สกรัม Volunteer ดีกว่า Assign ณ มุมญี่ปุ่น

Amorndej <Ko-Dookie>
odds.team
Published in
2 min readOct 22, 2019

“พี่ว่าให้ทีม volunteer ดีกว่าไป assign เขานะ..” คำพูดของผู้ชาย Extrovert หน้าตี๋คนหนึ่ง ณ มุมญี่ปุ่น

เรื่องมันมีอยู่ว่า วันนี้ผมไปนั่งกินกาแฟและสนทนากับพี่ jane.makab พี่ชายของผม หน้า starbucks แห่งหนึ่ง เหมือนทุกครั้งเช่นเคย ซึ่งผมตั้งชื่อมันว่า “มุมญี่ปุ่น” มันเกิดจากการที่ผมทึกทักเอาเองว่า มุมนี้ มันช่างคล้าย starbucks ในสวน อุเอโนะ ในญี่ปุ่นที่ผมเคยไปนั่ง ชิว กับ พี่รูฟ และ น้องอากิ ซะนี่กระไร ( แต่ตอนนี้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น มุมโกเบ ละ เนื่องจากพี่ชายผมเค้าบอกว่ามุมญี่ปุ่นเฉยๆ มัน Mass ไป 555)

ในการคุยกันครั้งนี้ มีบทสนทนาหนึ่ง ที่ผมว่ามันน่าสนใจดี เกี่ยวกับเรื่อง Bug และ การ Assign คนในการ Fix bug

ซึ่งแต่ก่อนถ้าเป็นทีมทั่วไป ถ้ามาทรงนี้ก็จะมีการ assign ให้คนที่เคยทำ code ส่วนนี้เป็นคนแก้ ไม่ว่าจะเนื่องด้วย เหตุผลเรื่องความรวดเร็วหรือความเข้าใจ code ที่ตัวเองเขียนก็ตามแต่ ก็จะให้คนนั้นรับผิดชอบไป ฟังดู make sense ม๊ะ

แต่… พี่ชายผมได้แชร์หลักการใหม่ที่ฟังดูแล้วงดงาม ยิ่งนัก

เค้าบอกว่าในทีมที่เป็น scrum team เรานิยมการ volunteer มากกว่า การ assgin นะ

ฟังดูน่าสนใจนะ! พี่ชายผม ได้อธิบายต่อไปว่า dev team ใน scrum มอง code ที่เราสร้างเป็นของทีม ไม่ได้เป็นของคนใดคนหนึ่ง เราเป็นเจ้าของรวมกัน

ดังนั้น ในกรณีที่เกิด bug ขึ้น ทุกคนต้องสามารถ fix bug นั้นๆได้ ไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง ถ้าสมาชิกในทีมคนใดคนหนึ่งในขณะนั้นงานน้อยหรือยังไม่มีงาน ก็ควรอาสา fix bug ได้เลย

ตัวผมเองในฐานะ ที่เป็น technical coachให้กับทีม scrum เมื่อได้ยินอย่างนี้แล้ว ฟังดูโคตรจะ make sense กว่าแบบแรกอีก คำถามคือทำไม?

ผมเองมองว่าในทีม scrum จะมีกระบวนการหรือกิจกรรมต่างๆ มากมาย ที่ทำให้ทีมได้ทำความรู้จัก code ที่ทีมเขียน

ไม่ว่าจะเป็นการ pair programming , การทำ TDD , การมี section code review และ อื่นๆ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ช่วยขัดเกลาให้ scrum team ได้ทำความรู้จักกับ code ของตัวเองอยู่แล้ว มันจึง make sene มากที่ไม่ต้องทำการ assign ให้คนใดคนหนึ่งทำเลย แค่ เขียน task bug เข้า sprint แล้วเดี๋ยวมันก็มี สมาชิก ในทีมอาสา(volunteer) ไปทำเองนั้นแหละ

จบครับ เอวัง ด้วยประการฉะนี้

(ห้วนไปเนอะ แต่จบจริงๆนะ บาย 55)

--

--

Amorndej <Ko-Dookie>
odds.team

เป็นเพียงผู้ชายธรรมดาๆ ที่ไม่ World Class แค่ทำทุกวันให้มีความหมายก็พอ 😉