะรู้สึกถึงแรงต้าน แต่ถ้าเราใช้ฐานอำนาจ 3 แบบหลัง คือ ความสนิท (Referent), ความเชี่ยวชาญ (Expert), ข้อมูล (Informational) ก็จะนำไปสู่ความเข้าใจร่วมกัน และคนก็จะถูกเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ดึงดูดให้เปลี่ยนแปลงเอง

จากที่ผมอ่าน ผมเข้าใจว่าถึงประเภทของฐานอำนาจที่เราเลือกใช้ไม่ได้มีผลต่อผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลง (เปลี่ยนผิดที่ ใช้อำนาจแบบไหนก็ไม่เวิร์ค เปลี่ยนถูกที่ใช้อำนาจแบบไหนก็จะเห็นผลเหมือนกัน) แต่มันมีผลอย่างมากกับประสบการณ์ของผู้คน ถ้าใช้ 3 แบบหลัง เราจะรู้สึกว่าความเปลี่ยนแปลงมันเกิดขึ้นง่าย มันเหนื่อยและเจ็บปวดน้อยกว่า

ส่วนตัวผม ผมมองการเปลี่ยนแปลงเหมือนวิ่งมาราธอน (บางคนบอกเหมือนผ่าตัดหัวใจระหว่างวิ่งมาราธอนต่างหาก :D) แต่มันเป็นกระบวนการที่ยาวนาน การลดความเหนื่อยและความเจ็บปวดในแต่ละก้าวมันเลยสำคัญขึ้นมาอย่างยิ่งยวด

เปิดด้วยหนังสือ transformation ปิดด้วยหนังสือวิ่งละกัน Chi Running เล่มนี้แหละ ที่ทำให้ผมเข้าใจความสำคัญของแต่ละก้าวในการวิ่งระยะยาวจนจากที่วิ่ง 5 โลก็ไม่ไหว จนกลับมาวิ่งสิบกว่าโลได้

https://www.amazon.com/ChiRunning-Revolutionary-Approach-Effortless-Injury-Free-ebook/dp/B0026WNGBA

--

--