ทำไม LeSS ถึงเร็ว?

Chokchai Phatharamalai
odds.team
Published in
3 min readMay 24, 2021
Photo by paolo candelo on Unsplash

Large Scale Scrum หรือ LeSS เป็น scaling method ที่ผมเชื่อว่าเร็วเทียบเคียงกับ Scrum

ทำไม LeSS ถึงเร็วพอ ๆ กับ Scrum

เมื่อก่อนผมมักจะตอบว่า เพราะ LeSS เลือกที่จะบิดองค์กรให้เข้ากันกับสกรัม มากกว่าบิดสกรัมให้เข้ากันกับองค์กร

แต่พอได้อ่านบทความเรื่อง Persentage of people in special roles แล้ว ผมก็เห็นว่าบทความของ Lv Yi อธิบายได้ดีกว่าผมเยอะเลย

ต่อจากนี้เป็นความเข้าใจของผมที่สรุปมาจากบทความของ Lv Yi นะครับ

Special roles

หมายถึงคนที่ไม่ได้อยู่ในทีม คนที่ไม่ได้ลงมือทำงานจริง ๆ เพื่อผลิตของให้กับลูกค้า ซึ่งสกรัมแยกไว้อย่างชัดเจนแล้ว ใครที่ไม่ได้อยู่ในทีม ก็คือ special roles นั่นเอง

ถ้าเป็น Scrum ปรกติ สมมติว่ามี product owner 1 คน มี Scrum master 1 คน และสมาชิกในทีม 9 คน % special roles ก็จะอยู่ที่ 18.18%

พอเป็น Large Scale Scrum สมมติว่า

  • ไม่มี undone department
  • มี 5 ทีม ทีมละ 7 คน (ทั้งหมด 35 คน)
  • product owner 1 คน, Scrum master 3 คน, manager อีก 1 คน รวมทั้งหมด 5 คน

แปลว่าจะมี % special roles เท่ากับ 5/(35+5) = 12.5%

น้อยกว่าตัวอย่างสกรัมข้างบนไปอี๊กกก

พลังแห่ง self organization

จาก LeSS principle ข้อ “More with LeSS” ที่ชวนให้เพิ่มความรับผิดชอบให้กับทีมมากขึ้น โดยลดจำนวน role ให้น้อยลง สรุปตามความเข้าใจผมเองได้ดังนี้

การมี special roles อยู่นอกทีม ทำให้ทีมบริหารจัดการตัวเองน้อยลง พอทีมบริหารจัดการตัวเองไม่ได้ เราก็ยิ่งอยากจะมี special role เหล่านี้มากขึ้น และทำให้ทีมยิ่งบริหารจัดการตัวเองน้อยลงไปอีก วนเป็นวัฏจักรแบบนี้เรื่อยไปตาม Causal Loop Diagram ด้านล่าง (สำหรับคนที่อ่าน CLD ไม่เป็น ไปดูวิธีอ่านให้อ้างอิงได้นะครับ)

written by Chokchai Phatharamalai, source: https://blog.odd-e.com/yilv/2021/01/percentage-of-people-in-special-roles.html

ถ้าจะเจาะลงไปอีกนิด จะเห็นว่า การที่มี special roles น้อย ๆ เปิดพื้นที่ให้ทีมบริหารจัดการตัวเอง ถ้าทีมบริหารจัดการตัวเองได้ดี ความจำเป็นต้องมี role พิเศษเหล่านี้ก็จะลดลง ทำให้จำนวน role ค่อย ๆ ลดลงตามลำดับตามภาพด้านล่าง

written by Chokchai Phatharamalai, source: https://blog.odd-e.com/yilv/2021/01/percentage-of-people-in-special-roles.html

อย่างไรก็ดี มันมีปัจจัยอื่นประกอบด้วย เช่น job safety กับการโค้ชที่ดี

Job safety

ถ้า job safety ต่ำ แม้ role เหล่านี้จะไม่จำเป็น ผู้คนจะพยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อรักษา role เหล่านี้ไว้เพื่อรักษาความมั่นคงทางการงานนั่นเอง

อ่านถึงตรงนี้ผมก็นึกถึงคำพี่รูฟว่า

เรา save job ไม่ save role

นั่นคือ สำหรับที่ ๆ จะทำ adoption อยากให้เตรียมใจที่จะรับความเปลี่ยนแปลง สิ่งที่เราต้องทำในแต่ละวันอาจจะเปลี่ยนแปลงไป แต่ให้ความมั่นใจว่าจะไม่มีใครถูกทอดทิ้งเพราะหมดประโยชน์ นี่คือคำมั่นที่ผู้บริหารระดับสูงควรให้กับพนักงานทุกคนก่อนเริ่มทำ adoption เพื่อเพิ่ม job safety ให้สูงขึ้น ภาพด้านล่างอธิบายว่าปัจจัยนี้ส่งผลกระทบกับวัฏจักรเดิมด้านบนอย่างไร

written by Chokchai Phatharamalai, source: https://blog.odd-e.com/yilv/2021/01/percentage-of-people-in-special-roles.html

การโค้ชที่ดี

ถ้าขาดการโค้ชที่ดี ต่อให้เราเปิดพื้นที่ให้ทีมได้บริหารจัดการตัวเองแล้ว ทีมก็อาจจะยังทำได้ไม่ดีพอ ทำให้ความจำเป็นที่จะต้องมี special role ไม่ลดลงซะที

ท้ายบทความ Lv Yi มีการกล่าวถึงสิ่งที่ฝันกับสิ่งที่เป็นด้วย

แน่นอนว่าสิ่งที่ฝันคือมีคนในทีมเยอะ ๆ มี role พิเศษน้อย ๆ ก็จะทำงานได้เร็ว แต่ในความเป็นจริง หลายๆ องค์กรก็ยังมี role พิเศษต่าง ๆ นอกทีมอยู่ เช่น business analyst, project manager, architect, team lead, technical lead, ฯลฯ

สิ่งที่ role พิเศษเหล่านี้ทำใน LeSS organization นั้นซ้ำซ้อนกับสิ่งที่ทีมทำ ฉะนั้น ในการ adopt LeSS เราอยากให้ role เหล่านี้เข้าไป join เป็นสมาชิกในทีม เพราะใน LeSS organization ทีมเป็น basic building block ของ organization บางทีเราก็เรียกสิ่งนี้ว่าการ simplify (บิด) องค์กรให้เข้ากับ LeSS (หรือสกรัม) แทนที่จะบิดสกรัมให้เข้ากับองค์กร (แล้วช้าเท่าเดิม)

ถ้าถามว่าเป้าหมายสุดท้ายของ LeSS คือทำให้ % special roles เป็น 0 เลยไหม คำตอบคือไม่ มันคงเหลือ product owner ที่คอยดูแล vision และ direction ของผลิตภัณฑ์อยู่ และเหลือสกรัมมาสเตอร์กับ manager เพื่อพัฒนาศักยภาพในการผลิตอยู่ แค่เหลือใน % น้อย ๆ เท่านั้น

อ้างอิง

--

--