[บันทึกลับๆ] Designing Innovation Products and Services

Builder296
odds.team
Published in
4 min readAug 24, 2023

เป็นคลาสแปลไทยลับๆ แบบคนธรรมดา by P’chuen and YoYo (learning from Zuzi @ frog)

เริ่มต้นเราก็มาพูดการ ideate ว่าที่ผ่านมาเราได้ใช้วิธีการอะไรบ้างง

  • brainstorm
  • user journey
  • user story mapping
  • how might we
  • discussion
  • match up
  • crazy eight (Crazy8s)
  • problem reversal

จากตรงนี้ทำให้เห็นมุมมองหลากหลายของคนในคลาสว่าพวกเขาช่างสุดยอดจริงๆ ฮ่าๆๆ

ideate คือ วีธีการที่เรานำความคิดออกมา

Zuzi suggests Leveraging behavioural science to ideate new solutions …

“Everything we do to change behaviour”

ตัวอย่างเช่น

  • การใช้จ่าย เมื่อก่อนเราใช้จ่ายด้วยเงินสด แต่ปัจจุบันเรามีผลิตภัณฑ์สินเชื่อทำให้เราสามารถซื้อก่อนจ่ายที่หลังได้แล้ว
  • การทานยา เมื่อก่อนเราต้องต้มยา เดี๋ยวนี้เราสามารถทานแบบ capsule ได้แล้ว
  • การฟังเพลง เมื่อก่อนเราต้องซื้อเทปมาเปิดฟัง เดี๋ยวนี้ฟังผ่านมือถือที่ไหนก็ได้แล้ว

ตัวอย่างการเปลี่ยนพฤติกรรม

  • การค้นพบจุลทรีย์ที่แปลกๆ → แล้วเราอยากให้มันขยับได้

→ เริ่มจากไปสังเกตุว่า อะไรคือสิ่งเร้าที่ทำให้ มันขยับได้

→ เราก็มาออกแบบวีธีการที่จะทำให้พฤติกรรมมันเปลี่ยนไป

→ และเราก็นำมาทดสอบว่าได้ผลจริงไหม ถ้าจริงก็ทำเพิ่ม

สรุปจากการที่เราทำการทดลองจะสามารถแบ่งออกมาได้ 4 ขั้นตอน

  1. Describe The World We Want : ระบุสิ่งที่โลกของเราต้องการ
  2. Observe the world we have : สังเกตสิ่งที่โลกเรามีอยู่แล้ว
  3. Design the bridge between : สร้างสรรค์หรือออกแบบสิ่งที่จะทำให้พฤติกรรมที่เราต้องเปลี่ยนไป (ออกแบบสะพานเชื่อม)
  4. Test that it works : วัดผลของผลกระทบที่มีต่อพฤติกรรม

ขั้นตอนแรก คือ Describe The World We Want โดยเราจะใช้ pattern ของการตั้งสมมติฐาน ดังต่อไปนี้

When ..Target Audience..

Who ..Limitations..

Want to ..Motivation..

They will ..Behaviour..

(as measured by ..Data..)

ซึ่งการตั้งสมมติฐานเราก็ต้องมีการกำหนดมาตราการวัดผลของสมมติฐานเราด้วยว่าเป็นจริงตามที่เราต้องการหรือไม่

Target Audience: กลุ่มของคนที่มีพฤติกรรมที่คุณต้องการจะเปลี่ยน
Limitations: เงื่อนไขเบื้องต้นที่จำเป็นสำหรับทำให้เกิดพฤติกรรม
Motivation: สิ่งที่เป็นแรงจูงใจให้คนอยากทำพฤติกรรม
Behaviour: กิจกรรมที่วัดผลได้ที่คุณต้องการให้ผู้คนมีแนวโน้มที่จะทำมากขึ้น
Data: คุณเก็บปริมาณอย่างไรว่าพวกเขากำลังทำพฤติกรรมนี้

Example: BEHAVIOURAL STATEMENT

ขั้นตอนที่สอง คือ Observe the world we have เราจะใช้วิธีการ Pressure Mapping ซึ่งประกอบไปด้วย

Pressure Mapping คือ การทำให้เห็นภาพของแรงกดดันจากสองสิ่งที่มากระทบกัน

โดยเราจะ focus กันที่แรงกดดันของสองอย่าง ดังต่อไปนี้

  • Inhibiting pressure คือ อะไรที่ทำให้ไม่เกิดพฤติกรรมนั้นๆ
  • Promoting pressure คือ อะไรที่ทำให้เกิดพฤติกรรมนั้นๆ

Workshop: Persona ทำความเข้าใจผู้อื่นกัน

Persona เหมือนวิธีการสร้างภาพให้เราสามารถจิตนาการให้เราเข้าใจตรงกันได้ ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน ชอบอะไร ซึ่งเป็น Objective เหมือนเป็น Profile ของ user

โดยเราจะมีรูปแบบคำถามว่า เมื่อคุณต้องการที่จะ . . . คุณจะทำ . . . บ่อยแค่ไหน

เราจะให้แต่ละคนเขียนชื่อของตัวเองมาติดในช่องที่เป็นคำตอบที่เป็นตัวเองมากที่สุด และหลังจากตอบคำถามแล้ว จะให้คนในกลุ่มเดียวกันมา discuss กันว่าทำไมถึงตอบแบบนั้น ทำไมถึงทำแบบนี้

โดยในคลาสนี้จะมีตัวอย่างคำถามที่น่าสนใจอยู่ 4 ข้อ

  • เดินทางจากบ้านไปที่ทำงานด้วยรถสาธารณะบ่อยแค่ไหน
  • เวลาต้องการทานอาหาร ทานบุฟเฟ่บ่อยแค่ไหน
  • ติดต่อหน่าวยงานราชการ ผ่านไลน์บ่อยแค่ไหน
  • เวลาจะทิ้งขวดน้ำพลาสติก มองหาถังขยะ recycle บ่อยแค่ไหน

Key Take Away?

Key Take Away หมายถึง สิ่งที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรม

→ ทำให้เข้าใจคนๆ นั้นมากขึ้น ว่าทำไมถึงทำแบบนั้น
→ เราเข้าใจตรงกันหรือยัง ในกาตั้งคำภามเหล่านั้น
→ เห็น Pressure ของแต่ละฝั่ง => ได้ pressure ที่จะมาทำต่อ
→ ได้ insight ที่ต่างกันมากขึ้น

Workshop for all steps

  • เริ่มจากเลือกหัวข้อปัญหาที่เราอยากจะแก้ไข เช่น
    “ลดปัญหาการจราจรในประเทศไทย”

[Descript the world we want]

  1. เราจะลองตั้งสมมติฐาน หรือ Behaviour Statement กันก่อน เช่น
When เมื่อพนักงานประจำ

Who มีรถส่วนตัว

Want to ที่จะไปทำงานสะดวก ประหยัด และทันเวลา

They will เดินทางด้วยรถประจำทาง

(as measured by ปริมาณรถบนท้องถนน)

Q/A

- want to คือ สะดวกมากขึ้น แล้ว measure อย่างไร

→ เราจะ measure ที่ behavior เป็นหลัก ไม่ได้วัด motivation ของกลุ่มคนนั้นๆ
Note: เราสร้าง motivation เพื่อรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม

- want to เกี่ยวกับการเข้าออกงานต่างเวลา เราจะวัดอย่างไร

→ จะวัดที่ระยะเวลาที่เข้าใช้ในการไปทำงาน

!! อย่าลืมในขั้นตอนแรกเราต้องระบุสิ่งที่โลกของเราต้องการ ไม่ใช่การระบุสิ่งที่โลกนี้มีอยู่แล้ว (observation) ไม่งั้นจะกลายเป็นว่า behavior statement ของเราสร้างมาเพื่อพิสูจน์ความจริง

2. Pressure Mapping โดยจะมีตัวอย่างชุดคำถามเพื่อช่วยให้คุณคิด Promotioning Pressure และ Inhibiting Pressure ได้ง่ายขึ้น ดังต่อไปนี้

  • ทำไมคุณถึงทำพฤติกรรมนั้น
  • ทำไมคุณถึงไม่ทำมันตอนนี้เลย
  • ทำไมมีกลุ่มคนจำนวนมากถึงทำพฤติกรรมนั้น แต่ไม่ใช่ทุกคนที่ทำพฤติกรรมนั่น
  • มีอุปสรรคอะไรที่เป็นเหตุเป็นผล (ไม่ใช่ความรู้สึก) ต่อการทำพฤติกรรมนั่นๆ ไหม
  • คนจะรู้สึกยังไงถ้าเขาทำพฤติกรรมนั่นๆ หรือไม่ทำ เช่น โกรธ, เสียใจ, รู้สึกผิด …
  • มันมีอะไรที่เป็นตัวกระตุ่นหรือปัจจัยต่อพฤติกรรมนั่นๆ ไหม เช่น กลิ่น
  • พฤติกรรมจะเกิดที่ไหน หรือเมื่อไหร่มากที่สุด หรือไม่เกิดที่ไหนมากที่สุด (เวลา, เทศกาล, ธรรมเนียนมประเพณี)
  • อะไรที่สามารถเป็นพฤติกรรมอื่นๆ ที่สามารภตอบสนองแรงจูงใจแบบเดียวกันได้

[Observe the world we have]

3. Ideation of interventions ==> How Might We

How Might We คือ การเริ่มจากการตั้งปัญหา แล้วหาวิธีการที่จะลดหรือเพิ่มสิ่งนั้นๆ

ซึ่งสิ่งสำคัญคือ เราควรจะตั้งคำถามเป็นแบบคำถามปลายเปิด เพื่อเพิ่มความหลายหลากของคำตอบ

  • เริ่มจากจับกลุ่มของ pressure ที่เราได้ระดมสมองกันไว้ก่อนหน้า
  • ต่อมาให้เราเลือกกลุ่มของ pressure ที่เราสนใจ และนำมาทำ quick solutions
  • สุดท้ายเราจะจัดกลุ่มของ solution ที่เราคิดออกจากการทำ quick solutions

quick solutions คือ การโยนแนวความคิดออกมาแบบไวไว โดยไม่ได้สนว่าจะทำได้ไหม หรือจะใช้พลังงานมากน้อยแค่ไหนในการทำ

[Design the bridge between]

4. Idea Refinement

Idea name ...

The only ...

for ...

that ...

by ...

Value . . .

Drawing . . .
  • ตั้งชื่อหัวข้อแนวความคิด
  • ระบุสิ่งที่จะทำออกมา เช่น แผนงาน ของใช้งาน หรือการบริการ
  • ระบุกลุ่มเป้าหมาย
  • ระบุวัตถุประสงค์ของการทำสิ่งนี้
  • ระบุวิธีการใช้งาน
  • ระบุคุณค่าที่จะมอบให้กับ ตัวบุคคล สังคม สิ่งแวดล้อม และด้านธุรกิจ
  • วาดภาพคร่าวๆ หรือ เรื่องราว ว่าแนวความคิดของเราจะมีผลกับสังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างไร

[Test that it works]

5. Idea Evaluation โดยเราจะใช้หลักการ Pressure Mapping ระหว่าง impact vs. effort เช่น

  • ให้คะแนนจากคำถามของสองฝั่ง คือ ด้านผลกระทบที่พฤติกรรมที่เกิดขึ้นมีผลมากน้องแค่ไหนกับเป้าหมายของเรา และด้านการใช้พลังงานในการทำให้เกิดสิ่งนี้ขึ้นใช้แรงมากน้อยแค่ไหน

Our job is to build a bridge between a world that is and a world that isn’t

PS. ขอบคุณผู้สอน และผู้ร่วมคลาสทุกๆ คนมากค่า ที่ทำให้คลาสนี้ทั้งสนุก และอัดแน่นไปด้วยสาระ คริ๊ๆๆๆ

อยากเชิญชวนให้ท่านผู้อ่านได้ลองไป Workshop นี้ดูค่ะ สนุกกก มากกก

สุดท้าย หวังว่าผู้อ่านจะได้รับความรู้ และเห็นภาพการทำงานในมุมมองของ Designer มากขึ้น เพื่อไปปรับใช้ หรือไปต่อยอดในงานของผู้อ่านเองนะคะ

ขอบคุณมากๆ ที่เข้ามาอ่านจนจบ แล้วพบกันใหม่นะคะ

--

--

Builder296
odds.team

I’m Builder, a learner and an explorer. 🌏🌍🌎