ผลของการโพสต์บทความสัปดาห์ละอัน

Chokchai Phatharamalai
odds.team
Published in
2 min readJan 2, 2020
“creative-writing-ideas Atlanta GA” by agilemktg1 is licensed under CC BY 2.0

ผมเริ่มทำแบบนี้มาตั้งแต่ประมาณกุมภาพันธ์ 2019 ได้ สรุปแล้ว ปีที่ผ่านมาเขียนบทความไป 48 บทความ

มีคนเดินมาบอกว่าติดตามบทความผมอยู่ 5 ครั้ง

อันที่ view เยอะสุดคือ ตามหา font จากภาพ

อันที่ผมชอบที่สุดคือ หมดไฟ

พอนึกย้อนไปถึงประสบการณ์การเขียนบทความปีนี้…

อะไรเด่นสุด?

วิธีการเขียนบทความของผมเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด จากเดิมผมจะนั่งเขียนบทความแล้วก็โพสต์ แต่ถ้ายังใช้วิธีนั้น ผมคงไม่สามารถโพสต์ติดกันได้ทุกสัปดาห์แบบนี้ ผมแยกการเขียนบทความเป็น

  1. หาไอเดีย – ทุกเช้าหลังแปรงฟัน ผมจะถามตัวเองว่าทีอะไรบ้างที่อาจจะเป็นประโยชน์กับคนอ่าน แล้วก็ตั้งชื่อไว้ก่อน
  2. เขียนบทความ – ทุก ๆ ครั้งที่ผมเดินทางสาธารณะเช่น รถไฟฟ้า รถใต้ดิน ผมจะเปิด list ของไอเดียที่ผมเคยคิดจะเขียน เลือกเรื่องที่โดนใจผมที่สุดแล้วก็เริ่มพิมพ์เนื้อหาลงไป โดยไม่สนว่าจะพิมพ์ถูกหรือผิด
  3. Proof read – เอาบทความที่เคยพิมพ์ไว้มาแก้คำผิด และอ่านทวนไปด้วย
  4. เติมรูป – ไปหารูปจาก Creative Commons ที่เกี่ยวข้องมาแปะ
  5. Publish – publish บทความแล้วเอา link ไปตั้ง schedule post บน Facebook

วิธีนี้ทำให้ผมสามารถโพสต์ทุกสัปดาห์ได้ แม้บางครั้งต้องเดินทางและจะไม่มีเวลาเขียนก็ตาม

อะไรเซอร์ไพรส์?

บางบทความที่ผมหมายมั่นปั้นมือว่าคนต้องชอบ ก็กริบ บางอันที่ผมไม่ชอบเท่าไหร่ แต่โดน deadline บีบให้โพสต์ ก็มีคนชอบ กดแชร์ไปมากมายก็มี ผมกลับมาอ่านทวนแล้วอดงงไม่ได้ ว่าเค้าชอบอะไรกัน

อะไรทำให้กังวล?

ปริมาณไอเดียที่ผมดองไว้เขียนเริ่มเยอะขึ้นเรื่อย ๆ จนเริ่มคิดจะลางานมานั่งเขียนให้เสร็จ ๆ แล้ว

อะไรให้ความหวัง?

อ่านหนังสือ The Phoenix Project กับ The Five Dysfunctions of A Team แล้วอยากเขียนนิยายแทรกความรู้แบบนี้บ้าง หนังสือสองเล่มนี้เป็นแรงบันดาลใจของผมเลย

ทั้งหมดนี้แปลว่าอะไร?

ให้มุ่งมั่นฝึกฝนเขียนบทความต่อไป จะมีคนอ่านหรือไม่ก็ไม่เป็นไร ซักวันที่เรามีความสามารถเพียงพอ ผลของการฝึกฝนคงจะแสดงออกมาเอง

Credits

  • Kan ที่เป็นแรงบันดาลใจให้ใช้ format focused conversation ในการ reflect ปีนี้
  • ภาพจาก

--

--