ประสบการณ์การนำ Retrospective ครั้งแรก

Runyasak Chaengnaimuang
odds.team
Published in
2 min readJul 11, 2021

เดิมทีนั้นทีมของเราจะมีการทำ Retrospective หลังจากผ่านไป 2 อาทิตย์ หรือจบ Sprint ในวันจันทร์ และจะมีพี่ท่านหนึ่งซึ่งเป็น Vice President ของโปรเจคนี้มาทำให้

บังเอิญว่า 4 วันก่อนที่จะมีการ Retrospective เราก็ได้รับโทรศัพท์จากพี่ท่านนี้

“วันจันทร์นี้พี่ติดธุระน่ะ เวิลด์นำ Retrospective แทนพี่หน่อยได้มั้ย ?”

และหวยก็ตกมาที่เราให้มานำ Retrospective กับทีมตัวเอง

Before First Retrospective

ความเกร็งจากการที่ไม่เคยได้นำการ Retrospective ทำให้มองไม่เห็นหนทางในการนำกิจกรรมนี้

แต่ก็เป็นความตื่นเต้น ที่เราก็อยากให้เป็น Retrospective ครั้งแรกที่ทำให้คนในทีมประดับใจที่สุด และเท่ที่สุด ด้วยเวลาที่มีจำกัด เราเลยถามไปในกรุปพี่ ๆ ว่าเขาทำท่าไหนกัน

ด้วยความที่ท่า Good, Bad, Try มันก็คงจะดูจำเจเกินไป เลยต้องหาท่าใหม่มาเติมเต็มรสชาติ

คำตอบที่ได้นั้นค่อนข้างได้ท่าที่หลากหลาย มีทั้งท่าแปลก ๆ และท่าหล่อ ๆ ก็เยอะ และท่าเท่ ๆ นั้นส่วนมากจะมาจากพี่จั๊วะ Chokchai Phatharamalai และตัวเราเองก็เคยได้เห็นซึ่งบางท่านั้นเป็นท่าที่แปลก แต่มันแฝงด้วยความตั้งใจบางอย่างที่พี่เขาได้ใส่ลงไปอย่างเช่นตัวอย่างนี้

และส่วนมากก็จะดึงตัวอย่างจาก FunRetrospectives ซึ่งก็มีตัวอย่างมากมาย

สุดท้ายท่าที่เราเลือกคือ 4Ls

Why I choose 4Ls ?

จริง ๆ เราได้คำแนะนำว่าให้เป็นท่าแนว Team Building จากพี่เก๋ Nattanicha Phatharamalai เพราะความตั้งใจของเราคือ เราอยากให้ช่วงเวลาการทำ Retrospective นี้ ให้คนในทีมคุยกันมากที่สุด ด้วยความที่ทีมของเรานั้นทำงานกันแบบ Full Remote และไม่เคยเจอหน้ากันเลย ซึ่งก็จะมีท่าอย่าง 360 degree appreciation ที่จะดูตอบโจทย์

แต่ด้วยความที่เราอยากให้การ Retrospective นี้มุ่งเป้าไปที่ทีมให้มากที่สุด และอยากให้เป็น Retrospective ที่ทุกคนอารมณ์เป็นบวกให้มากที่สุด เราเลยเลือกท่าที่ดำเนินง่ายที่สุดอย่าง 4Ls ที่ทำให้เราสามารถควบคุมสิ่งที่เกิดขึ้นใน Feedback จากทีม และด้วยท่าที่ง่ายนี้ ทำให้เราเล่นมุขหรือออกทะเลได้บ้าง เพื่อดึงอารมณ์เวลาที่มันร่วงลงไป

คำเตือน: เล่นมุขแต่พอควรนะ 😂

Show Time !!

เริ่มต้นด้วยการ Check in ก่อนกับคะแนนกับเราและทีม ตั้งแต่ 1–10 คะแนน เพื่อให้ทุกคนได้เห็นสภาพของทีมโดยรวมของ Sprint ที่ผ่านมา พร้อมเล่าที่มาของการให้คะแนนเท่านี้

ต่อมาคือพระเอกของเรา นั่นก็คือพี่ 4Ls ของเรา แต่เราจะแอบเปลี่ยนจากต้นฉบับนิดหน่อยนั่นคือเรื่องของการเรียง โดยเขียนทุกอย่างใส่ในการ์ดของตัวเอง ซึ่งสามารถเขียนได้ไม่ว่าจะเกี่ยวกับตัวเนื้องานของ Sprint นี้, เกี่ยวกับทีม หรือแม้กระทั่งชีวิตประจำวันก็ได้เช่นกัน

  1. Liked: ใส่สิ่งที่ตัวเองชอบใน Sprint นี้ ขั้นต่ำคนละ 1 ใบ
  2. Lacked: ใส่สิ่งที่รู้สึกว่ายังขาดอยู่ใน Sprint นี้ หรือคิดว่าถ้ามีสิ่งนี้ ทำสิ่งนี้ แล้วจะทำให้บางอย่างดึขึ้น ขั้นต่ำคนละ 1 ใบ
  3. Learned: ใส่สิ่งที่เราเรียนรู้ได้จาก Sprint นี้ ขั้นต่ำคนละ 1 ใบ
  4. Longed for: ใส่สิ่งที่เราจะทำ หลังจากการจบ Sprint นี้ ได้แค่ใบเดียวเท่านั้น

โดยไม่ได้ทำรวดเดียวจบทุก Part แต่จะทำไปทีละ Part ซึ่งแต่ละ Part จะให้เวลาในการเขียนการ์ด 2:30 นาที จริง ๆ เป็นเวลาที่นานมาก แต่จะรู้สึกน้อยมากสำหรับคนที่ทำ ในความเป็นจริงทุกคนก็จะเขียนการ์ดเสร็จในเวลาประมาณ 1:30 — 1:45นาที

สาเหตุที่สลับ Lacked กับ Learned เป็นเพราะว่าเราอยากให้เป็นการดำเนินแบบมีเนื้อเรื่อง เหมือนนิยายเรื่องหนึ่งที่เริ่มด้วยการได้เห็นตัวพระและนางมีความสุข หักด้วยปัญหาและสิ่งที่ขาดหายไป เติมเต็มมาด้วยสิ่งที่ตระหนักและเรียนรู้พร้อมที่จะแก้ปัญหา ท้ายสุดคือสิ่งที่เราจะทำจากนี้

และ Longed For นั้นตัว L สุดท้าย ให้ใส่ได้เพียงใบเดียว นั้นเป็นเพราะเราอยากให้คุณนำสิ่งที่เรียนรู้จาก 3L ตอนต้น มาเลือกสิ่งที่จะทำเพียงอย่างเดียว และต้องทำให้ได้ และทุกคนจะต้องจดจำได้ว่าคุณจะทำอะไรจากการเรียนรู้ใน Retrospective ครั้งนี้

Result

เราไม่เพียงได้เห็นถึงปัญหาของ Sprint นี้ แต่เรายังได้เห็นถึงแนวทางการแก้ปัญหาจากเพื่อนในทีมนี้ อีกทั้งยังได้เห็นความพยายามของทีม ที่อยากให้ Sprint ต่อไปเป็น Sprint ที่ดีขึ้น และยังได้เห็นสิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจากงาน ไม่ว่าจะเป็นการฝึกฝนด้าน Coding, การออกกำลังกาย, การวิ่ง, การดูแลสุขภาพ ซึ่งเห็นได้จากสิ่งที่ทุกคนอยากจะทำใน Longed For

แม้ว่าเราจะเป็นคน Extrovert จ๋ามาก ๆ แต่ด้วยความที่เรา Coding เป็นหลัก จึงไม่ได้มีโอกาสได้ทำกิจกรรมแบบนี้เอง หรือการนำ Retrospective

หวังว่าบทความนี้จะเป็นแนวทางให้กับเพื่อน ๆ ในการทำ Retrospective ของทีมตัวเอง และหากเราได้ทำ Retrospective ท่าอื่นอีก จะมาแชร์ให้เพื่อน ๆ อีกนะครับ

Happy Retrospective :)

--

--