รู้อย่างนี้แล้ว สอนอะไรก็สนุก

Chokchai Phatharamalai
odds.team
Published in
2 min readDec 12, 2019

ผมเพิ่งไปเรียน class Training from the Back of the Room (TBR) โดย Shane Hastie มา

เป็นคลาสที่สนุกมาก เพราะเค้าใช้ TBR สอน TBR แล้วมันตื่นเต้นเร้าใจตลอด 2 วันเลย ผมได้เรียนรู้เรื่อง Brain-based training ซึ่งเป็นการสอนโดยใช้ความรู้จากผลงานวิจัยด้านสมองมาออกแบบการเรียนการสอนให้สมองสามารถเรียนรู้ได้ง่าย โดยหลัก ๆ เราจะลดการยืนพูดปาว ๆ และให้คนเรียนได้ทำกิจกรรมและแลกเปลี่ยนความรู้กันมากขึ้น

credit ภาพโดย Chonlasith Jucksriporn

หลังจากได้เรียนรู้กิจกรรมมากมายเพื่อใช้ในการเรียนการสอนแล้ว สิ่งเดียวที่ยังน่ากลัวคือ พอชวนแล้วไม่มีใครเล่น เพราะถ้าถามคำถามไปแล้วแป้กเนี่ย มันจะดึงกลับมายากกว่าเดิม…

โชคดีที่ได้ไปเรียน Focused conversation กับ Larry ที่ฮ่องกงมา ซึ่ง ORID ที่ได้เรียนมาจาก class ช่วยตอบคำถามนี้พอดี

ORID เป็นกระบวนการของสมองตั้งแต่รับข้อมูลจนถึงตัดสินใจที่จะตอบสนอง โดยอักษรแต่ละตัวจะแทนกระบวนการ 4 ขั้นตอนดังนี้

Objective

เป็นจังหวะแรกที่เรา observe บางอย่างผ่านประสาทสัมผัสของเรา แล้วส่งข้อมูลดิบนั้นไปยังสมอง

Reflective

เป็นขั้นตอนที่สมองเชื่อมโยงข้อมูลนั้นกับประสบการณ์ในอดีต ทำให้เกิดการเชื่อมโยง บ่อยครั้ง ที่จังหวะนี้สมองจะหลั่งสารเคมีออกมาเพื่อกระตุ้นอารมณ์ต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์

Interpretative

เป็นขั้นตีความ ณ ขั้นนี้ ข้อมูลถูกส่งมาถึงจิตสำนึกแล้ว เปิดโอกาสให้เราตีความ วิเคราะห์ และสร้างสรรค์ทางเลือกว่าเอาไงต่อดี

Decisional

เป็นขั้นตัดสินใจเลือกทางเลือกซักทางหนึ่งเพื่อตอบสนองออกไป โดยเอาทางเลือกซักอันจากขั้น 3 เป็นวัตถุดิบ และ อารมณ์ในขั้น 2 มาเป็นพลังงาน แล้ว take action

แล้ว 4 ขั้นตอนนี้มันกันแป๊กยังไง?

การถามคำถามให้ตรงกับจังหวะของสมอง เป็นทักษะหนึ่งที่สำคัญของ facilitator หรือกระบวนกร

คำถามแบบ objective เช่น ได้ยินอะไรบ้าง? เห็นคำว่าอะไรบ้าง? เป็นต้น

คำถามแบบ reflective เช่น เซอร์ไพรส์ตรงไหน? ขำตรงไหน? เศร้าตอนไหน?

คำถามแบบ interpretative เช่น แล้วคุณตีความมันว่าอย่างไร? เรามีทางเลือกอะไรบ้าง?

คำถามแบบ decisional เช่น แล้วจะทำอะไรดี ?ก้าวเล็ก ๆ ก้าวแรกสู้เป้าหมายคืออะไร?

การถามคำถามเรียงลำดับ ORID นั้นจะทำให้คนเรียนตอบง่ายและเพิ่มโอกาสที่จะมีคนตอบมากขึ้น นอกจากนี้ ถ้าผมถามคำถาม O ไปหนึ่งคำถาม แล้วคนตอบยังไม่ครบทั้งห้อง ผมก็จะถามคำถาม O อันใหม่เป็นคำถามที่สอง รอคนตอบครบค่อยเริ่มคำถาม R เพราะถ้าแค่คำถาม O ยังไม่ participate มันยากมากที่เค้าจะมาตอบคำถามอื่น ๆ ที่มันลึกและเปราะบางกว่านี้

สรุปแล้ว พอผมเอาจิ๊กซอว์ TBR และ ORID มาประกอบกันแล้ว ผมคิดว่าสอนอะไรก็สนุกละ

ปอลิง

การรู้จักการถามคำถามเรียงตาม ORID นอกจากจะทำให้คนเรียน participate ได้ง่ายแล้ว ยังมีพลังพิเศษในการปลดล็อกตอนคนเราเจอทางตัน คิดอะไรไม่ออกอีกด้วย

อ่านเพิ่มได้ในบทความ Focused conversation ที่ผมเคยเขียนไว้ก่อนหน้านี้ บอกก่อนว่าสมัยนั้นผมรู้จักมันแค่ งู ๆ ปลา ๆ เพราะลูกพักลักจำมานะครับ

Credits

  • เจนกับพี่รูฟที่เป็น sponsor หลักส่งให้ไปเรียน
  • รูป TBR จากพี่อู Chonlasith Jucksriporn
  • เหล่าโค้ชที่ดีแทคที่คอยทำงานแทนผมช่วงที่ผมลาไปเรียน
  • คุณแม่กับน้องอนิตาที่คอยเฝ้าชวินที่กำลังแอดมิท ทำให้ผมกับภรรยาไม่ต้องขาดเรียนมาเฝ้าลูก

--

--