ตอบคำถาม “Agile คือ ?”

Apirak
odds.team
Published in
Mar 28

--

Video ในช่อง Skooldio

ในวีดีโอเป็นรายการที่พี่รูฟเข้ามาตอบคำถาม Agile โดยไล่ตาม search suggestion ของ Google จะได้ตอบได้ตรงว่าคนส่วนใหญ่เค้าสงสัยอะไรกัน

คำถามแรกที่ขึ้นมาก็เรียบง่าย “Agile คือ?”

พี่รูฟบอกว่าคำถามนี้ตอบได้ 3 วัน แต่ถ้าตอบสั้นๆ มันก็เป็นประโยคนี้

เป็นกระบวนการที่ส่งมอบ software แล้วได้ feedback กลับมา อย่างต่อเนื่อง ปรับเปลี่ยนเข้ากับการแข่งขันได้ตลอดเวลา

พอฟังแล้วก็พบว่าประโยคนี้ไม่ธรรมดา มันเป็นการกลั่นบทเรียน ที่เกิดจากการทำจริงๆ ออกมา ซึ่งมีทั้งแนะนำแนวทางและช่วยชี้หลุมพราง ให้ได้ในประโยคนี้เลย เลยอยากเอามาลองขยายความที่ละท่อน ว่าผมเห็นอะไรในนั้นบ้าง

“เป็นกระบวนการ ส่งมอบ software”

มันเอาไว้ทำ software ไม่ได้เอาไว้ทำอย่างอื่น ถ้าส่งมอบอย่างอื่นให้ลองไปดู six sigma, Lean Menufactoring, Kanban สามารถสร้าง Agility ได้เหมือนกัน

“แล้วได้ feedback”

Agile ไม่ได้จบที่ส่งมอบ software หลายบริษทรับงานโดยบอกว่าเราทำ Agile แต่กลับจบงานของเราแค่ผู้ว่าจ้างตรวจรับงาน แบบนี้คงไม่เป็น Agile (ถ้าลูกค้าเชื่อว่าแบบนั้นคือ Agile ก็แปลว่าเค้าหลอกลูกค้าสำเร็จ 😏)

และจะมีหลายที่ ที่บอกว่าช่วงรับ feedback คือช่วง Maintenance service (MA) ซึ่งไม่ใช่ การทำ Maintenance มันเอาไว้ทำให้คงอยู่ได้ปรับแก้เล็กๆ น้อยๆ ซึ่งหลายบริษัทก็บังคับว่างบห้ามเกิน 30% ของราคาเต็ม แปลว่ามันไม่ใช่การรับ feedback เพื่อ “ทำต่อ” มันเป็นแค่ “อยู่ต่อ”

“อย่างต่อเนื่อง”

อันนี้สำคัญหลายที่จะบอกว่าเรามีการรับ feedback แต่จะทำก็แค่ครั้งเดียว หรือไม่ก็รับ feedback แบบราคาแพงทำแค่ปีละครั้ง แบบนั้นก็ไม่ควรเรียกว่า ต่อเนื่อง 😓

จะรับ feedback อย่างต่อเนื่องได้ต้องวางแผนไว้ตั้งแต่ก่อนจะเริ่มทำเลย ถ้าให้ดีก็ควรทำให้ทีมพัฒนาเห็น feedback อยู่ตลอดเวลา (ย้ำว่าทีมพัฒนา ไม่ใช่แค่ผู้บริหาร)

“ปรับเปลี่ยนเข้ากับการแข่งขัน”

ถ้าเจ้าของ software ยังต้องแข่งขันในตลาด ตัว software ก็ควรปรับตัวให้รับมือกับการแข่งขันได้ ยิ่งถ้าเชื่อว่าปัจจุบันตลาดเปลี่ยนเร็ว ผู้ใช้เปลี่ยนเร็ว ทีมที่ดูแล software ยิ่งต้องตั้งเป้าที่จะสร้างให้มัน “เปลี่ยนได้เร็ว” ไม่ใช่ “เสร็จเร็ว” ซึ่งสองแบบนี้มีกระบวนการและผลลัพธ์ไม่เหมือนกัน

“ได้ตลอดเวลา”

หลายทีมจะบอกว่าเราเปลี่ยนได้นะ!! แต่เอาเข้าจริงค่าเปลี่ยนแพงมากๆ ขนาดที่ว่าเปลี่ยนได้แค่ปีละ 2 ครั้ง จึงเน้นทำของใหม่มากกว่าการเปลี่ยนให้ดีขึ้น การทำ Agile ต้องหาทางทำให้ software ของเราเปลี่ยนได้ “ตลอดเวลา” จึงต้องทำให้ค่าเปลี่ยนมันราคาถูกให้ได้ (สิ่งที่แพงที่สุดคือเวลา)

วันพรุ่งนี้ต้องเปลี่ยนเร็วกว่าวันนี้ วันพรุ่งนี้ต้องมี Agility มากกว่าวันนี้ 💪

แค่ประโยคแรกก็ลึกมากแล้ว แนะนำให้ฟังให้ต้นฉบับครับ มันเป็นของที่ไม่ได้ย่อยกันง่ายๆ อันนี้ปรุงมาให้กินง่ายแล้ว ไปฟังกันได้หลายๆ รอบ ยิ่งกว่าหนัง Mavel

--

--

Apirak
odds.team

I am a big believer that great UX comes from all team members, not one. #UX Evangelist at ODDS #Co-founder of UX Academy #Certified Sprint Master.