ผมก็ไม่รู้ว่าผมรู้อะไร?? The Known-Unknowns Matrix

Nhuaefah Natnopphon
odds.team
Published in
1 min readFeb 6, 2023

The Known-Unknowns Matrix คืออะไร สรุปง่ายๆตามความเข้าใจของผู้เขียน

Matrix นี้ แบ่งออกได้เป็น 4 สถานการณ์ ตามรูปภาพ ได้แก่

  1. เรารู้ว่าเรารู้อะไร (I know what I know) จากประสบการณ์ และทำสิ่งนี้ซ้ำๆจนเข้าใจและชำนาญ ทำให้เราตระหนักและเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเรื่องนั้นๆ รู้ว่าปัญหาคืออะไร วิธีการแก้ต้องเป็นอย่างไร เช่น
  • เรารู้ว่าพระอาทิตย์ขึ้นและตกลงที่ทิศทางไหน
  • เรารู้ว่าเพื่อนอารมณ์ไม่ดี และเพื่อนจะอารมณ์ดีเมื่อได้กินของอร่อย

2. เรารู้ว่าเราไม่รู้อะไร (I know what I don’t know) คือสถานการณ์ที่เรายังตระหนักได้ว่ามีสิ่งใดบ้างที่เรายังไม่รู้หรือไม่เข้าใจ

  • เรารู้ว่าการออกกำลังการทำให้สุขภาพดี แต่ไม่รู้ว่าต้องออกกำลังกายอย่างไรบ้างเพื่อลดหน้าท้อง
  • เราไม่รู้ว่าต้มยำน้ำข้นมีวิธีทำที่ต่างจากต้มยำน้ำใสอย่างไร

สถานการณ์นี้เราอาจจะต้องทำการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม หรือ ฝึกฝนให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มความชำนาญค่ะ

3. เราไม่รู้ว่าเรารู้อะไร (I don’t know what I know) ช่องนี้ค่อนข้างเข้าใจยากหน่อย จะว่าเป็นสิ่งที่เราเข้าใจผิด ก็ไม่เสมอไป เป็นสถานการณ์ที่เรารู้แต่อาจจะไม่ได้เข้าใจมันอย่างถ่องแท้ หรือจะใช้คำว่า I’m aware of but I don’t understand ก็ได้ เช่น

  • ดูยูทูปมาแล้วเกี่ยวกับวิธีขับรถ แต่ไม่เคยจับพวกมาลัยเลยสักครั้ง ก็เลยขับรถไม่เป็นสักที
  • เข้าใจมาโดยตลอดว่าเขารักเรา … แต่ความจริงแล้วเขาไม่ได้จริงใจกับเราเลย

ฮ่าๆๆ อึ้งกับตัวอย่างกันใช่ไหมล่ะ

4. ช่องสุดท้าย เราไม่รู้ว่าเราไม่รู้อะไร (I don’t know what I don’t know) ช่องนี้คือหลุมดำเลยล่ะ คือไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันมีสิ่งใดอีกที่เรายังไม่เข้าใจ เป็นจุดที่ซ่อนอยู่ เราอาจจะหามันไม่เจอเลยก็ได้ เรียกว่าเป็น Blindspots นั่นเอง

เหมือนเวลาที่เราเรียนอยู่ในคลาสยากๆ แบบที่ว่าไม่เข้าใจอะไรที่อาจารย์คุยกับเพื่อนเลยสักคำ อารมณ์นั้นเลยค่ะ

สิ่งสำคัญคือเราต้องตระหนักให้ได้ว่าสถานการณ์หรือปัญหาเรากำลังเผชิญนั้น อยู่ในช่องใดใน 4 ช่องนี้ ช่องที่น่ากลัวที่สุดคือช่องที่ 4 ค่ะ ในตอนที่เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเราไม่รู้อะไร..

ในการทำงานที่ต้องแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน จนเราจับต้นชนปลายไม่ถูก เราลอง list สิ่งต่างๆออกมาดูว่าเรื่องไหนอยู่ในช่องใดบ้าง 1,2,3 หรือ 4 จะทำให้เราเห็นว่าปัญหาเรื่องใดแก้ง่ายและยาก เรื่องใดควรเพิ่ม Focus , Resource หรือต้องหยิบขึ้นมาทำก่อน

เมื่อเวลาผ่านไปปัญหาต่างๆที่ถูกแก้ไข มักจะขยับจากช่องที่ 4 ไป 3 >> 3 ไป 2 >> และ 2 ไปช่องที่ 1 ในที่สุดค่ะ

The Known-Unknowns Matrix ถูกนำไปใช้ในหลายๆที่ เช่น Business Stategy , Marketing และ E-commerce, Product development, Design Thinking และยังเอาไปปรับใช้ได้ในชิวิตประจำวันของเราได้อีกด้วย ลองใช้กันดูนะคะ

--

--