อย่าเอาความรู้จำฉันไป

Kotchaphan Muangsan
odds.team
Published in
1 min readMar 23, 2020

เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันเรากำลังเผชิญกับสภาวะ Covid-19 ระบาดไปทั่วโลก และกระทบเศรษฐกิจ การใช้ชีวิต และการทำงาน ทั้งตัวเราเองและคนใกล้ตัว แต่ก็ยังคงเป็นเรื่องยากที่จะประเมินได้ว่าจะกระทบครั้งนี้จะจบลงเมื่อใด

Source: https://unsplash.com/photos/PUvPZckRnOg

หากย้อนกลับไปก่อน Covid-19 วิกฤติหรือหัวข้อที่เรามักจะพูดถึงการบ่อย ๆ ในแวดวงธุรกิจอาจจะมีคราว ๆ ดังนี้

  1. เราจะ Survive อย่างไรในยุคของ Disruptive Innovation และองค์ของเราเปิดโอกาสให้เกิด Innovation ใหม่ ๆ ตลอดเวลาแค่ไหน?
  2. องค์กรของเราจะ Transfrom ตัวเองอย่างไรให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วระดับนาทีต่อนาที
  3. สงครามการค้าระหว่างมหาอำนาจ
  4. Agile/Scrum/OKR/Design Thinking
  5. การเมือง
  6. สภาวะเศรษฐกิจถดถอย
  7. การมาของ Artificial intelligence/Machine learning/Blockchain/Big Data/PlayStation 5 (ไม่เกี่ยว)

ในระหว่าง Covid-19 กำลังเกิดขึ้นอยู่นี้ มีประเด็นต่าง ๆ มากมายให้ต้องให้ขบคิด ใคร่ครวญเพิ่มขึ้นไปอีก เช่น

  1. องค์ความรู้เดิมหรือ model ที่ใช้ในการประเมินเศรษฐกิจแบบเดิม ๆ ยังใช้งานได้กับปัจจุบันหรือไม่? มีตำรามากมายที่กล่าวว่าองค์ความความรู้ที่เราเคยรู้มาใช้ไม่ได้กับยุค Disruption อีกแล้ว ฟังดูก็น่าเศร้าใจไม่น้อยแต่ก็เนี้ยแหละนะชีวิต แต่พอหลังจากศึกษาตำราสมัยใหม่ยังไม่ทันได้ตกผลึกทางความคิด การมาของ Covid-19 ก็อาจจะทำให้เรากลับมาตั้งคำถามอีกครั้งว่า แล้วตำราที่ว่าสมัยใหม่นั้นยังใช้การได้อยู่หรือไม่ในสภาวะแบบนี้? เรื่องน่าเศร้าก็อาจจะเกิดขึ้นอีกครั้ง ว่าอาจจะใช้ไม่ได้หรืออาจจะต้องปรับแก้กันครั้งใหญ่เลยก็ว่าได้ เพราะไม่มีใครรู้เลยว่าโลกหลัง Covid-19 จะเป็นอย่างไร แต่ละประเทศจะ Reform ตัวเองอย่างไรจากวิกฤติครั้งนี้ เราเห็นจุดอ่อนอะไรบ้างในฐานะพลเมือง ดังนั้นจงตั้งคำถามว่าที่เรารู้มานั่นคือความจำ ความรู้ หรือทักษะกันแน่? ไฉนเจ้าถึงเอาความรู้จำฉันไป
  2. แก่นแท้ของการเรียนรู้และการศึกษายังนิยามแบบเดิมได้หรือไม่? เรากำลังสอนให้คนเป็นคน หรือสอนให้คนเป็น Machine?
  3. การทำงานตอนนี้หลาย ๆ บริษัทเปิดโอกาสให้พนักงานทำงาน Remote ได้ และไม่ใช่แค่งาน Remote แต่ต้อง Work at home เท่านั้นอย่าไปซนที่ไหน ข้อดีคือลดความเสี่ยงการติดเชื้อและแพร่เชื้อไปสู่คนอื่น ลดเวลาเดินทางเอาความกังวลเรื่องการเดินทางออกไปจากหัวและไปโฟกัสที่งานแทน มีเวลาอ่านหนังสือและนั่งมองหนังสือที่ดองไว้อีกเป็นภูเขา หลังจากนี้เราคงต้องคิดกันอย่างจริงจังแล้ว ว่าที่ผ่านมาเราทำงานหรือเราแค่นั่งทำงาน?
  4. ก่อนที่ Covid-19 จะมาเยือนโลกของเรานั้นมีดีเบตมากมายเกี่ยวกับการแย่งงานโดยหุ่นยนต์ จากเดิมทีที่เคยเป็นของมนุษย์มายาวนานถึงแม้ครั้งปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1–3 เครื่องจักรเคยทำให้มนุษย์มีรายได้มากขึ้น มั่นคงมากขึ้น แต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 นั้นจะยังคงเป็นแบบนั้นอีกหรือไม่? งานใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาจะยังคงมั่นคงเหมือนเดิมหรือไม่? และจะถูกทดแทนด้วยหุ่นยนต์มากน้อยเพียงใด? ซึ่งถึงเวลานี้เรารู้กันดีว่าเริ่มถูกทดแทนไปบ้างแล้ว และถ้าหลังจาก Covid-19 กลายเป็น New Normal หรือหลังจาก ​Covid-19 จบลง การคาดการที่ว่างานของมนุษย์ 30–40%(จำตัวเลขไม่ได้) จะถูกแทนด้วยหุ่นยนต์ภายในเท่านั้น เท่านี้ปี อาจจะไม่ใช่อีกแล้ว แต่มันอาจจะมาเร็วกว่านั้นก็ได้
  5. แล้วอะไรที่ยังคงไม่เปลี่ยนไปและเหมือนเดิมตลอดแม้ Covid-19 จะหายไปหรือไม่หายไปก็ตาม? คำตอบก็คือ การเปลี่ยนแปลงจะยังคงอยู่กับเราเสมอ

สุดท้ายไม่ว่ายังไงเรื่องดี ๆ อาจจะอยู่ใกล้ตัวเราก็ในช่วงเวลาแบบนี้ก็ได้ ขอให้ลองคิดเล่น ๆ ว่า นานเท่าไหร่แล้วที่เราไม่ได้กินข้าวกับคนที่บ้าน? นานเท่าไหร่ที่ต้องรีบกินข้าวเพื่อออกไปทำงานให้ทันเวลาจนไม่มีเวลาคุยกับครอบครัว? นานเท่าไหร่ที่ไม่ได้ทำกับข้าวกินเอง? นานเท่าไหร่แล้วที่ไม่ได้อ่านหนังสือพัฒนาตัวเอง? หรือนานเท่าไหร่แล้วที่ในหัวเราสถานที่ปลอดภัยนั้นไม่ใช่บ้าน? ดังนั้น อยู่บ้านเพื่อกู้โลก สวัสดีครับ

--

--