อย่ายัดเยียดความคิดตัวเองลงไปในงานลูกค้า
เวลาเราเก็บ requirement จากลูกค้ามา โปรแกรมเมอร์โบราณมักจะทำสิ่งที่เรียกว่า คิดเองเออเองเสมอว่าลูกค้าอยากได้อะไร พอทำบ่อย ๆ มันก็กลายเป็นมาตรฐานระหว่างลูกค้า กับโปรแกรมเมอร์ไป พอเป็นมาตรฐานกันบ่อย ๆ ก็จะตั้งชื่อเล่นเท่ ๆ ให้กับมาตรฐานที่ทึกทักกันขึ้นมาเองว่า common sense โดยตอนที่ทำงานกันหลาย ๆ คนเนี่ย ไอ้ common sense แต่ละคนมันไม่เคยจะเหมือนกัน
พอ common sense แต่ละคนมันไม่เหมือนกัน ปัญหามันก็เกิด ไอ้ A มันยัดลูกเล่นที่ลูกค้าไม่ได้อยากได้ลงใน feature #1 เพราะมันคิดว่าเจ๋ง และลูกค้าน่าจะชอบ ไอ้ B ทำอีก feature #2 ที่มีลักษณะคล้าย ๆ กันกับ #1 แต่เสือกทำอีกวิธี เอาลูกเล่นอีกอย่างยัดลงไป ด้วยความคิดเดียวกันว่าลูกค้าน่าจะชอบ เห็น common sense ที่แตกต่างกันของสองคนนี้หรือยัง? ที่สำคัญ common sense ของพวกมัน ลูกค้าไม่เคยรู้ด้วยว่าพวกมันจะใส่ ทีนี้ตอนส่งมอบงาน ไอ้สองคนนี้ก็เสือกไม่คุยกันอีกว่าใครทำแบบไหน เพราะคิดว่า เรื่องนี้มัน common sense ที่ไหนก็ทำกัน พอไปถึงลูกค้าเท่านั้นแหละ วงแตก เอากลับมาแก้อีก
ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ปลูกอู่ตามใจผู้นอน
พังเพยไทยโบราณยังใช้ได้ดีเสมอครับ การจะทำอะไร ถามเขาครับ เขาอยากได้อะไร แบบไหน ถ้าอยากจะเสนอไอเดียอะไร ก็บอกเขาก่อน ขายไอเดียให้เขา ตกลงกันให้เรียบร้อย เขาอยากได้ไหม ถ้าไม่ได้อยากได้ ก็อย่ายัดเยียดให้เขา ถ้าเขาเห็นว่าไอเดียเราดี เขาก็เอาเอง แต่ถ้าไม่ก็อย่าไปบังคับเขา เขาอาจจะเป็นคนแบบ minimal ส่วนเราเป็น maximal มันคิดต่างกันครับ ปากมี อย่าเก็บไว้กินข้าวอย่างเดียวครับ ถามก่อน ลดความเสี่ยงที่จะต้องเอากลับมาทำใหม่ จำไว้ common sense คนเรามันไม่เท่ากันครับ
ถ้าอะไรที่ถามบ่อย ๆ แล้ว พอร่างเป็นแนวทางได้แล้ว ก็จดบันทึกไว้เป็นของที่ตกลงกันระหว่างเรากับลูกค้าคนนั้น คราวหน้าก็คอนเฟิร์มกันที่แนวทางนี้ โอเคไหม ถ้าโอเคก็ลุยเลย ส่วนลูกค้าคนอื่น จะเอาแนวทางเดียวกันมาใช้ด้วยกันไม่ได้นะ ให้ถามใหม่ บันทึกกันใหม่ จำไว้ common sense เราไม่เท่ากัน
สรุป
ปากมี ถามนะ
pingback: http://www.chonla.com/do-not-put-your-opinions-into-the-product/